- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 21 June 2022 08:38
- Hits: 5609
จุรินทร์ ถกผู้นำเข้าไอซ์แลนด์ ดันสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดเพิ่ม ตั้งเป้าส่งออกปีนี้โต 10%
จุรินทร์ ถกผู้นำเข้าสินค้าไทย 7 ราย หาทางดันสินค้าไทยส่งออกเข้าสู่ตลาดไอซ์แลนด์เพิ่มขึ้น เตรียมจัดเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ คัดผู้ส่งออกที่ผลิตสินค้าได้มาตรฐานยุโรปมาร่วมเจรจา พร้อมเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการขาย แนะนำสินค้าไทย และจะเร่งเจรจา FTA ไทย-EFTA ให้สำเร็จโดยเร็ว ตั้งเป้าปีนี้ ยอดส่งออกเพิ่มไม่ต่ำกว่า 10%
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานกิจกรรมบุกตลาดไอซ์แลนด์ Top Thai Products Networking @Iceland ว่า ได้มีโอกาสประชุมร่วมกับภาคเอกชนของไอซ์แลนด์ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยและประสงค์นำเข้าสินค้าไทยมากขึ้นในอนาคต จำนวน 7 ราย ทั้งผู้นำกลุ่มนักธุรกิจสตรีจากไอซ์แลนด์ ชาวไทยบางส่วนที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้า และเจ้าของร้านอาหารไทย
ที่นี่มีถึง 14 ร้าน โดยทุกคนมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยโดยตรงเพิ่มขึ้น จากเดิมมีการนำเข้าตรงและบางส่วนนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ หรือสหราชอาณาจักร จะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกจากไทยไปไอซ์แลนด์ได้เพิ่มขึ้น โดยปี 2564 การค้าไทย-ไอซ์แลนด์ มีมูลค่า 782 ล้านบาท เป็นการส่งออก 212 ล้านบาท ปี 2565 นี้ ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10%
สำหรับ รายละเอียดผลการหารือ ผู้นำเข้าต้องการสินค้าไทยที่ได้มาตรฐานยุโรป รวมทั้งต้องการสินค้าไทยที่มีปริมาณมากพอที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไอซ์แลนด์ โดยได้ยืนยันว่าสินค้าอาหารไทยที่ส่งออกไปทั่วโลกปีละกว่า 1.1 ล้านล้านบาท ได้มาตรฐานยุโรป ยกเว้นรายย่อย ซึ่งได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยที่ได้คุณภาพมาตรฐานยุโรป ผ่านระบบออนไลน์แล้ว
ทั้งนี้ ผู้นำเข้าเป็นห่วงเรื่องการนำเข้าสินค้าไทยที่อดีตมีช่วงเวลาจำหน่ายน้อย การจัดจับคู่เจรจาธุรกิจจะช่วยให้การนำเข้าสินค้าเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ โดยต้องหมดอายุไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีครึ่งจะได้มีเวลาจำหน่ายได้ยาวนาน
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้นำเข้า ที่ผ่านกระบวนการนำเข้าหรือค่าชิปปิ้งยังสูงมาก ซึ่งไทยจะเปิดนับหนึ่งประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ร่วมกับ 4 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกสมาคมเสรีการค้ายุโรป หรือ EFTA ประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์และไอซ์แลนด์ กับไทย ถ้าสำเร็จการนำเข้าสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์จะคล่องตัว ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งภาษีระหว่างกันเป็น 0% ในอนาคต
ขณะเดียวกัน ผู้นำเข้าได้หยิบยกประเด็นเรื่องร้านอาหารไทยมาหารือ ให้ร้านอาหารไทยในไอซ์แลนด์เป็นอาหารไทยแท้ ที่ไม่ดัดแปลงจนเสียอัตลักษณ์ ได้ขอให้ทูตพาณิชย์ที่ดูแลร้านอาหารไทยที่ไอซ์แลนด์กำชับและติดตามต่อไป โดยอาหารไทยแท้จะให้ตรา Thai Select ซึ่งเป็นตราการันตีความเป็นอาหารที่มีอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้คนไอซ์แลนด์มั่นใจ และขอความร่วมมือคนไทยทำอาหารไทยอย่าทำให้เสียความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
