WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย

สถาบันอัญมณีฯ เดินหน้าพัฒนาระบบ AI ตรวจสอบแหล่งกำเนิดอัญมณี

     สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีฯ เดินหน้าพัฒนาระบบ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์แหล่งกำเนิดอัญมณี มาจากประเทศใด แหล่งใด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายอัญมณี และเพิ่มมูลค่าให้กับวงการอัญมณีและเครื่องประดับ เผยจะมีความแม่นยำ เทียบชั้นได้กับการตรวจสอบผ่านนักอัญมณีศาสตร์ ช่วยลดระยะเวลาตรวจสอบ และแก้ปัญหาการขาดแคลนนักอัญมณีศาสตร์ลงได้

    นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า GIT ได้สร้างนวัตกรรมด้านการตรวจสอบอัญมณี โดยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบ และการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นการยกระดับงานวิจัยให้เหนือกว่า และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับวงการอัญมณีโลก โดยการใช้ระบบ AI (Artificial Intelligence) มาช่วยในการตัดสินว่าอัญมณีที่ทำการตรวจสอบนั้น มาจากประเทศใด แหล่งใด อันเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับผู้ครอบครองอัญมณี และเพิ่มมูลค่าให้กับวงการอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีความนิยมการเลือกซื้อ เลือกใช้อัญมณีเฉพาะแหล่ง

     “การทำงานวิจัยครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการรวบรวมข้อมูลอัญมณีจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ซึ่งจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างจำนวนมาก ทำให้ยิ่งเกิดความแม่นยำในการวิเคราะห์แหล่งกำเนิดของอัญมณีนั้น ๆ และเทียบได้กับการใช้ประสบการณ์และความสามารถของอัญมณีศาสตร์ที่ต้องสั่งสมมาเป็นระยะเวลานานหลาย ๆ ปี และมีความแม่นยำ ทำให้เกิดการซื้อขายอย่างมั่นใจ และได้อัญมณีจากแหล่งกำเนิดที่ต้องการ โดยคาดว่าในอนาคตการใช้ระบบ AI จะเป็นระบบหลักที่เทียบเคียงกับการใช้นักอัญมณีศาสตร์ที่มีประสบการณ์หลายปี ช่วยทดแทนการขาดแคลนนักอัญมณีศาสตร์และลดระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์อัญมณีแต่ละเม็ดได้อย่างมาก”นายสุเมธกล่าว

      ทั้งนี้ GIT ได้นำเสนอผลงานวิจัยระดับโลกดังกล่าว ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 1-5 ส.ค.2565 ที่ผ่านมา ณ คูหาหมายเลข (AL15) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ และนายชเนนทร์กันต์ จักรวาลวิบูลย์ หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมกับ ดร.ภูวดล วรรธนะชัยแสง ที่ปรึกษาโครงการวิจัย ได้ร่วมกันบรรยายถึงผลสำเร็จระดับโลกดังกล่าวด้วย

     นอกจากนี้ GIT ยังได้นำเสนอผลงานวิจัย และบรรยายในหัวข้อต่างๆ อีก เช่น การจัดทำตัวอย่างมาตรฐานโลหะเงินชุบทองคำสำหรับการวิเคราะห์ความหนางานชุบพื้นผิวโลหะมีค่าเพื่ออุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย โดย ดร.มณฑิรา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา หัวหน้าโครงการวิจัย สังกัด GIT ที่จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งกับวงการส่งออกเครื่องประดับที่เน้นเรื่องความแม่นยำในการชุบผิวตามความหนาที่กำหนด การสำรวจและวิเคราะห์การตลาดเครื่องประดับดิจิทัล : ทิศทางและแนวโน้มตลาดดิจิทัลอัญมณีไทยสู่สากล

      อันเป็นแนวโน้มสำคัญด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการทำธุรกิจจากรูปแบบปกติ เข้าสู่การทำตลาดผ่านระบบดิจิทัล ที่เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ New S-Curve ของระบบธุรกิจสมัยใหม่ของโลก การพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการและมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขายในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ที่จะสร้างให้มาตรฐานของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี โลหะมีค่า

      และเครื่องประดับ มาตรฐานบุคคลากรห้องปฏิบัติการ มาตรฐานการตรวจสอบอัญมณี และโลหะมีค่า ให้เข้าสู่ระบบที่มีการยอมรับอันเป็นแนวโน้มใหม่ของอุตสาหกรรมอัญมณี โลหะมีค่าและเครื่องประดับ ซึ่งนายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ GIT ได้ให้ข้อมูลเรื่องการพัฒนามาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อขายในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!