WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปลัด ก.พาณิชย์ คาดเป้าส่งออกปีนี้โต 3.5% ระบุจะคุมเงินเฟ้อปีนี้ไม่เกิน 2.0-2.8%

    นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยคาดการณ์ว่า การส่งออกในปีนี้จะเติบโตได้ 3.5% จากเดิมที่ คาดว่าจะขยายตัว 5% หลังมีหลายปัจจัยลบจากทั้งในและต่างประเทศ กระทบต่อ ภาคการส่งออก ขณะที่ได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องกับการส่งออก เร่งดำเนินการทุกด้าน เพื่อผลักดันการส่งออก

     "ตัวเลขการส่งออกในปีนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า น่าจะมีอัตราการ ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น ดังนั้นช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทูตพาณิชย์ และเอกชน เร่งผลักดันการ ส่งออกในทุกๆด้านอย่างเต็มที่"นางศรีรัตน์ กล่าว

     นางศรีรัตน์ กล่าวงอีกว่า กระทรวงพาณิชย์ จะควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อปีนี้ สูงกว่ากรอบคาดการณ์ไว้ที่ 2.0-2.8%

ส่งออก 4 เดือน'ติดลบ'ยันทั้งปีโต 5%

    ไทยโพสต์ : พาณิชย์ * ส่งออก เม.ย.ยังไม่ฟื้น สินค้าเกษตรสำคัญส่งออกลดลง ฉุดยอดรวม 4 เดือนยังติดลบ 0.97% นันทวัลย์ เผยแนวโน้มเริ่มดีขึ้น จากเศรษฐกิจโลก-คู่ค้าฟื้นตัว ยืนเป้าทั้งปีไว้ที่ 5% รอรัฐบาลใหม่เคาะปรับไม่ปรับ

   นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน เม.ย.2557 มีมูลค่า 17,249.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.87% การนำเข้ามีมูลค่า 18,702.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.54% โดยขาดดุลการค้า 1,453.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอดรวม 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 73,460.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.97% การนำเข้ามีมูลค่า 74,208 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.19% โดยขาดดุลการค้ารวม 747.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

     สาเหตุที่ทำให้การส่งออก ในเดือน เม.ย.ลดลง เนื่องจากสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรม เกษตรยังคงขยายตัวลดลง 7.2% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง เช่น อาหารทะเลแช่แข็งลดลง 6.7% กุ้งแช่แข็งและแปรรูปลดลง 12.1% เพราะมีปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน ยางพาราและน้ำตาลทรายลดลง 27.4% และ 37.2% เพราะราคาในตลาดโลกลดลง

      ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมลดลง 0.2% โดยสินค้าที่ส่งออก ลดลง เช่น กลุ่มยานยนต์และ ส่วนประกอบ สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครื่องอิเล็กทรอ นิกส์ และผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงสินแร่ เชื้อเพลิงและทองคำ ที่มีสัญญาณชะลอตัวลง

     นางนันทวัลย์ กล่าวว่า การ ส่งออกเริ่มมีสัญญาที่ดี โดยเดือน เม.ย.เริ่มขยายตัวเป็นลบน้อยลง และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 จะส่ง ออกได้ดีขึ้น เพราะขณะนี้เศรษฐ กิจโลกมีการฟื้นตัวดีขึ้น เศรษฐ กิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยดีขึ้น และเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก ขึ้น เชื่อว่าการส่งออกครึ่งปีน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 2-3% ส่วนทั้งปี 2557 ยังคงยืนยันเป้าหมายที่ 5% ไว้ก่อน แต่จะมีการปรับเป้าหมายใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ โดยกรมมีข้อมูลในทุกด้านแล้ว ทั้งแนวโน้มตลาด แผนผลักดันการส่งออก ปัจจัยบวก ปัจจัยลบ ซึ่งสามารถที่จะนำเสนอได้ทันที.

