- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 13 July 2022 11:53
- Hits: 2965
กรมพัฒน์ฯ เปิดรับสมัครอบรมหลักสูตร ‘เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’สมัครวันนี้ - 17 กรกฎาคม 2565 ทาง www.dbd.go.th ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าสร้างความรู้ความเข้าใจกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ เปิดอบรมหลักสูตร ‘เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’ เปิดโอกาสให้สถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป เข้าอบรมฯ ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ทาง www.dbd.go.th หัวข้อ อบรม/สัมมนา อบรมวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2565 รับสมัครจำนวนจำกัดเพียงวันละ 100 ท่านเท่านั้น
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดรับสมัครสถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป เข้ารับการอบรมหลักสูตร เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ รับสมัครผ่านทาง www.dbd.go.th หัวข้อ อบรม/สัมมนา ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครจำนวนจำกัดเพียงวันละ 100 ท่าน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 และอบรมฯ ระหว่างวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
หัวข้อการอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน ประกอบด้วย วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 อบรมหัวข้อ * การพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท และ * การพิจารณาสินเชื่ออย่างมีธรรมาภิบาล โดยอาจารย์วสันต์ เอกนุ่ม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนอิสระ วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ * การระงับข้อพิพาททางเลือก * การแชร์ประสบการณ์การทำคดี * แนะนำระบบการระงับข้อพิพาททางออนไลน์ (ODR) และ * จำลองสถานการณ์การประนอมข้อพิพาท โดยวิทยากรจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) ประกอบด้วย คุณมัชฌิมธร คัมภิรานนท์ รองผู้อำนวยการฯ คุณรุ่งตะวัน ทิพย์รอด หัวหน้าทีมบริหารงานลูกค้า และคุณเพชรลดา พึ่งประเสริฐ ที่ปรึกษากฎหมาย
การอบรมฯ ดังกล่าว จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสำคัญของกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ หลักการพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท การให้สินเชื่ออย่างมีธรรมาภิบาล เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คู่สัญญา สร้างบรรยากาศที่ดีในการดำเนินธุรกิจ และกรณีหากเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาก็มีทางเลือกในการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ จะทำให้คู่สัญญา คือ ผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลักประกัน สามารถเจรจาตกลงระงับข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องเสียเวลาฟ้องคดี และสืบพยาน ลดภาระค่าใช้จ่ายของคู่สัญญาที่ไม่ต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล อีกทั้งยังเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางการค้าของคู่สัญญาอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของการอบรมฯ ในครั้งนี้ เกิดจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยกองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ได้รับคำถามหรือข้อหารือเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ การพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท และกระบวนการบังคับหลักประกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพบข้อจำกัดในทางปฏิบัติ อันเนื่องมาจากธุรกิจมีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้ผู้รับหลักประกันมีความกังวลในการพิจารณาให้สินเชื่อ หรือดำเนินการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปอย่างล่าช้า และเมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันหากผู้รับหลักประกันขาดความรู้ความเข้าใจไม่สามารถบังคับหลักประกันได้เอง ก็จะเลือกฟ้องเป็นคดีแพ่งทั่วไปมากกว่าฟ้องเป็นคดีหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และอาจส่งผลให้เกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาได้
ดังนั้น กรมฯ จึงจัดอบรมฯ ขึ้น เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวข้างต้น และสร้างการรับรู้แก่สถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป ให้ทราบถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการระงับข้อพิพาททางเลือกในช่องทางต่างๆ โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินกระบวนการของการไกล่เกลี่ยการระงับข้อพิพาท กลยุทธ์ในการเจรจา และการโน้มน้าวเพื่อสร้างความเป็นมิตรระหว่างคู่สัญญา และประโยชน์ที่ได้รับจากการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล นอกจากนี้ ในวันอบรมฯ จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดทรัค ณ บริเวณลานตลาดนัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจฟู้ดทรัค ซึ่งอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดทรัคเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกมากขึ้น
ท้ายนี้ ขอเชิญชวนสถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ‘เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก’ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ทาง www.dbd.go.th หัวข้อ อบรม/สัมมนา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย” อธิบดีฯ กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2547 4944 e-Mail : [email protected] สายด่วน 1570 www.dbd.go.th
กรมพัฒน์ฯ ชวนอบรมหลักสูตร 'เทคนิคบริหารสินเชื่อ ระงับข้อพิพาท สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ'
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดรับสมัครสถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป เข้ารับการอบรมหลักสูตร ‘เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย กรอกไปสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 17 ก.ค. อบรมวันที่ 20-21 ก.ค.65 จำกัดวันละ 100 ท่าน
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังเปิดรับสมัครสถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป เข้ารับการอบรมหลักสูตร เทคนิคการบริหารสินเชื่อ และการระงับข้อพิพาททางเลือก สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ โดยรับสมัครผ่านทาง www.dbd.go.th หัวข้อ อบรม/สัมมนา ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 17 ก.ค.2565 อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครจำนวนจำกัดเพียงวันละ 100 ท่าน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมวันที่ 18 ก.ค.2565 และอบรมระหว่างวันที่ 20-21 ก.ค.2565 ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
สำหรับ หัวข้อการอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน ประกอบด้วย วันพุธที่ 20 ก.ค.2565 อบรมหัวข้อ การพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท และการพิจารณาสินเชื่ออย่างมีธรรมาภิบาล โดยอาจารย์วสันต์ เอกนุ่ม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนอิสระ วันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ค.2565 หัวข้อ การระงับข้อพิพาททางเลือก การแชร์ประสบการณ์การทำคดี แนะนำระบบการระงับข้อพิพาททางออนไลน์ (ODR) และจำลองสถานการณ์การประนอมข้อพิพาท โดยวิทยากรจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) ประกอบด้วย คุณมัชฌิมธร คัมภิรานนท์ รองผู้อำนวยการ THAC คุณรุ่งตะวัน ทิพย์รอด หัวหน้าทีมบริหารงานลูกค้า และคุณเพชรลดา พึ่งประเสริฐ ที่ปรึกษากฎหมาย
“การอบรมดังกล่าว จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสำคัญของกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ หลักการพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท การให้สินเชื่ออย่างมีธรรมาภิบาล เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คู่สัญญา สร้างบรรยากาศที่ดีในการดำเนินธุรกิจ และกรณีหากเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาก็มีทางเลือกในการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ จะทำให้คู่สัญญา คือ ผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลักประกัน สามารถเจรจาตกลงระงับข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องเสียเวลาฟ้องคดี และสืบพยาน ลดภาระค่าใช้จ่ายของคู่สัญญาที่ไม่ต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล อีกทั้งยังเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางการค้าของคู่สัญญาอีกด้วย”นายทศพลกล่าว
นายทศพล กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการอบรมในครั้งนี้ เกิดจากกรมฯ โดยกองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ ได้รับคำถามหรือข้อหารือเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ การพิจารณาทรัพย์หลักประกันแต่ละประเภท และกระบวนการบังคับหลักประกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพบข้อจำกัดในทางปฏิบัติ อันเนื่องมาจากธุรกิจมีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้ผู้รับหลักประกันมีความกังวลในการพิจารณาให้สินเชื่อ หรือดำเนินการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปอย่างล่าช้า และเมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันหากผู้รับหลักประกันขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถบังคับหลักประกันได้เอง ก็จะเลือกฟ้องเป็นคดีแพ่งทั่วไปมากกว่าฟ้องเป็นคดีหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และอาจส่งผลให้เกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาได้
ดังนั้น กรมฯ จึงจัดอบรมขึ้น เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวข้างต้น และสร้างการรับรู้แก่สถาบันการเงิน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป ให้ทราบถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการระงับข้อพิพาททางเลือกในช่องทางต่างๆ โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินกระบวนการของการไกล่เกลี่ยการระงับข้อพิพาท กลยุทธ์ในการเจรจา และการโน้มน้าวเพื่อสร้างความเป็นมิตรระหว่างคู่สัญญา และประโยชน์ที่ได้รับจากการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล
ทั้งนี้ ในวันอบรมจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดทรัค ณ บริเวณลานตลาดนัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจฟู้ดทรัค ซึ่งอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจฟู้ดทรัคเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกมากขึ้น