WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a8ดัชนี

ดัชนี ไตรมาส 1 ปี 65 ความเชื่อมั่น 5 จังหวัดใต้ลด คนกังวลค่าครองชีพ โควิด เกษตรตกต่ำ

       พาณิชย์ จับมือ ศอ.บต. สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ เผยไตรมาส 1 ปี 65 ความเชื่อมั่นอยู่ที่ 52.32 ลดจากไตรมาส 4 ปี 64 ที่ 53.49 เหตุคนกังวลปัญหาค่าครองชีพ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เผยด้านการทำอาชีพ ต้องการให้สอนทำอาหาร เบเกอรี่ ตัดเย็บเสื้อผ้า เตรียมนำผลเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือต่อไป                        

      นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ สนค. ได้ร่วมกันจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ เป็นรายไตรมาส เพื่อให้มีเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นและใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 32,739 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบว่า ไตรมาส 1 ปี 2565 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมอยู่ที่ 52.32 ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2564 ที่อยู่ที่ 53.49 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน อยู่ที่ 47.58 ลดจาก 49.82 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต อยู่ที่ 56.94 ลดจาก 57.46

        ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง มาจากความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลของประชาชนที่มีต่อปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นหลัก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงเพิ่มขึ้น ส่วนผลการสำรวจปัญหาที่ประชาชนมีความกังวลมากที่สุด ยังคงเป็นปัญหาเรื่องค่าครองชีพ หรือสินค้าและบริการมีราคาสูง รองลงมา ได้แก่ ปัญหารายได้ตกต่ำ ซึ่งประชาชนมีความกังวลเพิ่มขึ้น และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากภาครัฐด้านการลดภาระค่าครองชีพ และการมีงานทำและรายได้ รวมถึงการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร

       ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นรายจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า จังหวัดสตูลมีความเชื่อมั่นโดยรวมสูงสุด อยู่ที่ระดับ 57.03 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดสงขลา ระดับ 53.36 นราธิวาส ระดับ 51.37 ปัตตานี ระดับ 51.22 และยะลา ระดับ 50.94

       “ผลจากการสำรวจที่ได้ ทำให้เห็นว่า ประชาชนใน 5 จังหวัดภาคใต้มีความกังวลปัญหาอะไร และต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลืออะไร ซึ่ง สนค. จะได้นำผลการสำรวจเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ อย่างเรื่องการลดค่าครองชีพ กระทรวงพาณิชย์ก็มีมาตรการเข้าไปดูแลอยู่แล้ว การสร้างงาน สร้างรายได้ การดูแลราคาสินค้าเกษตร ก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะทำให้เข้มข้นและตรงจุดต่อไป”นายรณรงค์กล่าว

     นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า การสำรวจในครั้งนี้ ในด้านการเกษตร ประชาชนต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในการส่งเสริมการผลิต ด้านเครื่องมือ ปุ๋ย พันธุ์พืช การตลาด เทคโนโลยี แรงงาน และแหล่งน้ำ ส่วนความสนใจการอาชีพ ต้องการให้ช่วยแนะนำ ให้ความรู้การทำอาหาร เบเกอรี่ ตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องดื่ม เสริมสวย นวดแผนไทย เป็นต้น

       พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า จะใช้ผลการสำรวจเป็นเข็มทิศนำทางที่จะเดินต่อไปข้างหน้า ปัญหาอะไรที่ดีขึ้น อย่างเรื่องความมั่นคง ก็จะขยายผลให้ดีขึ้นต่อไป หรือปัญหาที่ยังเป็นที่กังวล ก็จะต้องเร่งแก้ไข ที่เห็นได้ชัด เช่น ค่าครองชีพ ราคาสินค้าแพง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ก็ต้องเร่งแก้ไข และต้องมุ่งพัฒนาในภาคต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ทั้งภาคการเกษตร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมครัวเรือน ที่จะต้องเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุน

      “ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ก็มีการผลักดันในเรื่องเกษตร มีการพัฒนาเมืองผลไม้ ส่งเสริมพืชพลังงาน ประมง และปศุสัตว์ มีแผนผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว อย่างเบตง ก็ทำสำเร็จ ตอนนี้การท่องเที่ยวดีขึ้น กำลังพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในสุไหงโกลก และสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ส่วนการพัฒนาการค้า ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมการค้า การค้าออนไลน์ มีโครงการที่ทำร่วมกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว ก็คือ ปั้น Gen Z เป็น CEO ฮาลาล ตั้งเป้าไว้ 1,000 คน และกำลังเตรียมพร้อมเรื่องผลักดันแรงงานไทยไปซาอุดิอาระเบีย ซึ่งถ้าช่วยกันระดมทุกภาคส่วน มั่นใจว่า ภาวะการว่างงานจะลดลง และประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น”พลเรือตรีสมเกียรติกล่าว