ส่งออกเมษายังไม่ฟื้นไข้พาณิชย์กัดฟันยืนเป้าส่งออกครึ่งปีแรก 2-3%

     บ้านเมือง : นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า จากการแถลงตัวเลขส่งออกเดือนเมษายน 2557 ของทางกระทรวงพาณิชย์ ว่า หดตัว 0.9% เทียบกับที่หดตัว 3.1% ในเดือน มี.ค.นั้นถือว่าไม่ผิดจากคาดการณ์ของ ธปท.ที่เห็นว่าการส่งออกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดย ธปท. เชื่อว่าการส่งออกยังจะมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เพราะเห็นว่าปริมาณการส่งออกพอไปได้โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อีกทั้งเครื่องชี้อุปสงค์โลกและผลการสำรวจความเห็นของผู้ส่งออกไทยก็ยังชี้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพียงแต่มีประเด็นในขณะนี้ว่า ราคาส่งออกของสินค้าเกษตรไม่ค่อยดี เช่น ราคายางพารา ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าการส่งออกต่ำลงไปด้วย โดยราคาสินค้าเกษตรได้รับผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

    ด้านนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือนเม.ย. 2557 ติดลบ 0.87% โดยลดลงจากเดือน มี.ค. ที่ติดลบ 3.12% โดยมีมูลค่า 17,249.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเดือน เม.ย.นี้ สินค้าสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมในภาพรวมส่งออก ลดลง 0.2% อาทิ ส่งออกสินค้ากลุ่มสินแร่ เชื้อเพลิง และทองคำ ที่ส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าหลักในกลุ่มอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง

    ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย. 57) เติบโต 0.97% โดยมีมูลค่า 73,460.5 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์การส่งออกของไทยปีนี้โต 5% ภายใต้สมมติฐานว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ 3.6-3.7% ตามการคาดการณ์ขององค์การการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ประกอบกับราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลกสูงขึ้น 1.3% รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

    ขณะที่การส่งออกในไตรมาส 2 คาดจะเติบโตได้ 4-4.5% ภายใต้สมมุติฐานที่มีปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป โดยคำสั่งซื้อใหม่ในเดือน พ.ค.2557 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร

  ขณะที่นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือน เม.ย.57 อยู่ที่ระดับ 36.36% ลดลงจากเดือน มี.ค.57 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 45.45% แสดงถึงภาวะชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิต ดัชนีการประกอบกิจการโรงงานทั้งจำนวนโรงงาน จำนวนเงินทุน จำนวนแรงงาน และจำนวนแรงม้า ตลอดจนดัชนีขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งจำนวนโครงการ เงินลงทุน และการจ้างงาน

    ด้าน นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า มิติด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรม มีการชะลอตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือน เม.ย.57 อยู่ที่ 156.63 หดตัว 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว 12.27% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ 56.58% ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. 57 ซึ่งอยู่ที่ 64.46% และลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.56 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ 56.58% ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.57 ซึ่งอยู่ที่ 64.46%

    นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า มิติด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรมนั้น ดัชนีการประกอบกิจการโรงงาน ทั้งจำนวนโรงงาน จำนวนเงินทุน จำนวนแรงงาน และจำนวนแรงม้า มีการชะลอตัว โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 92.44, 385.33, 85.92, 483.70 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการหดตัว 10.67%, 9.89%, 4.23%, 36.01% ตามลำดับ

    นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า มิติด้านความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมนั้น ดัชนีขอรับการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว ทั้งจำนวนโครงการ เงินลงทุน และการจ้างงาน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 99.45, 99.60, 39.64 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการหดตัว 22.08%, 70.44%, 58.84% ตามลำดับ

พาณิชย์ เดินหน้ายื่นสหรัฐถอนสินค้า 5 รายการในบัญชีสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ

     นางศรีรัตน์  รัษฐปานะ  ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมแก้ไขประเด็นปัญหาแรงงานเด็กและแรงงานบังคับในไทยสำหรับสินค้า 5 รายการที่ถูกกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ โดยได้เชิญภาครัฐ เอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ทั้งนี้ สินค้า 5 รายการประกอบด้วย ปลา เครื่องนุ่งห่ม สื่อลามก กุ้ง และอ้อย ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้หารือภาครัฐ เอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งหาแนวทางถอดสินค้าทั้ง 5 รายการออกจากบัญชีดังกล่าวที่อาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสินค้าและตลาดของไทย ทั้งนี้ สหรัฐฯ จะมีการทบทวนบัญชีดังกล่าวทุก 2 ปี และจะครบกำหนดการประกาศบัญชีดังกล่าวอีกครั้งในเดือนกันยายน 2557 ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งดำเนินการขอให้สหรัฐฯ พิจารณาถอดสินค้าฯ ออกจากบัญชีฯ โดยไทยจะต้องแสดงข้อมูลหลักฐานและความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาฯ อาทิ การใช้บังคับกฎหมาย การดำเนินคดีผู้กระทำผิด การตรวจติดตามของภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม ตลอดจนความมุ่งมั่นและความร่วมมือของรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมในการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับในอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เชื่อได้ว่า ปัญหาการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับของไทยได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