นอกจากนี้ นักธุรกิจไอซ์แลนด์แจ้งว่าสนใจสินค้าสุขภาพ อาหารสุขภาพ หรือออร์แกนิกจากไทยด้วย ซึ่งจะจัดผู้ส่งออกผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องมาพบกับผู้นำเข้าผ่านระบบซูมต่อไป
“กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกันเดินหน้าในการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์ โดยมีแผนเริ่มต้นจาก Mini Exhibition นำสินค้าไทยทั้งส่งออกโดยตรงและรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ต่างประเทศมาแสดง มุ่งเน้นส่งสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์โดยตรงให้มากขึ้น ประสานกับผู้นำเข้าสินค้าไทยที่เป็นแบรนด์ไทยมากขึ้นต่อไป จัดจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ส่งออกผู้ผลิตของไทย จะมาจัดการส่งเสริมการขายสินค้าไทยในห้าง หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตของไอซ์แลนด์ให้มากขึ้น จะเร่งรัดการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ EFTA ให้คืบหน้าเร็วที่สุด และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะเชิญผู้นำเข้าร่วมงาน THAIFEX – Anuga Asia ในปีหน้าด้วย”นายจุรินทร์กล่าว
ไอซ์แลนด์ เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคขนาดเล็ก มีประชากรจำนวนประมาณ 371,580 คน แต่เป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อหัวสูงถึง 54,482 เหรียญสหรัฐ โดยกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 131,136 คน เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของไอซ์แลนด์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ประชากรมีสุขภาพที่ดีที่สุดของโลก โดยสินค้าที่ไอซ์แลนด์นำเข้าจากไทย เช่น อวนจับปลา ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องกีฬา ข้าว และผลิตภัณฑ์จากยาง ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากไอซ์แลนด์ เช่น อาหารทะเลแช่แข็ง เนื้อสัตว์ รวมทั้งผักสด ผลไม้แปรรูป เป็นต้น
การประชุมหารือครั้งนี้ มีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ น.ส.วิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออสโล นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วม
บุกตลาดไอซ์แลนด์ !!! 'จุรินทร์' นำทีมถก 7 ผู้นำเข้า ตั้งเป้าขายตรงสินค้าแบรนด์ไทย บุกตลาดร้านอาหารไทย สปาและสินค้าสุขภาพ หวังส่งออกไอซ์แลนด์เพิ่มไม่ต่ำกว่า 10% ในสิ้นปี
วันที่ 19 มิถุนายน 2565 เวลา 12.00 น.(เวลาประเทศไทย 19.00 น.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานกิจกรรมบุกตลาดไอซ์แลนด์ Top Thai Products Networking @Iceland พร้อมด้วย นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออสโล นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่โรงแรม Fosshotel เมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้มีโอกาสประชุมร่วมกับภาคเอกชนของไอซ์แลนด์ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยและประสงค์นำเข้าสินค้าไทยมากขึ้นในอนาคต ภาพรวมการค้าไทยกับไอซ์แลนด์ ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศมีประชากรประมาณ 300,000 กว่าคน แต่เป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจสูงและมูลค่าการค้าไทยกับไอซ์แลนด์ยังน้อยเพราะถือเป็นตลาดใหม่ของไทย ซึ่งตนมีนโยบายต้องการส่งออกสินค้าไทยมาที่นี่มากขึ้น ปีที่แล้วตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์ มีมูลค่า 782 ล้านบาท ไทยส่งออกมาที่ 212 ล้านบาทซึ่งน้อยมาก อนาคตเชื่อว่าจะดีขึ้น ปี 2565 ตัวเลขส่งออกมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% สินค้าที่ไอซ์แลนด์นำเข้าจากไทยเช่น อวนจับปลา ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องกีฬา ข้าวและผลิตภัณฑ์จากยาง ส่วนสินค้าที่ประเทศไทยนำเข้าจากไอซ์แลนด์ เช่น อาหารทะเลแช่แข็งเนื้อสัตว์ รวมทั้งผักสด ผลไม้แปรรูป เป็นต้น
