WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1เงินเฟ้อ

น้ำมัน-อาหารแพงดันเงินเฟ้อธ.ค.65 เพิ่ม 5.89% ทั้งปี 65 โต 6.08% ปี 66 ตั้งเป้า 2-3%

   พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อธ.ค.65 เพิ่มขึ้น 5.89% ตามการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงาน ค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม อาหาร ส่วนยอดรวมทั้งปี เพิ่ม 6.08% สูงสุดในรอบ 24 ปี ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อปี 66 คาดไตรมาสแรกยังเพิ่มในอัตราชะลอตัว ส่วนทั้งปีตั้งเป้าไว้ที่ 2.0-3.0% ค่ากลาง 2.5%  

     นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนธ.ค.2565 เท่ากับ 107.86 เทียบกับพ.ย.2565 ลดลง 0.06% เทียบกับเดือนธ.ค.2564 เพิ่มขึ้น 5.89% ส่วนเงินเฟ้อรวมทั้งปี 2565 (ม.ค.-ธ.ค.) อยู่ที่ 6.08% ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2565 จะอยู่ที่ 5.5-6.5% ค่ากลาง 6.0% โดยเป็นตัวเลขที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 24 ปี นับจากปี 2541 ที่เคยขึ้นไปสูงถึง 8.1%

     สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนธ.ค.2565 เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.87% ตามการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงานที่สูงขึ้น 14.62% ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม รวมทั้งค่าโดยสารสาธารณะ ขณะที่สินค้าทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก รวมถึงยาสีฟัน แชมพู ค่าแต่งผม สูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีสินค้าที่ราคาลดลง เช่น โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ค่าสมาชิกเคเบิลทีวี

            ส่วนสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 8.87% โดยอาหารสำเร็จรูป เพิ่ม 9.66% เช่น ข้าวราดแกง อาหารเช้า ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมถึงเนื้อสุกร เนื้อไก่ ไข่ไก่ และข้าวสาร ส่วนมะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริกสด ผักกาดขาว มะขามเปียก มะพร้าวแห้ง ขูด กล้วยน้ำว้า และทุเรียนราคาลดลง

            ทั้งนี้ ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.06% เมื่อเทียบกับพ.ย.2565 และเพิ่มขึ้น 3.23% เมื่อเทียบกับธ.ค.2564 และเฉลี่ย 12 เดือน เพิ่ม 2.51%

            สำหรับ เงินเฟ้อทั้งปี 2565 ที่เพิ่มขึ้น 6.08% นั้น มีปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยทั้งปีสูงขึ้นถึง 23.93% และยังมีปัญหาจากภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้การผลิตพลังงานตึงตัว ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม และยังมีการปรับขึ้นค่าจ้าง ดอกเบี้ย เงินบาทอ่อนค่า ที่กระทบต่อต้นทุนแฝงในการผลิต ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และยังมีโรคระบาดในสุกร ปัญหาอุทกภัย ที่กระทบต่อการผลิตของเนื้อสุกรและผักสด ทั้งนี้ หากแยกเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 6.08% พบว่า สัดส่วน 1% มาจากการเพิ่มขึ้นของเนื้อสุกร ไก่ และไข่ไก่ 1% มาจากอาหารสำเร็จรูป 1% มาจากค่ากระแสไฟฟ้า 2% มาจากค่าน้ำมัน และ 1% สุดท้าย เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอื่น ๆ

      นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในปี 2566 คาดว่าไตรมาสแรกจะยังเพิ่มขึ้น แต่จะชะลอตัวจากช่วงปลายปี 2565 และค่อยๆ ลดลงตั้งแต่เดือนเม.ย.2566 เป็นต้นไป เพราะสินค้าส่วนใหญ่ทรงตัวและราคาเริ่มปรับลดลง ราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ และฐานปี 2565 ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐบาล การกำกับดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ แต่ก็มีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ เช่น การขึ้นค่าไฟฟ้า การปรับค่าจ้างทั้งระบบ เงินบาทที่ยังผันผวน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่จะกระทบต่อสินค้าและบริการในบางกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา เช่น ความผันผวนสินค้าโภคภัณฑ์จากความเสี่ยงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สภาพอากาศแปรปรวน การระบาดของโควิด-19 และโรคระบาดในสัตว์ ที่จะต้องติดตามใกล้ชิด

     “จากปัจจัยที่ประเมินไว้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2566 ไว้ที่ 2.0-3.0% มีค่ากลางอยู่ที่ 2.5% ซึ่งน่าจะต่ำสุดในรอบ 10 ปี เพราะปี 2556 เงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ 2.18% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของจีดีพี ที่ 3.0-4.0% ราคาน้ำมันดิบดูไบ 85-95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 36-37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำที่ดูตอนนี้ เงินเฟ้อทั้งปียังมีโอกาสปรับลงอีก เพราะสมมติฐานราคาน้ำมัน มีแนวโน้มลดลง โดยเฉลี่ยธ.ค.2565 อยู่ที่ 76.82 เหรียญสหรับต่อบาร์เรล เงินบาท ก็แข็งค่าขึ้นเฉลี่ยธ.ค.2565 อยู่ที่ 34.97 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยหากสถานการณ์เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้งหนึ่ง”นายพูนพงษ์กล่าว

 

อัตราเงินเฟ้อของไทยเฉลี่ยทั้งปี 2565 ใกล้เคียงกับระดับที่คาดการณ์ ส่วนแนวโน้มปี 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างชัดเจน 🛒🛍️📊💰

      นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.86 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และอาหารที่ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับฐานราคาในเดือนธันวาคม 2564 ไม่สูงมากนัก และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.06 (MoM) โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และผลไม้สด เป็นสำคัญ

      ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.08 (AoA) ซึ่งใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ และเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อต่างประเทศที่เริ่มชะลอตัวลง (ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2565) พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก และอินเดีย รวมถึงประเทศในอาเซียน ลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

      เงินเฟ้อที่สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY) ในเดือนนี้ สาเหตุสำคัญมาจากสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.87 (YoY) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่สูงขึ้นร้อยละ 14.62 โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ตลอดจนค่าโดยสารสาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก) ยาสีฟัน แชมพูสระผม และค่าแต่งผมชาย-สตรี ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 8.87 (YoY) โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่สูงขึ้นร้อยละ 9.66 อาทิ ข้าวราดแกง อาหารเช้า ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต รวมทั้ง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และข้าวสาร ราคายังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่ผักและผลไม้บางประเภทราคาลดลง อาทิ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริกสด ผักกาดขาว มะขามเปียก มะพร้าวแห้ง/ขูด กล้วยน้ำว้า และทุเรียน

            เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 3.22 (YoY) ตามต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

📊 แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566

      แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลงจากปี 2565 อย่างชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัวและบางรายการปรับลดลงหลังจากที่ทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนแล้วในปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ฐานราคาในปี 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ และการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปี 2566 ขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม  การปรับขึ้นค่ากระแสไฟฟ้า การปรับขึ้นค่าจ้างทั้งระบบ และเงินบาทที่ยังผันผวน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้น ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อปี 2566 ได้แก่ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จากความเสี่ยงของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สภาพอากาศที่แปรปรวน การแพร่ระบาดของโควิด-19 และโรคระบาดในสัตว์ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 – 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

 

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม ได้ที่

💾🔽 http://www.tpso.moc.go.th/th/node/8939

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!