WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1 AANZFTA

พาณิชย์ เจรจาอัปเกรดกฎถิ่นกำเนิดสินค้า AANZFTA และ ATIGA มุ่งประโยชน์ผู้ส่งออกไทย

กรมการค้าต่างประเทศลุยเจรจาอัปเกรดกฎถิ่นกำเนิดสินค้าและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง FTA จำนวน 2 ฉบับ AANZFTA และ ATIGA เพื่อให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์การค้าปัจจุบัน และช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับผู้ประกอบการของไทย เผยล่าสุดกฎถิ่นกำเนิดสินค้าใหม่ของ AANZFTA เจรจาจบ รอลงนามเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ส่วน ATIGA เริ่มเจรจายกเครื่องทั้งฉบับแล้ว

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เข้าร่วมการเจรจาปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในบทว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับสำคัญ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area : AANZFTA) และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระด้านกฎเกณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย ช่วยลดอุปสรรคการใช้สิทธิพิเศษทางภาษี และผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับประเด็นการค้าใหม่ๆ

โดยในส่วนของ AANZFTA ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2553 คณะกรรมการว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดสินค้า (AANZFTA Committee on Rules of Origin) สามารถสรุปผลการเจรจาได้แล้วเมื่อวันที่ 13 พ.ย.2565 โดยจากนี้ จะให้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

สำหรับ ประเด็นสำคัญที่สามารถสรุปผลการเจรจาได้ คือ การเพิ่มรูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต หรือ Self-Declaration by Approved Exporter ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลดขั้นตอนในการออกเอกสารส่งออกและลดต้นทุนด้านเอกสารให้แก่ผู้ส่งออกในระยะยาว เนื่องจากผู้ส่งออกไม่จำเป็นต้องมาขอ C/O จากกรมฯ เพียงแต่จะต้องขอขึ้นทะเบียนกับกรมฯ เพื่อให้ได้เลขทะเบียนเป็นผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Approved Exporter) ก่อน

จึงจะสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองลงบนเอกสารทางการค้า เช่น Invoice หรือจดหมายที่มีชื่อ-ที่อยู่ของบริษัทได้ โดย AANZFTA จะเป็นความตกลงฉบับที่ 3 ของไทยที่สามารถใช้รูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองดังกล่าวได้ เพิ่มเติมจากความตกลงอาเซียน และ RCEP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ส่วน ATIGA ได้มีการเริ่มเจรจายกเครื่องความตกลงทั้งฉบับในช่วงปลายเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี นับจากการบังคับใช้เมื่อปี 2553 โดยกรมฯ ได้ผลักดันประเด็นที่จะช่วยสร้างแต้มต่อและลดข้อเสียเปรียบของไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่เป็นคู่แข่งของไทย เช่น การปรับปรุงระเบียบปฏิบัติให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคธุรกิจด้านโลจิสติกส์ในการเป็นศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) หรือ Hub การแก้ไขกฎระเบียบให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงข้อมูลทางการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการค้าไร้กระดาษ (Paperless Trade) เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ภาคเอกชน

รวมถึงการพิจารณาถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการผลิตซ้ำเป็นสินค้าใหม่ (Remanufactured Goods) และการใช้หลักการสะสมถิ่นกำเนิดแบบเต็มส่วน (Full Cumulation) ที่ช่วยเอื้อให้วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) มีส่วนในห่วงโซ่อุปทานและเข้าถึงตลาดในภูมิภาคจากการใช้สิทธิประโยชน์

“ประเด็นด้านถิ่นกำเนิดสินค้า ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ชี้ว่าภาคการส่งออก จะใช้สิทธิประโยชน์ FTA ได้จริงหรือไม่ โดยกรมฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการออก C/O เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ FTA ได้ติดตามปัญหาอุปสรรคของผู้ส่งออกไทยมาโดยตลอด และได้นำประเด็นปัญหาและความต้องการของภาคเอกชนที่ได้รับแจ้งเข้ามา ขึ้นหารือบนโต๊ะเจรจาเพื่อปรับปรุงความตกลงให้สอดคล้องกับภาวะการค้าในปัจจุบัน และสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทยให้ได้มากที่สุด”นายรณรงค์กล่าว

    การจัดทำ FTA มีวัตถุประสงค์เปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งด้านสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งกำหนดกติกาที่เป็นประโยชน์ต่อการค้าของสมาชิก โดยปัจจุบัน ไทยมี FTA ที่มีผลบังคับใช้ 14 ฉบับ โดย FTA ฉบับบแรก คือ ATIGA มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2553 และฉบับล่าสุด คือ RCEP มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ม.ค.2565 และแม้ว่าความตกลงจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่มีหลายฉบับที่ต้องติดตามการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อแก้ไขอุปสรรคปัญหาที่เกิดจากการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) รวมทั้งเข้าร่วมการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและระเบียบปฏิบัติในการออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้สอดรับกับรูปแบบการค้าและห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบัน

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!