วันนี้การหารือระหว่างเอกชนผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับไทย มีผู้นำเข้าสำคัญ 7 ราย ทั้งผู้นำกลุ่มนักธุรกิจสตรีจากไอซ์แลนด์ และชาวไทยบางส่วนที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้า เจ้าของร้านอาหารไทย ซึ่งที่นี่มีร้านอาหารไทยถึง 14 ร้านด้วยกันซึ่งได้รับความนิยม ประเด็นที่หารือวันนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ผู้นำเข้าต้องการสินค้าไทยที่ได้มาตรฐานยุโรป รวมทั้งต้องการสินค้าไทยที่มีปริมาณมากพอที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไอซ์แลนด์ ซึ่งสินค้าอาหารไทยที่ส่งออกไปทั่วโลกปีละกว่า 1.1 ล้านล้านบาทได้มาตรฐานยุโรป ยกเว้นรายย่อย ซึ่งตนมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจับจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยที่ได้คุณภาพมาตรฐานยุโรป ผ่านระบบออนไลน์เพื่อเพิ่มตัวเลขการส่งออก
ประเด็นที่สอง ผู้นำเข้าเป็นห่วงเรื่องการนำเข้าสินค้าไทยที่อดีตมีช่วงเวลาจำหน่ายน้อย การจัดจับคู่เจรจาธุรกิจจะช่วยให้การนำเข้าสินค้าตามมาตรฐาน ว่าต้องไม่หมดอายุไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีครึ่งจะได้มีเวลาจำหน่ายได้ยาวนาน
ประเด็นที่สาม เรื่องค่าใช้จ่ายของผู้นำเข้า ที่ผ่านกระบวนการนำเข้าหรือค่าชิปปิ้งยังสูงมาก ซึ่งพรุ่งนี้เราจะเปิดนับหนึ่งประวัติศาสตร์การลงนามร่วมระหว่างประเทศไทยกับ 4 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกสมาคมเสรีการค้ายุโรป หรือ EFTA ประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์และไอซ์แลนด์ กับไทย จะเริ่มเจรจาถ้าสำเร็จการนำเข้าสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์จะคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีระหว่างกับเป็นศูนย์ในอนาคต
ประเด็นที่สี่ มีผู้นำเข้าได้หยิบยกประเด็นเรื่องร้านอาหารไทยมาหารือ ให้ร้านอาหารไทยในไอซ์แลนด์เป็นอาหารไทยแท้ ที่ไม่ดัดแปลงจนเสียอัตลักษณ์ ตนขอให้ทูตพาณิชย์ที่ดูแลร้านอาหารไทยที่ไอซ์แลนด์กำชับและติดตามต่อไป อาหารไทยแท้จะให้ตรา Thai Select ซึ่งเป็นตราการันตีความเป็นอาหารที่มีอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้คนไอซ์แลนด์มั่นใจ และขอความร่วมมือคนไทยทำอาหารไทยอย่าทำให้เสียความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ประเด็นที่ห้า นักธุรกิจไอซ์แลนด์แจ้งว่าสนใจสินค้าสุขภาพและอาหารสุขภาพหรือออร์แกนิกจากไทยมาก เพื่อใช้ในสปา สมุนไพรไทย เป็นต้น เราจะจัดผู้ส่งออกผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องมาพบกับผู้นำเข้าผ่านระบบซูมต่อไป
กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกันเดินหน้าในการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์ คือ 1.วันนี้เริ่มต้นจาก mini exhibition นำสินค้าไทยทั้งทส่งออกโดยตรงและรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ต่างประเทศมาแสดง
