- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 09 November 2022 00:05
- Hits: 1397
กรมพัฒน์ฯ แนะ!!! ผู้ทำบัญชีเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎหมาย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แนะ..ผู้ทำบัญชีให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายระบุ ช่วยส่งเสริมแวดวงบัญชีให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี’ผู้ทำบัญชี’ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ 3.เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี 4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในมาตรา 39(3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือ พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 5.มีคุณวุฒิการศึกษา แบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ 2 ระดับ คือ 5.1) ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ 5.2) ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่ ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา มีทุกรายการต่อไปนี้ คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
เมื่อเป็นผู้ทำบัญชีแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
2. แจ้งรายละเอียดการทำบัญชีในระบบงานผู้ทำบัญชี e-Accountant ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน มีชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้ง CPD ได้ทันทีหลังทำกิจกรรม แต่ไม่เกิน 30 ม.ค. ของปีถัดไป โดยแจ้งผ่านทางระบบ e-Accountant หรือระบบ CPD Online ของสภาวิชาชีพบัญชี
4. ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และยืนยันการเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชี ผ่านทางระบบ e-Accountant ภายในวันที่ 30 ม.ค. ของปีถัดไป (เริ่มยืนยันตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป)
5. รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน (โดยนับตามจำนวนรายธุรกิจ ไม่ได้นับตามรอบปีบัญชีงบการเงิน)
ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พ.ร.บ.การบัญชี 2543 และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นจะมีบทลงโทษ คือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และอาจส่งผลต่อการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-filing
ผู้ทำบัญชีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำ และนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และนำเสนองบการเงิน การอัปเดตความรู้ทางด้านบัญชี ภาษีอากรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักบัญชีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อธิบดี กล่าวสรุป
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณวันที่ 30 กันยายน 2565) ประเทศไทยมีผู้ทำบัญชีประมาณ 78,816 คน สำนักงานบัญชี 10,156 แห่ง และสำนักงานบัญชีคุณภาพ จำนวน 166 แห่ง
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วน 1570 ส่วนส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพบัญชี กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร 02 547 4395 และ www.dbd.go.th
130320
กรมพัฒน์ฯ แจ้งผู้ทำบัญชี เช็กลิสต์ที่ต้องปฏิบัติ เพิ่มความแกร่งทำบัญชี ช่วยธุรกิจเติบโต
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแจ้งเตือนผู้ทำบัญชี ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และทำคุณสมบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อส่งเสริมการทำบัญชีให้เป็นที่ยอมรับ ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลขับเคลื่อนธุรกิจ และรัฐสามารถกำหนดนโยบายส่งเสริมได้ถูกต้อง ย้ำนอกจากปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังต้องเพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมอด้วย
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ ขอแจ้งเตือนไปยังผู้ทำบัญชี จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายระบุ ตามที่ พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมให้การทำบัญชีเป็นที่ยอมรับ ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อมูลที่ถูกต้องในการขับเคลื่อนธุรกิจ และภาครัฐมีข้อมูลที่ถูกต้องในการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนธุรกิจ
สำหรับ คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี 1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ 3.เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี 4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในมาตรา 39 (3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือ พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 5.มีคุณวุฒิการศึกษา
แบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ 2 ระดับ คือ 1.ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ 2.ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่ ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา มีทุกรายการต่อไปนี้ คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1.เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี 2.แจ้งรายละเอียดการทำบัญชีในระบบงานผู้ทำบัญชี e-Accountant ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง 3.พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน มีชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้ง CPD ได้ทันทีหลังทำกิจกรรม แต่ไม่เกิน 30 ม.ค. ของปีถัดไป โดยแจ้งผ่านทางระบบ e-Accountant หรือระบบ CPD Online ของสภาวิชาชีพบัญชี 4.ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และยืนยันการเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชี ผ่านทางระบบ e-Accountant ภายในวันที่ 30 ม.ค. ของปีถัดไป (เริ่มยืนยันตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป) และ 5.รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน (โดยนับตามจำนวนรายธุรกิจ ไม่ได้นับตามรอบปีบัญชีงบการเงิน) โดยหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น จะมีบทลงโทษ คือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
“ผู้ทำบัญชีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำ และนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และนำเสนองบการเงิน การอัปเดตความรู้ทางด้านบัญชี ภาษีอากรและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักบัญชีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน”นายทศพลกล่าว
ปัจจุบัน นักบัญชี เป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชีที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พ.ร.บ.การบัญชี จึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
ล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย.2565) ประเทศไทยมีผู้ทำบัญชีประมาณ 78,816 คน สำนักงานบัญชี 10,156 แห่ง และสำนักงานบัญชีคุณภาพ จำนวน 166 แห่ง