   นางศรีรัตน์ฯ เปิดเผยต่อไปว่า การประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และสมาคมในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องครั้งนี้พบว่าทุกฝ่ายมีความพร้อมที่จะร่วมกันผลักดันการแก้ไขปัญหาแรงงานฯ อย่างเป็นระบบและยั่งยืน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานฯ ที่ผ่านมามีความคืบหน้าในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้น ที่ประชุมจึงพร้อมที่จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่กระทรวงพาณิชย์เพื่อส่งให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาถอดถอนสินค้าทั้ง 5 รายการในบัญชีดังกล่าวภายในกรอบเวลาต่อไป พร้อมกันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนภาคเอกชนของไทยยังมีความพร้อมที่จะดำเนินงานเชิงรุกกับผู้นำเข้าของต่างประเทศเพื่อที่จะรักษาตลาดและทำให้ผู้นำเข้าฯ ได้ตระหนักถึงภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทยด้วย

   นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีนโยบายให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานด้านแรงงาน และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และได้พยายามเชื่อมโยงและผลักดันในกรอบเวทีการค้าต่างๆ โดยเฉพาะในกรอบเจรจาการค้าเสรี เพื่อสร้างเป็นเงื่อนไขทางการค้า ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีแนวคิดที่จะเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเกี่ยวกับเรื่องการค้าและแรงงาน (trade and labor) ซึ่งอาจจะประกอบด้วยภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาแรงงานที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าของไทยต่อไป

สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมเดี้ยงถ้วนหน้า ส่งออกทำเงินต่ำสุดในรอบ 2 ปี

    แนวหน้า : ส่งออกยังกู่ไม่กลับ เดือนเมษายนติดลบ 0.87% รวม 4 เดือน ติดลบ 0.97% ทำเงินได้แค่ 1.72 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำสุดในรอบ 2 ปี ปัจจัยหลักมาจากสินค้าทั้งกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมหดตัวถ้วนหน้า ขณะที่การนำเข้าติดลบ 15.19% ร่วงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 พาณิชย์เตรียมรวบรวมปัญหาเสนอคสช.เพื่อผลักดันส่งออกให้โต 5% ตามเป้า

    นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย ว่าการส่งออกเดือนเมษายน 2557 ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 17,249.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนเมษายนนี้ ยังต่ำสุดในรอบ 24 เดือน หรือ 2 ปี และเมื่อรวม 4 เดือน(มกราคม-เมษายน 2557)มีมูลค่า 73,460.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.97% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

   เนื่องจากสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมมีการส่งออกลดลง 7.2% ประกอบกับราคาสินค้ามีการปรับลดลง เช่น ยางพาราในตลาดโลกราคาลดลง 40% จากเฉลี่ย 3,675 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตกลงเหลือเพียงตันละ 2,200 เหรียญสหรัฐ ซึ่งการส่งออก

   ยางพาราลดลง 27.4% ราคาน้ำตาลทรายปรับลดลง 26% และมีการส่งออกลดลง 37.2% จากเดือนก่อน ปัญหาโรคตายด่วนของกุ้งยังแก้ไม่ได้ จากเดิมที่คาดว่าจะแก้ไขปัญหาได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ ทำให้ยอดส่งออกกุ้งแช่แข็งและแปรรูปตกลงอย่างต่อเนื่อง ลดลง 12.1% จากเดือนก่อน อีกทั้งการส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูงก็ลดลง 8.5% โดยเฉพาะการส่งออกไปอาเซียนลดลง 1.9%

    ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมในภาพรวมลดลง 0.2% ซึ่งมาจากการส่งออกทองคำ ที่ขึ้นอยู่กับราคาทองเป็นหลัก กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกก็ยังติดลบส่วนหนึ่งเกิดจากการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ ทั้งไปประเทศจีนและเวียดนาม เพราะจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา และคาดว่าการส่งออกในกลุ่มนี้จะติดลบต่อเนื่องไปอีกสักระยะหนึ่ง รวมถึงต้องอาจต้องรอให้มีการปรับตัวในการผลิตสินค้าใหม่ที่จะเข้ามาสนองความต้องการของตลาด