2.จะมุ่งเน้นส่งสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์โดยตรงให้มากขึ้น ประสานกับผู้นำเข้าสินค้าไทยที่เป็นแบรนด์ไทยมากขึ้นต่อไป
3.จะจัดจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ส่งออกผู้ผลิตของไทย
4.ไทยจะมาจัดการส่งเสริมการขายสินค้าไทยในห้าง หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตของไอซ์แลนด์ให้มากขึ้น
5.ไทยจะเร่งรัดการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ EFTA ให้คืบหน้าเร็วที่สุด
6.กรมส่งเสริมการค้าจะเชิญผู้นำเข้าร่วมงาน THAIFEX – Anuga Asia ในปีหน้า ตนหวังว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% ในปีนี้
ผู้สื่อข่าวระบุว่า สินค้าไทยที่นำมาจัดแสดงในงาน Top Thai Products Networking @Iceland วันนี้ เป็นสินค้าไทยในสินค้ากลุ่มอาหารออร์แกนิก ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ รองเท้าและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สปา และในช่วงบ่าย นายจุรินทร์มีกำหนดการลงพื้นที่เพื่อสำรวจตลาดสินค้าไทยที่ห้าง Kronan ซึ่งเป็นซูเปอร์มาเก็ตรายใหญ่ (อันดับสอง) ของไอซ์แลนด์ และช่วงเย็นจะมีการเข้ามอบตราสัญลักษณ์ Thai Select ให้กับร้าน “ครัวไทย” ในไอซ์แลนด์ เพื่อรับรองรสชาติและคุณภาพของอาหารว่าได้มาตรฐานให้มีรสชาติไทยแท้ เพื่อแนะนำให้กับผู้บริโภคชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวต่อไป
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า กิจกรรมที่เมืองเรคยาวิก สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ จัดกิจกรรมบุกตลาดสินค้าไทยในไอซ์แลนด์โดยวิธีการ Sourcing ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ได้พบหารือสร้างเครือข่ายทางการค้าระหว่างกัน ซื้อขายสินค้าโดยตรงระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งนี้ ไอซ์แลนด์ เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคขนาดเล็ก มีประชากรจำนวนประมาณ 371,580 คน แต่เป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อหัวสูงถึง 54,482 เหรียญสหรัฐ โดยกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 131,136 คน เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของไอซ์แลนด์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ประชากรมีสุขภาพที่ดีที่สุดของโลก
สำหรับ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกิจกรรมบุกตลาดไอซ์แลนด์ Top Thai Products Networking @Iceland เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม Fosshotel เมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานกิจกรรมบุกตลาดไอซ์แลนด์ Top Thai Products Networking @Iceland พร้อมด้วย นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออสโล นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่โรงแรม Fosshotel เมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ได้มีโอกาสประชุมร่วมกับภาคเอกชนของไอซ์แลนด์ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยและประสงค์นำเข้าสินค้าไทยมากขึ้นในอนาคต ภาพรวมการค้าไทยกับไอซ์แลนด์ ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศมีประชากรประมาณ 300,000 กว่าคน แต่เป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจสูงและมูลค่าการค้าไทยกับไอซ์แลนด์ยังน้อยเพราะถือเป็นตลาดใหม่ของไทย ซึ่งตนมีนโยบายต้องการส่งออกสินค้าไทยมาที่นี่มากขึ้น ปีที่แล้วตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์ มีมูลค่า 782 ล้านบาท ไทยส่งออกมาที่ 212 ล้านบาทซึ่งน้อยมาก อนาคตเชื่อว่าจะดีขึ้น ปี 2565 ตัวเลขส่งออกมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% สินค้าที่ไอซ์แลนด์นำเข้าจากไทยเช่น อวนจับปลา ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องกีฬา ข้าวและผลิตภัณฑ์จากยาง ส่วนสินค้าที่ประเทศไทยนำเข้าจากไอซ์แลนด์ เช่น อาหารทะเลแช่แข็งเนื้อสัตว์ รวมทั้งผักสด ผลไม้แปรรูป เป็นต้น
