WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ATPS5

น้ำมัน-ค่าไฟ-อาหารแพง ดันเงินเฟ้อมี.ค.พุ่ง 5.73% สูงสุด 13 ปี ปรับเป้าทั้งปีใหม่ 4-5%

      พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อมี.ค.65 เพิ่มขึ้น 5.73% สูงสุดในรอบ 13 ปีอีกครั้ง หลังทำสถิติไปแล้วเมื่อก.พ.ที่ผ่านมา เหตุได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ค่าไฟ และอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดแนวโน้มเม.ย.มีความเป็นไปได้ที่สูงต่อ หลังผลกระทบจากสงคราม การแซงชัน ก๊าซหุงต้ม น้ำมันขึ้น ยังเป็นปัจจัยกดดัน พร้อมปรับเป้าเงินเฟ้อทั้งปี 65 ใหม่เป็น 4-5%  

       นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมี.ค.2565 เท่ากับ 104.79 เทียบกับก.พ.2565 เพิ่มขึ้น 0.66% เทียบกับเดือนมี.ค.2564 เพิ่มขึ้น 5.73% สูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 หลังจากทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปีมาแล้วเมื่อเดือนก.พ.2565 ที่ผ่านมา ที่สูงขึ้น 5.28% ส่วนเงินเฟ้อรวม 3 เดือนปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น 4.75% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนี อยู่ที่ 102.43 เพิ่มขึ้น 0.23% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.2565 และเพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2564 และรวม 3 เดือนเพิ่มขึ้น 1.43%

QIC 720x100

       สำหรับ สาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนมี.ค.2565 สูงขึ้น มาจากสินค้าในกลุ่มพลังงานสูงขึ้น 32.43% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 31.43% และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 39.95% รวมถึงสินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ ผักสด เพิ่ม 9.96% เนื้อสัตว์ (สุกร ไก่สด) เพิ่ม 5.74% ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่ม 6.08% เครื่องประกอบอาหาร เพิ่ม 8.16% อาหารบริโภคในบ้าน เช่น กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว เพิ่ม 6.28% และอาหารบริโภคนอกบ้าน เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง เพิ่ม 6.15% โดยปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ และยังมีสาเหตุจากฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ มีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น

      อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการที่ราคาปรับลดลง เช่น ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลด 4.15% ผลไม้สดบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง กล้วยหอม ลด 3.27% การบันเทิง การอ่านและการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ลด 0.89% และเครื่องนุ่งห่ม เช่น กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ ลด 0.18%

sme 720x100

       ทั้งนี้ ในเดือนมี.ค.2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 280 รายการ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) กับข้าวสำเร็จรูป เนื้อสุกร ไข่ไก่ อาหารเช้า น้ำมันพืช น้ำประปา เป็นต้น สินค้าไม่เปลี่ยนแปลง 59 รายการ เช่น ค่าใบอนุญาตขับขี่ ค่าเบี้ยประกันทรัพย์สิน ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเบี้ยประกันภัยรถ ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และราคาลดลง 91 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ส้มเขียวหวาน ขิง ค่าธรรมเนียมการศึกษา ถั่วฝักยาว ค่าเช่าบ้าน กล้วยหอม และผลิตภัณฑ์ซักผ้า (น้ำยาซักแห้ง)

      นายรณรงค์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในเดือนเม.ย.2565 ถ้าดูจากตัวเลขในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยม.ค.เพิ่มขึ้น 3.23% ก.พ.เพิ่ม 5.28% และมี.ค.เพิ่ม 5.73% มีความเป็นไปได้ที่จะสูงขึ้น เพราะผลกระทบจากสถานการณ์สงครามเริ่มรุนแรงขึ้น และยังมีสงครามคู่ขนาน ที่หลายประเทศคว่ำบาตร รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของก๊าซหุงต้ม ที่ต้องจับตาดูว่าจะส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และยังมีความผันผวนจากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก และต้นทุนสินค้าหลายรายการที่สูงขึ้น

TU720x100

       โดยจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรก สนค.ได้ปรับประมาณการเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี 2565 ใหม่ ปรับจากเดิม 0.7-2.4% ซึ่งเป็นการตั้งเป้าเมื่อเดือนพ.ย.2564 ที่ยังไม่มีภาวะสงคราม แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยน ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยน จึงปรับประมาณการเป็น 4-5% มีสมมติฐานจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3.4-4.5% น้ำมันดิบดูไบ 90-110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 32-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าในระยะต่อไป สถานการณ์เปลี่ยนไปและดีขึ้น ก็จะมีการปรับคาดการณ์อีกครั้ง

        สำหรับ ความกังวลที่จะเกิดสถานการณ์ Stagflation ที่เศรษฐกิจตกต่ำและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นนั้น ต้องดูภาวะเศรษฐกิจในประเทศประกอบด้วย เพราะหากเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี จากการเปิดประเทศ การมีนักท่องเที่ยวเข้ามา และการส่งออกยังเติบโต รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น มาจากต้นทุนที่สูงขึ้น กำลังซื้อยังเป็นปกติ ถือว่าไม่น่าห่วง แต่ถ้าเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อสูง กำลังซื้อไม่มี เป็นอีกเรื่องที่จะต้องติดตาม

BANPU 720x100

สรุปดัชนี เศรษฐกิจการค้า เดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2565

      นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 104.79 (ปี 2562 = 100) สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากสินค้าและบริการในประเทศปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน ทั้งราคาพลังงาน วัตถุดิบที่นำเข้า และค่าขนส่ง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก

 โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบที่รุนแรงเพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจมีความเปราะบาง สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารสดปรับสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วไม่มาก ขณะที่ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาดัชนี ราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เทียบกับเดือนที่ผ่านมา สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยสินค้าบางรายการราคาปรับลดลง

GC 720x100

          ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) ยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่สูงขึ้นร้อยละ 32.43 (YoY) โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 31.43 และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 39.95 ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ (สุกร ไก่สด) ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร และอาหารปรุงสำเร็จ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการ อาทิ ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

          ดัชนี ราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือนก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 1.06) จากการสูงขึ้นของราคาเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ ข้าวสาร และนมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงของใช้ส่วนบุคคล ราคาปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.91 (QoQ)

วิริยะ 720x100

           สำหรับ ดัชนี ราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 11.4 (YoY) ตามต้นทุนการผลิตและราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง (เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี) รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตรสำคัญ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 8.6 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้าตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง (น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน อลูมิเนียม)

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือที่ภาครัฐทยอยออกมาเพิ่มเติม และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป

aia 720 x100

         กระทรวงพาณิชย์มีการปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 4.0 - 5.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.5) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม 2564 ระหว่างร้อยละ 0.7 – 2.4 (ค่ากลางที่ร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ทั้งนี้ มาตรการของภาครัฐ ทั้งการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การพยุงราคาพลังงาน และการอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อของไทย

โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!