    แต่ทั้งนี้ ยังมองว่าในช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกจะขยายตัวได้ที่ 2-3% เนื่องจากการส่งออกของไทยหลังจากนี้จะปรับตัวดีขึ้น เพราะตลาดส่งออกหลักของไทยทั้งสหรัฐ และยุโรป มีการปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้น คำสั่งซื้อสินค้ามีอย่างต่อเนื่อง สัญญาด้านราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกดีขึ้นได้ ขณะที่เป้าหมายการส่งออกทั้งปียังคงต้องรอการวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายการส่งออกปี 2557 ไว้ที่ 5% เช่นเดิมภายใต้สมมุติฐานของเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.6-3.7% ราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมโลกสูงขึ้น 1.3% อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

    สำหรับ การนำเข้าของเดือนเมษายน ลดลง 14.54% มีมูลค่า 18,702.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวติดลบเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1,453.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อรวม 4 เดือนแรก ของปี การนำเข้าลดลง 15.19% มีมูลค่า 74,208 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้รวม 4 เดือนแรกของปี 2557 ไทยขาดดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 747.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

   อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด รวบรวมข้อมูล เพื่อเตรียมเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยในส่วนของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เตรียมเสนอถึงปัญหาและปัจจัยต่างๆ ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ที่มีผลต่อการส่งออก เช่น ปัญหาด้านแรงงาน การย้ายฐานการผลิต ของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร อาทิ ยางพารา กุ้งแปรรูป เป็นต้น

    ปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อผลักดันการส่งออกในขณะนี้ ก็คือ การเรียกความเชื่อมั่นจากคู่ค้า กรมได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกไปทำการชี้แจงคู่ค้าแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่มีผลกระทบต่อการค้า และกำลังที่จะเร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่กระทบต่อการส่งออก ทั้งเรื่องปัญหาการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆ กระทรวงเข้ามาแก้ปัญหาร่วมกันนางนันทวัลย์กล่าวสรุป

      นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่าการที่ตัวเลขส่งออกเดือนเมษายน หดตัวไม่ผิดจากคาดการณ์ของ ธปท. ที่เห็นว่าการส่งออกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่เชื่อว่าการส่งออกยังจะมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เพราะเห็นว่า ปริมาณการส่งออกยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อีกทั้งเครื่องชี้อุปสงค์โลก และผลการสำรวจความเห็นของผู้ส่งออกไทยก็ยังชี้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป

พาณิชย์รับส่งออกปี 57 อาจโตแค่ 3.5% พลาดเป้า ผลกีดกันการค้าโลก-ต้นทุนสูง

    นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลัง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะเข้าหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการ โดยได้เน้นการดูแลปัญหาค่าครองชีพของประชาชน การผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีการจัดทำรายละเอียดและนำเสนอต่อ คสช.ต่อไป

   ทั้งนี้ ในด้านการดูแลค่าครองชีพนั้น จะดูแลราคาสินค้าและหาทางลดค่าครองชีพให้กับประชาชน ด้านการส่งออก จะมีการเร่งรัดผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที่ แต่จากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นทั้งเศรษฐกิจโลก การกีดกันทางการค้าที่สูงขึ้น ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน นำเข้าลดลง ทำให้เป้าส่งออกที่ตั้งไว้ 5% อาจจะทำไม่ได้ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวได้เพียง 3.5% เท่านั้น และด้านการเจรจาการค้าก็ยังเดินหน้าต่อไป เพราะไทยยึดหลักการค้าเสรี

    สำหรับการดูแลราคาข้าวเปลือก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางใด แต่จะมีมาตรการและแนวทางช่วยเหลือแน่ ซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ส่วนการระบายข้าว ต้องขอเวลาและรอความชัดเจนจาก คสช. ก่อน

    ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะขยายตัวได้ 2-2.8% แม้ปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานประเมินว่าเงินเฟ้อจะสูงเกินกว่า 3% แต่กระทรวงฯ จะดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบที่กำหนด

    อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำงบประมาณปี 58 กระทรวงฯ ได้เตรียมพร้อมไว้แล้วและมั่นใจว่าจะนำเสนอได้ทันที โดยโครงการสำคัญๆ จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในสู่ภายนอก การปรับปรุงงานให้บริการต่างๆ เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญ ขณะที่งบประมาณปี 2557 จนถึงขณะนี้สามารถใช้ได้ตามแผนและไม่มีปัญหาติดขัดแต่อย่างใด

            อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!