WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aM738 ร้านค้า

พาณิชย์ ส่งร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบ 246 ราย เป็นพี่เลี้ยงปั้นสมาร์ทโชวห่วย 738 ร้านค้า

     พาณิชย์ ลงนาม MOU กับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชนรวม 28 หน่วยงาน ขับเคลื่อนโครงการ ‘สมาร์ทโชวห่วย พลัส’ เตรียมนำร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบ 246 ราย เป็นพี่เลี้ยงผลักดันร้านโชวห่วยเป็นสมาร์ทโชวห่วย ตั้งเป้าพัฒนาได้ไม่ต่ำกว่า 738 ร้านค้า เผยหลังพัฒนาแล้ว จะมอบป้ายตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องการันตี ร้านนี้ปรับโฉมแล้ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้สิทธิ์ร่วมโครงการัฐ 

   ‘นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ “สมาร์ทโชวห่วย พลัส” ร่วมกับนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน 6 องค์กร รวม 28 หน่วยงาน ว่า การลงนามในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อผลักดันและพัฒนาร้านค้าโชวห่วยให้เป็นสมาร์ทโชวห่วย ครอบคลุมทั่วประเทศ สร้างโอกาสทางการค้าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงในยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

      โดยกระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรวางกรอบแนวทางการพัฒนาร้านค้าโชวห่วยทุกมิติ ทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง นำธุรกิจเข้าสู่ช่องทางการขายในแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งให้การส่งเสริมสนับสนุนภารกิจทุกด้าน มุ่งหมายให้โชวห่วยไทยเติบโตด้วยความมั่นคงและอยู่คู่สังคมไทย

     ทั้งนี้ ในการผลักดันให้ร้านโชวห่วยเป็นสมาร์ทโชวห่วย ได้คัดเลือกร้านค้าส่งค้าปลีกที่ได้รับการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ จำนวน 246 ร้านค้า ให้เป็นร้านค้าต้นแบบ และเป็นพี่เลี้ยงผลักดันให้ร้านโชวห่วยเครือข่ายที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันได้รับการพัฒนาเป็นสมาร์ทโชวห่วย โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ ร้านค้าต้นแบบ 1 ร้าน พัฒนาและผลักดันให้ร้านโชวห่วยเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่เป็นสมาร์ทโชวห่วย 3 ร้าน เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเพิ่มร้านสมาร์ทโชห่วยได้อีกจำนวน 738 ร้านค้า

     สำหรับ ร้านโชวห่วยท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นร้านสมาร์ทโชวห่วยจะได้รับตราสัญลักษณ์ “สมาร์ทโชห่วยพลัส by DBD และเพื่อน” ติดไว้บริเวณหน้าร้าน เพื่อแสดงถึงศักยภาพของร้านโชวห่วยท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้เป็นร้านสมาร์ทโชวห่วย และได้ผ่านการอบรมความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการร้านค้า พัฒนาร้านค้าให้มีความสวย สว่าง สะอาด สะดวก สบาย ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน และช่วยเพิ่มยอดขาย ตลอดจนมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน

     โครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการสมาร์ทโชห่วย โดยจะดำเนินการคู่ขนานกันไป ผ่านกลไกการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนกลางและระดับพื้นที่ โดยมีกิจกรรมการพัฒนาที่หลากหลายครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือกับร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือพี่เลี้ยงโชห่วย และมีสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดช่วยติดตามการดำเนินงานและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

    สมาร์ทโชห่วย พลัส ขับเคลื่อนโครงการระยะเวลารวม 5 ปี (2565-2569) โดยปี 2565 กำหนดเสริมสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการโชวห่วยทั่วประเทศ 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชวห่วย 300 ราย ปี 2566 ตั้งเป้าหมายเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าโชวห่วย 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชวห่วย 400 ราย และในระยะ 5 ปี คาดว่าจะมีผู้ประกอบการโชวห่วยที่ได้รับการเสริมสร้างองค์ความรู้รวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย และได้รับการพัฒนาเป็นสมาร์ทโชวห่วย 2,500 ราย โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการขยายเครือข่ายพันธมิตรที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาร้านค้าโชวห่วยให้เป็นตัวกลางเชื่อมโยงโครงการต่าง ๆ จากภาครัฐสู่ประชาชนให้ได้มากขึ้น

   พันธมิตรที่เข้าร่วมลงนาม ประกอบด้วย 6 องค์กร รวม 28 หน่วยงาน ได้แก่ 1.สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย 2.กลุ่มผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย (Suppliers) ได้แก่ 1.บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด 2.บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 4.บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 6.บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด 7.บริษัท นอติลุสฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด 8.บริษัท โรงงานน้ำปลาไทย (ตราปลาหมึก) จำกัด 9.บริษัท กรีนสปอต จำกัด 3.กลุ่มผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี / ระบบ POS / แพลตฟอร์ม

       ได้แก่ 1.บริษัท บิซิเนส แอนด์ เทคโนโลยี่ จำกัด 2.บริษัท ซีเนียร์ซอฟท์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 3.บริษัท ล็อกอิน กรุ๊ป จำกัด 4.บริษัท เอด้าซอฟท์ จำกัด 5.บริษัท ลาซาด้า จำกัด 6.บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด 7.บริษัท ไลน์แมน (ประเทศไทย) จำกัด 4.กลุ่มผู้ให้บริการเสริม ได้แก่ 1.บริษัท 24 ชั่วโมง คอฟฟี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2.บริษัท แอดวานซ์ เว็บ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จํากัด (มหาชน) 4.บริษัท เคเค สยาม จำกัด 5.บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 5.กลุ่มสถาบันการเงิน ได้แก่ 1.ธนาคารกรุงไทย จำกัด  (มหาชน) 2.ธนาคารออมสิน 3.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 4.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ 6.MOC Biz Club THAILAND

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!