WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1aอรมน ทรัพย์ทวีธรรม1

กรมเจรจาฯ’ ผนึกกำลังกูรู เร่งติดอาวุธผู้ประกอบการรับกระแส ‘อาหารแห่งอนาคต’

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนาเตรียมพร้อมผู้ประกอบการ รับกระแสนิยมอาหารแห่งอนาคต future food นำทัพกูรูภาครัฐและเอกชน แนะสร้างจุดเด่นผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ เน้นใช้วัตถุดิบพื้นบ้านสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า หนุนใช้ FTA สร้างแต้มต่อทางการค้า ขยายส่งออกตลาดโลก

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมฯ ได้จัดสัมมนา เรื่อง ‘อาหารแห่งอนาคตตอบโจทย์คนรุ่นใหม่’ เพื่อให้ความรู้และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยรับกระแสความนิยมอาหารแห่งอนาคต หรือ “future food” ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ และเป็นสินค้าที่ถูกออกแบบเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้วัตถุดิบ และมาตรฐานความปลอดภัย

     นางอรมน กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ กรมฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและตลาดโลก รวมทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบพื้นบ้าน ทั้งนี้ สินค้าอาหารแห่งอนาคต จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของเกษตรกรและอุตสาหกรรมอาหารของไทย โดยผู้ประกอบการควรปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป

      นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยมีกับ 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี เปรู และฮ่องกง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายส่งออกและสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันในตลาดโลก โดยสามารถส่งออกสินค้าอาหารแห่งอนาคต อาทิ สินค้าแมลงที่บริโภคได้ ซึ่ง 18 ประเทศคู่ FTA ของไทย ไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทยแล้ว และโปรตีนจากพืช ซึ่ง 16 ประเทศคู่ FTA ของไทย ไม่เก็บภาษีนำเข้าแล้ว เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยังคงเก็บภาษีนำเข้าในบางรายการ

      ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทย ให้ข้อมูลว่า อาหารแห่งอนาคตแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ อาหารฟังก์ชันที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ อาหารใหม่ อาทิ โปรตีนทางเลือกจากโปรตีนจากพืชและแมลง อาหารทางการแพทย์ และอาหารออร์แกนิก ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารไทยควรพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก

     ในส่วนของนางสาวพิจิกา โรจน์ศตพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนเซพท เคส จำกัด ให้ข้อมูลว่า ผู้ผลิตอาหารไทยควรให้ความสำคัญกับกระแสของการบริโภคในปัจจุบันที่สนับสนุนสินค้าเพื่อความยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และวัตถุดิบต้องไม่เหลือทิ้ง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2565 มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและตามกระแส จึงทำให้วัตถุดิบอาหารพื้นบ้านไทย อาทิ ขนุน กระเจี๊ยบแดง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเมนูที่มีเอกลักษณ์ได้

      สำหรับ นายสมชนะ กังวารจิตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Prompt Design ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับเรื่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคมองเห็น ดังนั้น ควรเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ ทั้งรูปทรง วัสดุ สีและภาพ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ของอาหารแห่งอนาคต ควรมีความแตกต่างจากสินค้าอาหารเดิม รวมทั้งควรลดการใช้พลาสติกหรือกระดาษ สามารถออกแบบให้นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ มีการเลือกใช้วัสดุชนิดเดียวเพื่อง่ายต่อการรีไซเคิล และใช้วัสดุทดแทนพลาสติก อาทิ bioplasticslbiodegradable หรือวัสดุธรรมชาติ

     ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ FTAlและlRCEPlได้ที่เว็บไซต์ http://ftacenter.dtn.go.th หรือ FTAlCenterlชั้น 3 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ Call Center 0 2507 7555 อีเมล์ [email protected]

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100

วิริยะ 720x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!