WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aขอให้ตรึง

จุรินทร์ แย้มข่าวดี สัปดาห์นี้ 'น้ำมันปาล์มขวด' ราคาลงแน่ ส่วน 'นม' ขอให้ตรึงไปก่อน

     จุรินทร์ แจ้งข่าวบริหารจัดการ 'น้ำมันปาล์มขวด' คาดสัปดาห์นี้ราคาลงแน่ หลังต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลง จากการที่อินโดนีเซียเร่งส่งออก ย้ำจะดูแลทุกฝ่ายด้วย ‘วิน-วิน โมเดล’ ทั้งเกษตร ผู้ผลิต ผู้บริโภค ได้ประโยชน์ร่วมกัน ส่วน ‘นมและผลิตภัณฑ์’ ยังขอให้ตรึงไปก่อน แต่รับจะพิจารณาให้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริง

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงประเด็นราคาน้ำมันปาล์มขวดบริโภค และการขอปรับขึ้นราคานมและแผนการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มขวดบริโภคอย่างต่อเนื่อง และที่ยังทรงอยู่ เพราะเป็นสต๊อกเดิมที่รับซื้อในช่วงที่ราคาผลปาล์มสูงมาก และนำมาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มขวดในช่วงต้นทุนที่สูง

      แต่ได้สั่งการไปแล้วให้ติดตามอย่างใกล้ชิด และเร่งกำกับให้ปรับลดราคาน้ำมันปาล์มขวดบริโภคลงมาให้สอดคล้องกับต้นทุนให้เร็วที่สุด จะมีตัวเลขสต๊อกล่าสุดกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งจากการสำรวจล่าสุดในวันนี้ จะเห็นตัวเลขว่าสามารถปรับลดราคาได้เมื่อไร คาดว่าเป็นในช่วงสัปดาห์นี้ สอดคล้องกับต้นทุนใหม่ที่เกิดขึ้น

      “ที่ผ่านมา ราคาผลปาล์มขึ้นไปสูงมากในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ จากกิโลกรัม (กก.) ละ 2 บาทกว่า ขึ้นเป็น 4-5 บาท/กก. และไปถึง 11-12 บาท/กก. ซึ่งเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงมาก แต่ในช่วงปลายเดือนที่แล้ว ราคาผลปาล์มปรับลดลงเนื่องจากอินโดนีเซียหันมาเร่งรัดการส่งออกอีกครั้งหนึ่ง มีผลทำให้ราคาในตลาดโลกปรับลดลง มีส่วนในการทำให้ราคาผลปาล์มปรับลดลงมาในช่วงนี้”นายจุรินทร์กล่าว

      ทั้งนี้ ในการดำเนินการเรื่องปาล์ม น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มขวด จะพยายามดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่ายให้ดีที่สุด ไม่ต้องกังวล โดยยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก เหมือนที่พูดว่าเป็น ‘วิน-วินโมเดล’ดูแลทั้งเกษตรกร ทั้งผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้บริโภคให้อยู่ร่วมกันได้ให้ เป็นภาระของแต่ละฝ่ายน้อยที่สุด ให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายให้ได้มากที่สุด

     นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่นมขอปรับราคาขึ้น ได้มีการเสนอขอปรับขึ้นราคานมผงและนมพร้อมดื่มทั้งพาสเจอไรซ์และยูเอชที แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่อนุญาตให้มีการปรับราคาขึ้น โดยพยายามตรึงไว้ให้นานที่สุด จนกว่าจะอั้นไม่อยู่จริงๆ เมื่อต้นทุนปรับสูงขึ้น จนผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตต่อได้ ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาของขาด ถ้าของขาด จะมีความรู้สึกใหม่ตามมา คือ แพงหน่อยดีกว่า ไม่มีของกิน ต้องพยายามดูให้สมดุลที่สุด รักษาประโยชน์ของทุกฝ่ายไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการและต้องดูด้วยเหตุด้วยผลแต่ละกรณี หากส่วนไหนจำเป็น ต้นทุนสูงขึ้นมาจริง ต้องพิจารณาใช้เป็นกรณี ไม่ใช่อนุมัติให้ปรับราคาทั้งหมด โดยไม่ดูว่าอันไหนสูงขึ้นจริงหรือสูงขึ้นไม่จริง หรือเป็นแค่ข้ออ้างว่าสูงขึ้นในภาพรวม

      “ต้องยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นจริงในภาพรวม ที่เราเห็นก็คือราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและค่าขนส่งก็สูงขึ้นตามไปด้วย ต้องให้กระทบกับราคาขายปลีกไปยังผู้บริโภคน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้”นายจุรินทร์กล่าว

     อย่างไรก็ตาม ในเรื่องพลังงาน เป็นภารกิจที่กระทรวงพลังงานจะเป็นตัวหลักในการดำเนินการ แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวม กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดูว่าจะต้องรับมืออย่างไร ดูแลอย่างไร แต่ในภาคการผลิตหลายกระทรวงเกี่ยวข้อง สินค้าเกี่ยวกับเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแล เรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมก็เข้าไปดูเรื่องค่าการผลิต การลดต้นทุน หรือในส่วนอื่นๆ เป็นต้น

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!