- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 01 September 2022 22:40
- Hits: 2989
จุรินทร์ ถก อย.ซาอุดิอาระเบีย ดันส่งออกไก่ไทย ขอเร่งตรวจ-อนุญาตอีก 28 โรงงาน
จุรินทร์ ถก อย.ซาอุดิอาระเบีย ขอให้เร่งตรวจและอนุญาตโรงงานชำแหละเนื้อไก่ไทยอีก 28 แห่ง ให้สามารถส่งออกได้ หลังก่อนหน้าได้รับไฟเขียวแล้ว 11 โรงงาน พร้อมหาทางผลักดันการส่งออกเนื้อวัว เนื้อแพะ เพิ่มขึ้นด้วย และยังได้เชิญให้นักลงทุนซาอุดิอาระเบียเข้ามาลงทุนผลิตเนื้อสัตว์ในไทย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการพบหารือกับ ดร.ฮีชาม บิน ซาอัด อัล จาดฮี ประธานองค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย (SFDA) หรือ อย.ซาอุดีอาระเบีย ที่องค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย ว่า ขณะนี้ไทยสามารถส่งออกไก่มาซาอุดีอาระเบียได้แล้ว 11 โรงงาน ซึ่ง อย. ซาอุดีอาระเบียให้การรับรองแล้ว แต่ยังติดขัดบางส่วน เรื่องการส่งออกชิ้นส่วนไก่ เดิมที่ส่งมาได้ คือ ไก่ทั้งตัว แต่ชิ้นส่วนของไก่ ยังมีข้อเข้าใจไม่ตรงกันกับทาง อย.ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งบอกว่าอนุญาตให้ส่งออกชิ้นส่วนไก่ได้ แต่โรงงานในประเทศไทยหรือผู้ส่งออกของไทยยังเข้าใจว่าไม่สามารถส่งออกมาได้ ตนจะประสานงานกับโรงงานทั้งหมด 11 โรงงาน ให้เข้าใจว่า อย.ซาอุดิอาระเบียอนุญาตให้ส่งออกมาได้และให้เจรจาได้โดยตรง
ทั้งนี้ ยังได้ใช้โอกาสนี้ ยื่นรายชื่อโรงงานชำแหละเนื้อไก่อีก 28 โรงงาน ให้เร่งรัดการตรวจโรงงาน ซึ่ง อย. ซาอุดิอาระเบียแจ้งว่ายินดี ตอนนี้รอเอกสารทั้งหมดจากกรมปศุสัตว์ ตนจะเร่งให้กรมปศุสัตว์ส่งข้อมูลทั้งหมดที่ อย.ซาอุดิอาระเบีย เพื่อเร่งดำเนินการตรวจให้โดยเร็วที่สุด ส่วนเรื่องเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อแพะ เป็นต้น ซาอุดีอาระเบียยืนยันว่าต้องการเพิ่ม เพราะต้องการเนื้อที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และมีความปลอดภัย ซึ่งพร้อมนำเข้าจากหลายประเทศ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พร้อมอำนวยความสะดวก ซึ่งจะต้องมีการประสานงานกันในรายละเอียด โดยกรมปศุสัตว์จะเป็นต้นเรื่อง และให้ทั้งสองฝ่ายคุย และยังได้เชิญชวนให้นักลงทุนของซาอุดีอาระเบียไปร่วมลงทุนที่เมืองไทย ให้การผลิตเนื้อหลายชนิดส่งออกมาซาอุดีอาระเบียสะดวกคล่องตัวขึ้น เพราะเมื่อไปร่วมลงทุน จะทราบความต้องการ ตามหลักการของสินค้าฮาลาลที่ซาอุดีอาระเบียต้องการ
ขณะเดียวกัน อย.ซาอุดีอาระเบีย ต้องการพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ การผลิตสินค้าฮาลาลที่ได้มาตรฐานกับประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตนจะประสานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสาน อย. ซาอุดีอาระเบียอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมมือด้านวิชาการ ส่งเสริมการผลิตอาหารสินค้าฮาลาลร่วมกันให้ได้มาตรฐานในระดับที่ต้องการต่อไป
“การเจรจาครั้งนี้ จะเป็นผลดีกับการส่งออกสินค้าไทยในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสินค้า มายังซาอุดีอาระเบีย จะช่วยให้ตัวเลขการค้าต่อไปสูงขึ้น เพราะตัวเลขการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบียมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ 7 เดือนของปีนี้ สามารถส่งออกสินค้ามาซาอุดีอาระเบียได้เป็นบวกถึง 26% จะมีส่วนช่วยทำให้ตัวเลขดีขึ้นต่อไป”นายจุรินทร์กล่าว
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แจ้งว่า สำหรับการผลักดันการส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไปซาอุดีอาระเบีย ในปี 2562 SFDA ได้เดินทางมาตรวจสถานประกอบการทั้งโรงฆ่าสัตว์ปีกและโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกของไทย 11 แห่ง เพื่อดำเนินการเปิดตลาดด้านสุขอนามัยสำหรับการดำเนินการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เรียกร้องให้ซาอุดีอาระเบียยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากไทยตั้งแต่ปี 2552 ต่อมาในปี 2563 ซาอุดีอาระเบียได้ให้การยอมรับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) เป็นหน่วยงานออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลของประเทศไทย (Certification Body) ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกที่ไม่ใช่มุสลิมมีหน่วยงานที่สามารถออกเครื่องหมายฮาลาลสำหรับการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังซาอุดีอาระเบียได้
ฉลุย จุรินทร์ กล่อม อย. ซาอุ ดึงโรงงานไทยเพิ่มอีก 28 โรง ดันส่งออกชิ้นส่วนไก่-โค-แพะเปิดประตูสู่อ่าวอาหรับ
. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการพบหารือกับ ดร.ฮีชาม บิน ซาอัด อัล จาดฮี ประธานองค์การอาหารและยา ซาอุดีอาระเบีย (SFDA) หรือ อย.ซาอุดีอาระเบีย ที่องค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย (Saudi Food and Drug Authority)
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้เราสามารถส่งออกไก่มาซาอุดีอาระเบียได้แล้ว 11 โรงงานซึ่ง อย. ซาอุดีอาระเบียให้การรับรองแล้ว แต่ยังติดขัดบางส่วน เรื่องการส่งออกชิ้นส่วนไก่ เดิมที่ส่งมาได้คือไก่ทั้งตัว แต่ชิ้นส่วนของไก่ยังมีข้อเข้าใจไม่ตรงกันกับทาง อย.ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งบอกว่าอนุญาตให้ส่งออกชิ้นส่วนไก่ได้ แต่โรงงานในประเทศไทยหรือผู้ส่งออกของไทยยังเข้าใจว่าไม่สามารถส่งออกมาได้ ตนจะประสานงานกับโรงงานทั้งหมด 11 โรงงาน ให้เข้าใจว่า อย.ซาอุฯอนุญาตให้ส่งออกมาได้และให้เจรจาได้โดยตรง
เรื่องที่สอง วันนี้ได้มายื่นรายชื่อโรงงานชำแหละเนื้อไก่อีก 28 โรงงานให้เร่งรัดการตรวจโรงงาน ซึ่ง อย. ซาอุฯแจ้งว่ายินดี ตอนนี้รอเอกสารทั้งหมดจากกรมปศุสัตว์ ตนจะเร่งให้กรมปศุสัตว์ส่งข้อมูลทั้งหมดที่ทาง อย.ซาอุฯ ต้องการเพื่อเร่งดำเนินการตรวจให้โดยเร็วที่สุด 2) เรื่องเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เช่น เนื้อวัว เป็นต้น ซึ่งทางซาอุดีอาระเบียยืนยันว่าต้องการเพิ่ม เพราะต้องการเนื้อที่มีคุณภาพดีราคาถูกและมีความปลอดภัยซึ่งพร้อมนำเข้าจากหลายประเทศโดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พร้อมอำนวยความสะดวก ซึ่งจะต้องมีการประสานงานกันในรายละเอียด กรมปศุสัตว์จะต้องเป็นต้นเรื่อง และให้ทั้งสองฝ่ายคุย 3)อยากให้นักลงทุนของซาอุดีอาระเบียไปร่วมลงทุนที่เมืองไทย ให้การผลิตเนื้อหลายชนิดส่งออกมาซาอุดีอาระเบียสะดวกคล่องตัวขึ้น เพราะเมื่อไปร่วมลงทุนจะทราบความต้องการ ตามหลักการของสินค้าฮาลาลที่ซาอุดีอาระเบียต้องการดีกว่าเรา
เรื่องที่สาม อย.ซาอุดีอาระเบีย ต้องการพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ การผลิตสินค้าฮาลาลที่ได้มาตรฐานกับประเทศไทยซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตนจะประสานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสาน อย. ซาอุดีอาระเบียอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมมือด้านวิชาการ ส่งเสริมการผลิตอาหารสินค้าฮาลาลร่วมกันต่อไป ให้ได้มาตรฐานในระดับที่ต้องการ
“ซึ่งการเจรจาครั้งนี้จะเป็นผลดีกับการส่งออกสินค้าไทยในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสินค้า มายังซาอุดีอาระเบีย จะช่วยให้ตัวเลขการค้าต่อไปสูงขึ้น เพราะตัวเลขการค้าไทยกับซาอุดีอาระเบียมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ 7 เดือนแรกของปีนี้ สามารถส่งออกสินค้ามาซาอุดีอาระเบียได้เป็นบวกถึง 26% จะมีส่วนช่วยทำให้ตัวเลขดีขึ้นต่อไป”รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า สำหรับการผลักดันการส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไปซาอุดีอาระเบีย ในปี 2562 SFDA ได้เดินทางมาตรวจสถานประกอบการทั้งโรงฆ่าสัตว์ปีกและโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกของไทย 11 แห่ง เพื่อดำเนินการเปิดตลาดด้านสุขอนามัยสำหรับการดำเนินการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เรียกร้องให้ซาอุดีอาระเบียยกเลิกมาตรการระงับการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากไทยตั้งแต่ปี 2552 ต่อมาในปี 2563 ซาอุดีอาระเบียได้ให้การยอมรับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) เป็นหน่วยงานออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลของประเทศไทย (Certification Body) ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกที่ไม่ใช่มุสลิมมีหน่วยงานที่สามารถออกเครื่องหมายฮาลาลสำหรับการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังซาอุดีอาระเบียได้
สำหรับ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายด่วนการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169