WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aถกสหรัฐ

จุรินทร์ ถกสหรัฐฯ ขอปลดไทยออกจากบัญชี WL ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

    จุรินทร์ ถกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ขอช่วยปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ในการพิจารณาเดือนเม.ย.66 ย้ำไทยมีพัฒนาการดีขึ้นในระดับดีมาก ด้านสหรัฐฯ ชมไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปกได้ยอดเยี่ยม ขอไทยร่วมมือในเวทีอินโด-แปซิฟิก และเตรียมนัดประชุม TIFA โดยเร็ว หลังหยุดไปเพราะโควิด-19 ตั้งแต่ปี 62

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนางแคทเธอรีน ไท ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative : USTR) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ประเด็นสำคัญที่ไทยได้หยิบยกมาหารือ คือ ในเดือนเม.ย.2566 สหรัฐฯ จะพิจารณาในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (WL) ซึ่งได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาปลดไทยออกจากบัญชีนี้ เพราะสถานการณ์ปัจจุบัน ไทยให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาในทุกด้าน ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นในระดับที่ดีมาก สหรัฐฯ รับทราบ และขณะนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอที่ขอให้ปลดไทยออกจากบัญชี WL ซึ่งท่านรับไปพิจารณา

     ทั้งนี้ ประเทศที่ยังติดบัญชี WL มีด้วยกัน 19 ประเทศ และมีไทยอยู่ในนั้น หากสหรัฐฯ พิจารณาปลดออกจากบัญชีนี้ จะทำให้สถานะประเทศไทยด้านการให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาดูดีขึ้น และมีภาพลักษณ์ทางการค้า ทางเศรษฐกิจ การลงทุนที่ดีขึ้นสำหรับหลายประเทศในโลกในอนาคต

      นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ทางสหรัฐฯ หยิบยกขึ้นมาหารือ คือ การประชุมเอเปกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ท่านแสดงความชื่นชมประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เจ้าภาพได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งปีหน้าสหรัฐฯ จะรับไม้ต่อจากไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปกตนได้ให้ความมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะทำหน้าที่เจ้าภาพได้ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกันกับประเทศไทยในปีนี้

       ส่วนกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework : IPEF) มีความร่วมมือที่ได้กำหนดไว้ 4 เสาหลัก ได้แก่ 1.การค้า 2.ห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain 3.พลังงานสะอาด 4.ปราศจากการทุจริต เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรมให้เกิดขึ้น โดยทั้ง 4 เสาหลักนี้ ไทยแสดงความจำนงเข้าร่วมก่อนหน้านี้แล้ว และได้เน้นย้ำอีกครั้ง เพราะในการพบกันในการประชุมครั้งที่แล้ว ตอนที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเปกได้มีโอกาสพบกับท่าน ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งท่านขอบคุณไทยที่แจ้งความจำนงเข้าร่วม

       โดยรายละเอียดในการเข้าร่วม เช่น เสาการค้า กระทรวงพาณิชย์จะเป็นกระทรวงหลักในการรับผิดชอบ อาจจะมีเรื่องสิ่งแวดล้อม แรงงาน และเรื่องใหม่ที่จะเป็นประเด็นหารือต่อไป เช่น ดิจิทัลเทรด การอำนวยความสะดวกทางการค้าหรือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทางการค้า และความร่วมมือด้านเทคนิคต่าง ๆ ด้านการค้าและเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยไทยจะร่วมหารือในรายละเอียดต่อไป

      นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นในความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในทางการค้า ซึ่งปัจจุบันไทยกับสหรัฐฯ มีกรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (Trade and Investment  Framework Agreement : TIFA) โดยเห็นตรงกันว่าควรได้มีการจัดการประชุมที่สหรัฐฯ ในครั้งถัดไป เพราะครั้งล่าสุดไทยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว โดยมีการประชุมเมื่อปี 2562 แต่ที่หยุดไป เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่เอื้ออำนวย คาดว่าจะเร่งให้เจ้าหน้าที่สรุปโดยเร็วโดยสหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพ

      ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าลำดับที่ 3 ของไทย รองจากจีนและญี่ปุ่น ในช่วง 9 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 27.5% ผลิตภัณฑ์ยาง ลด 9.7% เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 202.4% อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่ม 31.2% เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เพิ่ม 36.0% เป็นต้น

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!