วันนี้การหารือระหว่างเอกชนผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับไทย มีผู้นำเข้าสำคัญ 7 ราย ทั้งผู้นำกลุ่มนักธุรกิจสตรีจากไอซ์แลนด์ และชาวไทยบางส่วนที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้า เจ้าของร้านอาหารไทย ซึ่งที่นี่มีร้านอาหารไทยถึง 14 ร้านด้วยกันซึ่งได้รับความนิยม ประเด็นที่หารือวันนี้
ประเด็นที่หนึ่ง ผู้นำเข้าต้องการสินค้าไทยที่ได้มาตรฐานยุโรป รวมทั้งต้องการสินค้าไทยที่มีปริมาณมากพอที่จะสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไอซ์แลนด์ ซึ่งสินค้าอาหารไทยที่ส่งออกไปทั่วโลกปีละกว่า 1.1 ล้านล้านบาทได้มาตรฐานยุโรป ยกเว้นรายย่อย ซึ่งตนมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจับจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยที่ได้คุณภาพมาตรฐานยุโรป ผ่านระบบออนไลน์เพื่อเพิ่มตัวเลขการส่งออก
ประเด็นที่สอง ผู้นำเข้าเป็นห่วงเรื่องการนำเข้าสินค้าไทยที่อดีตมีช่วงเวลาจำหน่ายน้อย การจัดจับคู่เจรจาธุรกิจจะช่วยให้การนำเข้าสินค้าตามมาตรฐาน ว่าต้องไม่หมดอายุไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีครึ่งจะได้มีเวลาจำหน่ายได้ยาวนาน
ประเด็นที่สาม เรื่องค่าใช้จ่ายของผู้นำเข้า ที่ผ่านกระบวนการนำเข้าหรือค่าชิปปิ้งยังสูงมาก ซึ่งพรุ่งนี้เราจะเปิดนับหนึ่งประวัติศาสตร์การลงนามร่วมระหว่างประเทศไทยกับ 4 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกสมาคมเสรีการค้ายุโรป หรือ AFTA ประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์และไอซ์แลนด์ กับไทย จะเริ่มเจรจาถ้าสำเร็จการนำเข้าสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์จะคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีระหว่างกับเป็นศูนย์ในอนาคต
ประเด็นที่สี่ มีผู้นำเข้าได้หยิบยกประเด็นเรื่องร้านอาหารไทยมาหารือ ให้ร้านอาหารไทยในไอซ์แลนด์เป็นอาหารไทยแท้ ที่ไม่ดัดแปลงจนเสียอัตลักษณ์ ตนขอให้ทูตพาณิชย์ที่ดูแลร้านอาหารไทยที่ไอซ์แลนด์กำชับและติดตามต่อไป อาหารไทยแท้จะให้ตรา Thai Select ซึ่งเป็นตราการันตีความเป็นอาหารที่มีอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้คนไอซ์แลนด์มั่นใจ และขอความร่วมมือคนไทยทำอาหารไทยอย่าทำให้เสียความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นไทย
ประเด็นที่ห้า นักธุรกิจไอซ์แลนด์แจ้งว่าสนใจสินค้าสุขภาพและอาหารสุขภาพหรือออร์แกนิกจากไทยมาก เพื่อใช้ในสปา สมุนไพรไทย เป็นต้น เราจะจัดผู้ส่งออกผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องมาพบกับผู้นำเข้าผ่านระบบซูมต่อไป
กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกันเดินหน้าในการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์ คือ 1.วันนี้เริ่มต้นจาก mini exhibition นำสินค้าไทยทั้งทส่งออกโดยตรงและรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ต่างประเทศมาแสดง
2.จะมุ่งเน้นส่งสินค้าไทยมาไอซ์แลนด์โดยตรงให้มากขึ้น ประสานกับผู้นำเข้าสินค้าไทยที่เป็นแบรนด์ไทยมากขึ้นต่อไป
3.จะจัดจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้นำเข้าไอซ์แลนด์กับผู้ส่งออกผู้ผลิตของไทย
