WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aดัน FTAAP

จุรินทร์ นำรัฐมนตรีการค้าเอเปกปิดฉากประชุมงดงาม ทุกชาติเห็นพ้องดัน FTAAP ให้สำเร็จ

     จุรินทร์ นำรัฐมนตรีการค้าเอเปก ปิดฉากการประชุมอย่างงดงาม ทุกชาติเห็นพ้องเดินหน้าทำ FTA เอเปกให้สำเร็จ การเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจทั้งบุคคล สินค้า และบริการ และการสร้างสมดุลในด้านสิ่งแวดล้อม เผยทุกเขตเศรษฐกิจยังหนุน BCG Model ของไทยให้เป็นวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเปกในอนาคต 

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก (Ministers Responsible for Trade Meeting : MRT) ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.2565 ที่โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมด้วยนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ว่า ภาพรวมการประชุมเอเปกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตลอด 2 วันที่ผ่านมา ในฐานะประธานในที่ประชุม ตนได้แสดงความชื่นชมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปกจากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ

     รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก (ABAC) และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปกในการผลักดันและกำหนดทิศทางผ่านการแสดงวิสัยทัศน์และมุมมองที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน รวมทั้งการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามหัวข้อหลักของการประชุมเอเปกประจำปี 2022 ที่ประเทศไทยกำหนดขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสู่สมดุล'หรือ 'Open. Connect. Balance'

      โดยผลการประชุมเอเปกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะหัวข้อหลักที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าภาพกำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “Open. Connect. Balance” เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุผลเป็นรูปธรรม ทั้งจากความเห็นของที่ประชุมและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ในเรื่องของ Open คือ การเปิดกว้างและเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ผลรูปธรรมที่ทุกเขตเศรษฐกิจเห็นร่วมกัน คือ การที่เราจะนำเอเปกไปสู่การจัดทำ FTAAP (Free Trade Area of the Asia-Pacific) ให้เกิดขึ้นในอนาคต สำหรับเรื่อง Connect หรือการเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจทั้งในส่วนของบุคคลหรือสินค้าและบริการ ได้มีการตั้งคณะทำงานที่เรียกว่า APEC Safe Passage Task Force เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และส่วนคำว่า Balance หรือสร้างสมดุล มีความเห็นที่ตรงกันในทุกเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมให้มุ่งเน้นการสร้างสมดุลในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ ตั้งแต่คนตัวใหญ่จนกระทั่งถึงคนตัวเล็กในระดับ SMEs และ Micro-SMEs เแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง สตรีและอื่น ๆ

      ทั้งนี้ สัญญาณอีกข้อที่สะท้อนความสำเร็จของประเทศไทย คือ การที่ทุกเขตเศรษฐกิจ ได้ยอมรับและสนับสนุน BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ของไทย ให้เป็นวิสัยทัศน์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปกในอนาคต

    “การประชุมครั้งนี้ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของการประชุมเอเปกได้ เช่นเดียวกับบางครั้งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะแถลงการณ์ร่วมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจมีความเห็นตรงกันทั้งหมดที่เรียกว่าเป็นฉันทามติ ถ้ามีเขตเศรษฐกิจใด เขตเศรษฐกิจหนึ่งเห็นไม่สอดคล้อง ก็ไม่สามารถประกาศได้ โดยเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเนื่องจากมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในการให้มีแถลงการณ์ร่วม เพียงแต่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่เห็นไม่สอดคล้องกัน บางเขตเศรษฐกิจเห็นไม่ตรงกัน

     เป็นที่มาที่ทำให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ จะมีผลลัพธ์ในรูปถ้อยแถลง หรือแถลงการณ์ของประธานการประชุมเอเปก คือ ประเทศไทย ในรูป Chair Statement แทน ซึ่งได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่าง เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการยกร่างและจะประกาศเป็นทางการในรูปเอกสารต่อไป”นายจุรินทร์กล่าว

      อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ จะไม่ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วม แต่ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จ และประเทศไทยเคารพความเห็นของทุกเขตเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศไทยยังพร้อมทำงานร่วมกับเอเปกอย่างเข้มแข็งต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้ง FTAAP การสนับสนุนการค้าในรูปแบบพหุภาคีรวมทั้ง WTO และการจับมือเดินไปด้วยกันอยู่ร่วมกันกับโควิด-19 และอนาคตต่อไป

     นายจุรินทร์ กล่าวว่า การประชุมเอเปในช่วงเช้าวันนี้ มีหัวข้อสำคัญ คือ การหาข้อสรุปร่วมกันในการอยู่ร่วมกับโควิด-19 ร่วมกับอนาคต ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งในการประชุมเอเปกครั้งนี้ ได้ข้อสรุปจากความเห็นของรัฐมนตรีและผู้แทนเขตเศรษฐกิจการค้าทาง 21 เขต แบ่งเป็น 7 ประเด็นหลัก โดย 1.ได้มีข้อเสนอในเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลข้ามพรมแดน ควรมีการอำนวยความสะดวกเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการเดินทางที่ปลอดภัย และการใช้ระบบที่รองรับการเดินทางติดต่อระหว่างกันให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น

     2.การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับระบบโลจิสติกส์ ซึ่งหลายประเทศมีปัญหาในเรื่องการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบมาใช้เพื่อการผลิตและวัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้น ควรมีการอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ด้วยระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนและธุรกิจต้องการเป็นพิเศษ 3.หลายเขตเศรษฐกิจมีข้อเสนอการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแหล่งทุนห่วงโซ่อุปทานสำหรับทุกภาคส่วนการผลิตและภาคส่วนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสำหรับ SMEs และ Micro SMEs กลุ่มเปราะบาง สตรี ผู้ด้อยโอกาส แรงงานและผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

      4.หลายประเทศมีความเห็นว่าจุดยืนด้านมนุษยธรรมเพื่ออนาคต รวมทั้งสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงวัคซีนให้มากที่สุดรวมถึงดูแลและป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต 5.จะต้องจับมือกันในการมุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าและเปิดกว้างอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน มุ่งเน้นการสร้างกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการในเวทีสากลทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและหลังโควิด-19 โดยใช้เศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซหรือรูปแบบอื่นๆ ให้เป็นประโยชน์และเข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น

     6.การมุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ทุกเขตเศรษฐกิจสนับสนุนการนำ BCG Model มาใช้ รวมถึงการใช้ใน MSMEs ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ รวมทั้งการมุ่งเน้นในเรื่องสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานทางเลือก การใช้ไฮโดรเจน เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมการเปิดตลาดพลังงานสะอาดต่อไป และมีเขตเศรษฐกิจหนึ่งให้ความเห็นว่าการปรับปรุงสภาพอากาศ ไม่มีใครทำคนเดียวได้ แต่ต้องร่วมมือกันภายใต้เอเปกและภายใต้ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) และ WTO ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปล่อยคาร์บอน การลดการอุดหนุนพลังงานดั้งเดิมหรือรูปแบบอื่นใด และ 7.การสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานในกลุ่มประเทศเอเปก

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!