WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aสมาร์ทโชวห่วย

กรมพัฒน์ฯ จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน 25 หน่วยงาน เดินหน้าปั้นสมาร์ทโชวห่วย

     กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดินหน้าโครงการ 'สมาร์ทโชวห่วย พลัส' จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 25 หน่วยงาน ร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาโชวห่วยเป็นสมาร์ทโชวห่วย เตรียมลุยเพิ่มความรู้ ช่วยปรับภาพลักษณ์ร้านค้า ดันนำเทคโนโลยีมาใช้ และมีช่องทางออนไลน์บริการลูกค้า ตั้งเป้าปีนี้ อบรม 3,000 ราย สร้างสมาร์ทโชวห่วย 300 ราย  

      นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนดำเนินโครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้เร่งสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการค้าส่ง-ค้าปลีกไทยทุกขนาด พร้อมเร่งพัฒนาร้านโชห่วยให้เป็น ‘สมาร์ทโชห่วย’ล่าสุดกรมฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย

     และภาคเอกชน 5 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย 1.ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย 2.ผู้ให้บริการเทคโนโลยี ระบบ POS แพลตฟอร์ม 3.ผู้ให้บริการเสริม 4.สถาบันการเงิน และ 5.เครือข่ายธุรกิจ Moc Biz Club รวมกว่า 25 หน่วยงาน ได้รวมพลังส่งเสริมผู้ประกอบการโชห่วยไทยให้แข่งขันได้ โดยร่วมกันวางกรอบการพัฒนาโชห่วยไทยทั้งระบบ มีเป้าหมายแรก คือ การผลักดันร้านค้าส่ง-ค้าปลีก ให้เป็นสมาร์ทโชห่วย ผ่านโครงการ “สมาร์ทโชห่วย พลัส” เพื่อผลักดันโชห่วยไทยยืนหนึ่งบนเวทีค้าส่ง-ปลีกเคียงข้างผู้บริโภคได้ต่อไป

     สำหรับ โครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส เป็นโครงการระยะยาว มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2565-2569) ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมหลัก 2 ส่วน คือ 1.การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และ 2.การนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างสมาร์ทโชห่วย และจะมีกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการโชห่วยที่ครอบคลุมหลายมิติ เพื่อผลักดันให้เป็นสมาร์ทโชห่วย ซึ่งจะมีการปรับรูปแบบร้านค้าใน 3 ประการ คือ 1.การมีภาพลักษณ์ร้านค้าที่ดี 2.มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการร้านค้า และ 3.มีช่องทางออนไลน์สำหรับให้บริการลูกค้า

     “โครงการนี้ หน่วยงานพันธมิตรจะร่วมมือกันดำเนินการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยอาศัยกลไกการทำงานร่วมกันทั้งส่วนกลางและพื้นที่ ซึ่งจะมีร้านค้าส่งท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาจากกรมฯ ภายใต้การดูแลของสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโชห่วย คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยพัฒนาร้านค้าโชห่วยเครือข่ายให้เติบโตไปด้วยกัน รวมทั้ง มีสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ช่วยติดตามการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ และร้านค้าสมาร์ทโชห่วยนี้จะเป็นแหล่งรับซื้อสินค้าของคนในชุมชน อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป”นายทศพลกล่าว

     ก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จะจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ขับเคลื่อนโครงการ “สมาร์ทโชห่วย พลัส” ระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และหน่วยงานพันธมิตร ช่วงต้นเดือนส.ค.2565 โดยการลงนาม MoU เป็นการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อเริ่มต้นโครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส อีกทั้งเป็นการส่งสัญญาณว่ากรมฯ พร้อมที่จะขยายเครือข่ายพันธมิตรที่มีศักยภาพและพร้อมสนับสนุนโชห่วยในอนาคต

      โดยในปี 2565 กำหนดเสริมสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการโชวห่วยทั่วประเทศ 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชห่วย 300 ราย และ ปี 2566 กำหนดแผนพัฒนาโชห่วยไทย มีเป้าหมายเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโชห่วยทั่วประเทศ 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชห่วย 400 ราย 

1a สมาร์ทโชวห่วย

กรมพัฒน์ฯ จับมือ พันธมิตรภาครัฐ-เอกชน ดันโชห่วยไทยยืนหนึ่งบนเวทีค้าส่ง-ปลีก พร้อมรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจผันผวน การแข่งขันที่ดุเดือด ผ่านโครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส

       กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าผลักดันโชห่วยไทยยืนหนึ่งบนเวทีค้าส่ง-ปลีกเคียงข้างผู้บริโภค พร้อมรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจผันผวน การแข่งขันที่ดุเดือด และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ร่วมหารือพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน 25 หน่วยงาน วางกรอบพัฒนาโชห่วยทั้งระบบ เป้าหมายแรก..ผลักดันให้เป็น ‘สมาร์ทโชห่วย’ ผ่านโครงการ ‘สมาร์ทโชห่วย พลัส’ พร้อมกำหนดแผนพัฒนาโชห่วยเสริมแกร่งระยะยาว

      นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนดำเนินโครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มีนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการค้าส่ง-ค้าปลีกไทยทุกขนาด พร้อมเร่งพัฒนาร้านโชห่วยให้เป็น ‘สมาร์ทโชห่วย’ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการรายย่อย และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งภาคธุรกิจ

      โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระบบการค้าการลงทุนต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนให้พร้อมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ธุรกิจเอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้น การสร้างฐานความมั่นคงและความแข็งแกร่งให้ธุรกิจจึงมีความจำเป็น รวมทั้ง การใช้ดิจิทัลเป็นแรงขับเคลื่อนการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับพันธมิตรส่งเสริมพัฒนาธุรกิจทุกขนาดให้มีศักยภาพและพร้อมรับความท้าทายที่เกิดขึ้น

     ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และภาคเอกชน 5 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย (1) ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย (Suppliers) (2) ผู้ให้บริการเทคโนโลยี/ระบบ POS/แพลตฟอร์ม (3) ผู้ให้บริการเสริม (4) สถาบันการเงิน และ (5) เครือข่ายธุรกิจ Moc Biz Club รวมกว่า 25 หน่วยงาน ได้รวมพลังส่งเสริมผู้ประกอบการโชห่วยไทยให้แข่งขันได้ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง เติบโต และอยู่คู่สังคมไทยอย่างมั่นคง โดยร่วมกันวางกรอบการพัฒนาโชห่วยไทยทั้งระบบ พร้อมผลักดันโชห่วยไทยยืนหนึ่งบนเวทีค้าส่ง-ปลีกเคียงข้างผู้บริโภค เป้าหมายแรก คือ การผลักดันร้านค้าส่ง-ค้าปลีก ให้เป็น ‘สมาร์ทโชห่วย’ ผ่านโครงการ ‘สมาร์ทโชห่วย พลัส’

      อธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ ‘สมาร์ทโชห่วย พลัส’ เป็นกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการโชห่วยที่ครอบคลุมหลายมิติเพื่อผลักดันให้เป็น ‘สมาร์ทโชห่วย’ ซึ่งมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ (1) การมีภาพลักษณ์ร้านค้าที่ดี (2) มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการร้านค้า หรือ (3) มีช่องทางออนไลน์สำหรับให้บริการลูกค้า ทั้งนี้ การพัฒนาสมาร์ทโชห่วยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ และร้านค้าสมาร์ทโชห่วยนี้จะเป็นแหล่งรับซื้อสินค้าของคนในชุมชน อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

     โครงการนี้ เป็นโครงการระยะยาว มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมหลัก 2 ส่วน คือ (1) การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และ (2) การนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างสมาร์ทโชห่วย โดยดึงคุณสมบัติข้างต้นมาเป็นจุดเด่น เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

     ทั้งนี้ การพัฒนาสมาร์ทโชห่วยต้องดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อาศัยกลไกการทำงานร่วมกันทั้งส่วนกลางและพื้นที่ ซึ่งจะมีร้านค้าส่งท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาจากกรมฯ ภายใต้การดูแลของสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ทำหน้าที่ ‘พี่เลี้ยงโชห่วย’ คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยพัฒนาร้านค้าโชห่วยเครือข่ายให้เติบโตไปด้วยกัน รวมทั้ง มีสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ช่วยติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด

     ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ขับเคลื่อนโครงการ ‘สมาร์ทโชห่วย พลัส’ ระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และหน่วยงานพันธมิตร ประมาณ ต้นเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งการลงนาม MoU ฉบับนี้ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อเริ่มต้นโครงการสมาร์ทโชห่วย พลัส

      อีกทั้ง เป็นการส่งสัญญาณว่ากรมฯ พร้อมที่จะขยายเครือข่ายพันธมิตรที่มีศักยภาพและพร้อมสนับสนุนโชห่วยในอนาคต โดยในปี 2565 กำหนดเสริมสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการโชวห่วยทั่วประเทศ 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชห่วย 300 ราย และปี 2566 กำหนดแผนพัฒนาโชห่วยไทย มีเป้าหมายเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโชห่วยทั่วประเทศ 3,000 ราย และสร้างสมาร์ทโชห่วย 400 ราย เป็นการเสริมแกร่งธุรกิจโชห่วยให้อยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านาน

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!