- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Friday, 30 September 2022 21:22
- Hits: 1315
พาณิชย์-DITP จัดจับคู่เจรจาธุรกิจ ดันสินค้าไทยขายในห้าง Lulu Hypermarket
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) รับนโยบาย 'จุรินทร์' จับมือสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ EXIM Bank และ EMKE Export นำผู้ประกอบการไทย 23 บริษัท ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลผลิตทางการเกษตร จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ดันสินค้าไทยเข้าไปขายในห้าง Lulu Hypermarket
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมมือกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบริษัท EMKE Export (Thailand) จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจเจาะตลาดตะวันออกกลาง (Resilient growth in the Middle East market: Business Matching with Lulu Hypermarket) เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดตะวันออกกลาง ผ่านสาขาของ Lulu Hypermarket ที่มีสาขามากกว่า 200 สาขา โดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมจำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม 12 บริษัท เครื่องสำอาง 4 บริษัท และสินค้าอื่น ๆ เช่น อุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตผลทางการเกษตร 7 บริษัท
“การจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับ Lulu Hypermarket เป็นไปตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับชีฮิม โมฮัมหมัด (Mr. Shehim Mohammed) ซึ่งเป็นประธานของ Lulu Hypermarket ในซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ช่วงระหว่างการเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 28-31 สิงหาคม 2565 โดยนายจุรินทร์ได้ผลักดันให้ Lulu Hypermarket วางจำหน่ายสินค้าไทยเพิ่มขึ้น และร่วมมือกับฝ่ายไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายระหว่างกันต่อไปในอนาคต และนำมาซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้”นายภูสิตกล่าว
สำหรับ Lulu Hypermarket เป็นธุรกิจของบริษัท Lulu Group International และเป็นธุรกิจที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของ Lulu Group International ปัจจุบันมีมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก โดยบริษัทมีสำนักงานสำหรับจัดซื้อสินค้าเพื่อมาจำหน่ายใน Hypermarket กระจายอยู่ทั่วโลก ในภูมิภาคอาเซียนมีสำนักงานจัดซื้ออยู่ในเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย โดยสำนักงานจัดซื้อในไทย คือ บริษัท EMKE Export (Thailand)
ก่อนหน้านี้ กรมฯ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ กรุงเตหะราน และกรุงไคโร ร่วมมือกับ Lulu Hypermarket จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายใน Lulu Hypermarket ประเทศโอมาน กาตาร์ และอียิปต์ ในเดือนกันยายน 2564 โดยมีมูลค่าการสั่งซื้อรวม 83.7 ล้านบาท แบ่งเป็นการสั่งซื้อทันที 5.2 ล้านบาท และการสั่งซื้อภายใน 1 ปี 78.5 ล้านบาท สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผักและผลไม้สด ซอสและเครื่องปรุงรส ผลไม้อบแห้งและของขบเคี้ยว เป็นต้น
ในปี 2564 ตะวันออกกลางเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย โดยไทยและซาอุดีอาระเบียมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 30,780.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 48.53% และในช่วง 8 เดือนของปี 2565 (มกราคม–สิงหาคม) มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 32,101.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 72.02% โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปตะวันออกกลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2. ข้าว 3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 4. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5. ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากตะวันออกกลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. น้ำมันดิบ 2. เคมีภัณฑ์ 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 5. แผงวงจรไฟฟ้า
สำหรับ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายด่วนการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
พาณิชย์ จัดจับคู่เจรจาธุรกิจ ดันสินค้าไทยขายในห้าง Lulu Hypermarket
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) รับนโยบาย ‘จุรินทร์’ จับมือสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย EXIM Bank และ EMKE Export นำผู้ประกอบการไทย 23 บริษัท ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลผลิตทางการเกษตร จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ดันสินค้าไทยเข้าไปขายในห้าง Lulu Hypermarket
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมมือกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบริษัท EMKE Export (Thailand) จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจเจาะตลาดตะวันออกกลาง (Resilient growth in the Middle East market: Business Matching with Lulu Hypermarket) เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดตะวันออกกลาง ผ่านสาขาของ Lulu Hypermarket ที่มีสาขามากกว่า 200 สาขา โดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมจำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม 12 บริษัท เครื่องสำอาง 4 บริษัท และสินค้าอื่น ๆ เช่น อุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตผลทางการเกษตร 7 บริษัท
“การจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับ Lulu Hypermarket ในครั้งนี้ เป็นไปตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับชีฮิม โมฮัมหมัด (Mr. Shehim Mohammed) ซึ่งเป็นประธานของ Lulu Hypermarket ในซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 28 ส.ค.2565 ช่วงระหว่างการเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 28-31 ส.ค.2565 โดยนายจุรินทร์ได้ผลักดันให้ Lulu Hypermarket วางจำหน่ายสินค้าไทยเพิ่มขึ้น และร่วมมือกับฝ่ายไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายระหว่างกันต่อไปในอนาคต และนำมาซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้”นายภูสิตกล่าว
สำหรับ Lulu Hypermarket เป็นธุรกิจของบริษัท Lulu Group International และเป็นธุรกิจที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของ Lulu Group International ปัจจุบันมีมากกว่า 200 สาขาทั่วโลก โดยบริษัทมีสำนักงานสำหรับจัดซื้อสินค้าเพื่อมาจำหน่ายใน Hypermarket กระจายอยู่ทั่วโลก ในภูมิภาคอาเซียนมีสำนักงานจัดซื้ออยู่ในเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย โดยสำนักงานจัดซื้อในไทย คือ บริษัท EMKE Export (Thailand)
ก่อนหน้านี้ กรมฯ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ กรุงเตหะราน และกรุงไคโร ร่วมมือกับ Lulu Hypermarket จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายใน Lulu Hypermarket ประเทศโอมาน กาตาร์ และอียิปต์ ในเดือนกันยายน 2564 โดยมีมูลค่าการสั่งซื้อรวม 83.7 ล้านบาท แบ่งเป็นการสั่งซื้อทันที 5.2 ล้านบาท และการสั่งซื้อภายใน 1 ปี 78.5 ล้านบาท สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผักและผลไม้สด ซอสและเครื่องปรุงรส ผลไม้อบแห้งและของขบเคี้ยว เป็นต้น
ในปี 2564 ตะวันออกกลางเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย โดยไทยและซาอุดีอาระเบียมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 30,780.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 48.53% และในช่วง 8 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 32,101.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 72.02% โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปตะวันออกกลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2.ข้าว 3.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 4.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5.ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากตะวันออกกลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.น้ำมันดิบ 2.เคมีภัณฑ์ 3.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 5.แผงวงจรไฟฟ้า