 

ดัชนี ความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 4 ปี 2564 และไตรมาส 1 ปี 2565

        พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ศอ.บต. และสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้ร่วมกันจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ เป็นรายไตรมาส เพื่อให้มีเครื่องชี้วัดความเชื่อมั่นในเชิงพื้นที่ และใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยในไตรมาส 4 ปี 2564 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

      และ ศอ.บต. ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 33,384 คน และไตรมาส 1 ปี 2565 จำนวน 32,739 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังคงมีความเชื่อมั่นโดยรวม แม้ว่าในไตรมาส 1 ปี 2565 จะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.32 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 53.49 เป็นผลมาจากการปรับลดลงของความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงปรับเพิ่มขึ้น สำหรับสาเหตุของการปรับลดลงของความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมมาจากความกังวลของประชาชนที่มีต่อปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นเป็นหลัก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ

       เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน ของไตรมาส 1 ปี 2565 พบว่า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.58 จากไตรมาส 4 ปี 2564 ที่ระดับ 49.82 สำหรับความเชื่อมั่นในอนาคตยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นถึงแม้ว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.94 จากไตรมาส 4 ปี 2564 ที่ระดับ 57.46

       ดัชนี ความเชื่อมั่นเมื่อจำแนกรายจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไตรมาส 1 ปี 2565 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2564 โดยจังหวัดสตูลมีความเชื่อมั่นโดยรวมสูงสุด อยู่ที่ระดับ 57.03 สำหรับจังหวัดที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นโดยรวมรองลงมา ได้แก่ จังหวัดสงขลา (ระดับ 53.36) นราธิวาส (ระดับ 51.37) ปัตตานี (ระดับ 51.22) และยะลา (ระดับ 50.94)

      สำหรับ ผลการสำรวจปัญหาที่ประชาชนมีความกังวลมากที่สุดยังคงเป็นปัญหาเรื่องค่าครองชีพหรือสินค้าและบริการมีราคาสูง รองลงมา ได้แก่ ปัญหารายได้ตกต่ำ ซึ่งประชาชนมีความกังวลเพิ่มขึ้น และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากภาครัฐด้านการลดภาระค่าครองชีพ และการมีงานทำและรายได้ รวมถึงการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร

      พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวด้วยว่า ศอบต. จึงมุ่งเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพมุ่งเน้นการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญเร่งด่วนกับครัวเรือนยากจนในพื้นที่ 4 จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จากฐานข้อมูล TPMAP ปี 2565) 53,519 ครัวเรือน โดยจัดทำโครงการนำร่อง 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจน จำนวน 379 ครัวเรือน เพื่อค้นหากลไกการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

          การแก้ปัญหาการว่างงานของเยาวชนที่จบการศึกษาใหม่และผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 การแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบทางเศรษฐกิจให้ครบวงจรตั้งแต่การผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและกลไกตลาด การแปรรูปโดยเน้นสินค้าฮาลาล การเสริมเสร้างการค้าออนไลน์ หรือ E-Commerce ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากกระทรวงพาณิชย์ในหลายโครงการ เช่น ภายใต้โครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (From Gen Z to be CEO) หรือ CEO HALAL ที่มีเป้าหมาย 1,000 คน ในปี 2565 การพัฒนาเชิงพื้นที่ตามโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  โดยเฉพาะเมืองต้นแบบท่องเที่ยวเบตง ซึ่งทีการสร้างสนามบินนานาชาติ เปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 การจัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น Amazean Jungle Trail Betong ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม

        ที่ผ่านมาซึ่งการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทุกด้านมุ่งเป้าหมายให้สอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ให้มากที่สุด การจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการขับเคลื่อน และการแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้

     นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า นอกจากดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้แล้ว สนค. ยังมีการจัดทำดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนใต้อีก เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภคระดับภาค และระดับจังหวัด ซึ่ง สนค. พร้อมร่วมมือกับ ศอ.บต. จัดทำเครื่องชี้วัดเพิ่มเติม เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

 โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!