WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aJTEPA

จุรินทร์ ถกญี่ปุ่น ดันส่งออก 'กล้วย' ภายใต้ JTEPA ให้เต็มโควตาที่เหลืออีก 5,000 ตัน

     จุรินทร์ ถกญี่ปุ่น ผลักดันส่งออก 'กล้วย' ไปญี่ปุ่นภายใต้ JTEPA ให้เต็มโควตาที่เหลืออีก 5,000 ตัน เสนอญี่ปุ่นให้เข้ามาช่วยให้ความรู้กฎเกณฑ์ กติกา วิชาการ เพื่อให้ไทยส่งออกได้ พร้อมขอให้ช่วยสนับสนุนไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialized Expo 2028 ด้านญี่ปุ่นย้ำเดินหน้าเพิ่มความร่วมมือเอกชนญี่ปุ่น-อาเซียนสร้างเครือข่ายการค้า

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการหารือทวิภาคีกับนายนิชิมูระ ยาสุโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (MITI) ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2565 ที่ผ่านมาว่า ไทยได้ใช้โอกาสนี้หารือในประเด็นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่ญี่ปุ่นให้โควตาส่งออกกล้วยของไทยไปญี่ปุ่นปีละ 8,000 ตัน แต่ที่ผ่านมา ไทยใช้ประโยชน์ได้แค่ 3,000 ตัน ยังขาดอยู่อีก 5,000 ตัน ที่ยังใช้โควตานี้ไม่หมด เพราะเกิดปัญหาอุปสรรคของภาคการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดค่อนข้างซับซ้อน

จึงได้ขอความร่วมมือจากรัฐมนตรีให้กระทรวง MITI ช่วยบริหารจัดการให้องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เข้ามามีบทบาทให้ข้อมูลให้ความรู้ทั้งกฎเกณฑ์ กติกา วิชาการ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้เกษตรกรของไทย โดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกษตรกรได้ใช้โควตาให้ครบอีก 5,000 ตัน สร้างรายได้ให้ประเทศและรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยของไทยต่อไป

     ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ญี่ปุ่นช่วยพิจารณาสนับสนุนให้ภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัด Specialized Expo 2028 ด้วย ซึ่งรัฐมนตรีรับไปพิจารณา ซึ่งงาน Specialized Expo 2028 ไทยในฐานะสมาชิกองค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau International des Expositions - BIE) ได้ยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานที่ จ.ภูเก็ต มีหัวใจสำคัญของการจัดงาน คือ การใช้พื้นที่พัฒนาสู่ศูนย์กลางด้านสุขภาพครบวงจร เพื่อนำเสนอภูเก็ตในฐานะจุดหมายปลายทางสุขภาพชั้นนำของโลก และส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ไทยมีศักยภาพ ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกประเทศเจ้าภาพจัดงานดังกล่าวในเดือนมิ.ย.2566

     นายจุรินทร์กล่าวว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกโครงการที่ญี่ปุ่นจะจัดขึ้นเพื่อฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 50 ปี ญี่ปุ่น-อาเซียน โดยมีนโยบายที่เรียกว่า Co-create Vision จับมือกับอาเซียนสร้างเครือข่ายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.การสร้างเครือข่าย 100 เครือข่าย ระหว่างเอกชนญี่ปุ่นกับเอกชนของอาเซียนจับคู่กัน เช่น ร่วมลงทุนซื้อขายสินค้าบริการด้วยกัน หรือจับคู่ทางธุรกิจอื่น เป็นต้น 2.การจับคู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซัปพลายเชน การทำงานด้านการผลิตสินค้าและบริการร่วมกัน โดยใช้ซัปพลายเชน วัตถุดิบ การแปรรูประหว่างกัน ทั้งญี่ปุ่นและอาเซียนให้ได้ 100 เคส และ 3.โครงการการร่วมกันระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 100 เคส เช่น BCG หรือ Green Economy ซึ่งตนตอบรับด้วยความยินดี โดยทางญี่ปุ่นแจ้งให้ทราบว่าเตรียมงบประมาณ 8,000 ล้านเยนหรือประมาณ 2,100 ล้านบาท

      ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้หยิบยกกรณีความตกลงหุ้นทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ จับมือสร้างความเข้มแข็งให้กับ RCEP ซึ่งตอนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ตนมีส่วนสำคัญในการเป็นประธานรัฐมนตรีเศรษฐกิจ RCEP จนนำไปสู่ข้อสรุป นำไปสู่การให้สัตยาบันแล้ว เริ่มต้นแล้ว โดยได้ตอบรับญี่ปุ่นในการขับเคลื่อน RCEP ให้มีความเข้มแข็งต่อไป เพราะถือว่าเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน

     สำหรับ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework - IPEF) ปัจจุบันสมาชิกมี 14 ประเทศ ญี่ปุ่นขอให้ไทยช่วยกันขับเคลื่อนให้มีการเดินหน้าต่อไป ซึ่งได้ตอบรับ เพราะร่วมในการเริ่มต้นก่อตั้งตอนประกาศจัดตั้งที่โตเกียวเมื่อเดือนพ.ค.2565

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!