4.ไทยจะมาจัดการส่งเสริมการขายสินค้าไทยในห้าง หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตของไอซ์แลนด์ให้มากขึ้น
5.ไทยจะเร่งรัดการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ AFTAให้คืบหน้าเร็วที่สุด
6.กรมส่งเสริมการค้าจะเชิญผู้นำเข้าร่วมงาน THAIFEX – Anuga Asiaในปีหน้า
ตนหวังว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% ในปีนี้
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่า กิจกรรมที่เมืองเรคยาวิก สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ จัดกิจกรรมบุกตลาดสินค้าไทยในไอซ์แลนด์โดยวิธีการ Sourcing ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ได้พบหารือสร้างเครือข่ายทางการค้าระหว่างกัน ซื้อขายสินค้าโดยตรงระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งนี้ ไอซ์แลนด์ เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคขนาดเล็ก มีประชากรจำนวนประมาณ 371,580 คน แต่เป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อหัวสูงถึง 54,482 เหรียญสหรัฐ โดยกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 131,136 คน เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของไอซ์แลนด์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ประชากรมีสุขภาพที่ดีที่สุดของโลก
จุรินทร์ ลงพื้นที่สำรวจตลาด ณ ห้าง Kronan (โครนาน) เมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ห้างโครนานเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งมี 23 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งนำเข้าสินค้าจากเอเชียหลายรายการ ทั้งจีน เวียดนามและไทย สำหรับสินค้าจากประเทศไทยยังน้อยเพราะต้องนำเข้าผ่านเทรดเดอร์จากอังกฤษ เยอรมันและเนเธอร์แลนด์เป็นต้น และมีผลไม้เพียงชนิดเดียว คือ มะพร้าวทั้งลูกที่ปอกแล้ว
ส่วนที่เหลือเป็นซอสปรุง มีทั้งซอสศรีราชา น้ำจิ้มไก่ เครื่องแกง น้ำปลา รวมทั้งอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานแช่แข็ง เช่น ข้าวแกงเขียวหวาน ข้าวผัดเปรี้ยวหวานไก่ ข้าวแกงไก่ เป็นต้น ซึ่งถือว่ารายการทั้งหมดยังไม่มากและคนไอซ์แลนด์ยังรู้จักอาหารไทยสำเร็จรูปไม่มากนัก ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะพยายามเปิดตลาดสินค้าไทย
โดยให้สามารถนำเข้าจากผู้ส่งออกและผู้ผลิตของเราโดยตรงไม่ผ่านเทรดเดอร์จากอังกฤษ เนเธอร์แลนด์หรือเยอรมัน ขณะนี้ได้มีการเจรจากับผู้บริหารโครนานเรียบร้อยแล้ว จะนำเข้าจากเรามากขึ้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะจัดไปเมืองไทยดูรายการสินค้าทั้งหมดในเมืองไทยที่กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดให้ นอกจากนั้นจะจัดจับคู่เจรจาธุรกิจในอนาคตด้วย โดยผู้นำเข้าของไอซ์แลนด์ไปพบกันผ่านระบบออนไลน์กับผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารจากเมืองไทยและอนุญาตให้จัด In-Store Promotion ที่ห้างโครนานด้วย
“จะเป็นโอกาสทองสำหรับการส่งออกสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าอาหารหลากหลายรูปแบบมายังห้างโครนาน 23 สาขาทั่วประเทศต่อไป หวังว่าจะนำเข้าอาหารไทยมากขึ้น สินค้าที่ขายดี เช่น ซอสปรุงรส น้ำกะทิและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เป็นต้น และที่สำคัญที่นี่เน้นอาหารออร์แกนิก เพราะคนที่นี่สนใจเรื่องสุขภาพ อาหารด้านสุขภาพทั้งหมดจะเป็นช่องทางตลาดสำคัญสำหรับเราที่ไอซ์แลนด์”รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว