- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 24 March 2022 15:36
- Hits: 6659
พาณิชย์ เผย 'ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย' น่าสนใจ รายได้ธุรกิจเฉลี่ยรวม 3 ปี กว่า 30,000 ล้านบาท ผันตามยอดจัดตั้งธุรกิจใหม่ และจำนวนคดีความที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล
พาณิชย์ เผย ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย น่าสนใจ รายได้ธุรกิจเฉลี่ยรวม 3 ปี กว่า 30,000 ล้านบาท ปัจจัยสนับสนุนมาจากยอดการจัดตั้งธุรกิจใหม่ และจำนวนคดีความที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นศาล ขณะที่ธุรกิจเร่งเพิ่มช่องทางขยายฐานลูกค้า ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย สร้างโอกาสการเติบโตไปพร้อมเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนา คู่แข่งในตลาดยังมีไม่มาก พร้อมเปิดรับนักลงทุนหน้าใหม่เข้าสู่ธุรกิจ อีกทั้ง เป็นธุรกิจที่อาศัยความสามารถเฉพาะตัวสูง หากลูกค้าพึงพอใจในผลงาน...โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงขึ้นตามไปด้วย
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและลบแก่ภาคธุรกิจทั่วโลก ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจด้านการป้องกัน รักษา หรือบรรเทาโรค ต่างแสดงผลประกอบการที่เป็นบวก เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ธุรกิจรักษาความสะอาด ฯลฯ อย่างไรก็ตาม มีธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบบ้างแต่ยังคงมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง คือ ‘ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย’
โดยทีมวิเคราะห์ธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ทำการวิเคราะห์ธุรกิจที่น่าสนใจและน่าจับตามอง พบว่า ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ แม้ว่าการจัดตั้งธุรกิจใหม่จะลดลงบ้างช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่มีจำนวนที่ลดลงไม่มาก โดย ปี 2562 จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ 482 ราย ทุนจดทะเบียน 618.48 ล้านบาท *ปี 2563 จัดตั้ง 475 ราย ทุน 590.68 ล้านบาท (จัดตั้งลดลงจากปี 2562 จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.45) และ *ปี 2564 จัดตั้ง 435 ราย (ทุน 572.91 ล้านบาท) (จัดตั้งลดลงจากปี 2563 จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.42)”
“สำหรับรายได้ธุรกิจเฉลี่ยรวม 3 ปี (2561 - 2563) มีกว่า 3 หมื่นล้านบาท และยังคงสามารถสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง *ปี 2561 รายได้ธุรกิจรวม 30,300.08 ล้านบาท : กำไร 3,681.01 ล้านบาท *ปี 2562 รายได้ 31,757.03 ล้านบาท : กำไร 2,950.06 ล้านบาท และ *ปี 2563 รายได้ 29,830.46 ล้านบาท : กำไร 2,636.04 ล้านบาท ขณะที่นักธุรกิจชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ ได้แก่ อันดับ 1 อังกฤษ เงินลงทุน 118.96 ล้านบาท อันดับ 2 ญี่ปุ่น เงินลงทุน 106.23 ล้านบาท อันดับ 3 สิงคโปร์ เงินลงทุน 71.40 ล้านบาท และ อื่นๆ 337.02 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการชาวไทยยังคงลงทุนในธุรกิจสูงสุดด้วยเงินลงทุนรวม 12,174.78 ล้านบาท (ร้อยละ 95.05)”
รมช.พณ. กล่าวเพิ่มเติมว่า “ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมายมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยช่วง 2 เดือนแรกของปี 2565 มีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (ม.ค. -ก.พ. 64) ประกอบกับกฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงผู้ที่มีความขัดแย้งหรือมีธุรกิจเป็นของตนเอง อีกทั้ง ประเทศไทยมีกฎหมายอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติ 907 ฉบับ พระราชกำหนด 36 ฉบับ ประมวลกฎหมาย 8 ฉบับ พระราชกฤษฎีกา 7,165 ฉบับ และกฎกระทรวง 7,088 ฉบับ ซึ่งการประกอบธุรกิจทุกประเภท กฎหมายมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การเริ่มจัดตั้งธุรกิจไปจนถึงเลิกกิจการ
ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีความรู้ และเข้าใจในตัวบทกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคล การชำระภาษี รวมถึง กฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่เอสเอ็มอีควรรู้ เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายสิทธิบัตร เป็นต้น ทำให้ธุรกิจกิจกรรมทางด้านกฎหมายเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ”
“นอกจากนี้ จากตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลพบว่า มีจำนวน 60,000 - 70,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยกว่า 6,000 รายต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสความต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายที่จะเติบโตตามการจัดตั้งธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น และจำเป็นต้องใช้บริการรับคำปรึกษาเพื่อดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การลงทุน การควบรวมกิจการ การระงับข้อพิพาท และธุรกิจยังสามารถใช้สำนักงานกฎหมายหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายเป็นตัวช่วยในการประกอบธุรกิจ เช่น ช่วยให้ธุรกิจไม่เสียเปรียบคู่กรณี ช่วยลดความซับซ้อนและทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในการดำเนินตามกระบวนการต่างๆ อย่างถูกต้อง
สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่สร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจของธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ทำให้ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมายมีการปรับตัว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขยายกลุ่มลูกค้า เช่น การให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ การพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนา”
“ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) ‘ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย’ ดำเนินธุรกิจอยู่จำนวนทั้งสิ้น 5,478 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.67 ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ และมีมูลค่าทุนรวม 12,808.39 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ เช่น ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นธุรกิจขนาดเล็กดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
ด้วยจำนวนธุรกิจดังกล่าวทำให้คู่แข่งในตลาดมีจำนวนไม่มาก โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค จึงพร้อมเปิดรับนักลงทุนหน้าใหม่เข้าสู่ธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย เป็นธุรกิจที่อาศัยความสามารถเฉพาะตัวสูง หากลูกค้ามีความพึงพอใจในผลงาน และเกิดการบอกต่อ จะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นตามไปด้วย” รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ส่วนประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2547 4376 สายด่วน 1570 และ www.dbd.go.th
ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมายรุ่ง หลังบริษัทตั้งใหม่ปีละ 6-7 หมื่นรายต้องใช้บริการ
พาณิชย์”เผย'ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย' มีแนวโน้มเติบโตสูง หลังธุรกิจตั้งใหม่ปีละ 6-7 หมื่นราย ต้องใช้บริการปรึกษาข้อกฎหมายในการดำเนินธุรกิจ และการปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ชี้ตลาดธุรกิจนี้ยังเปิดกว้าง แต่ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถเฉพาะตัวสูง และยุคนี้ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งให้คำปรึกษาออนไลน์ ผ่านแอปฯ คาดธุรกิจรุ่งแน่
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย ในช่วง 2 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 109 ราย เพิ่มขึ้น 7.92% โดยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในแต่ละปี ที่มีจำนวน 60,000-70,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยกว่า 6,000 รายต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสความต้องการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายที่จะเติบโตตามการจัดตั้งธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น
และจำเป็นต้องใช้บริการรับคำปรึกษาเพื่อดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การลงทุน การควบรวมกิจการ การระงับข้อพิพาท และธุรกิจยังสามารถใช้สำนักงานกฎหมายหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายเป็นตัวช่วยในการประกอบธุรกิจ เช่น ช่วยให้ธุรกิจไม่เสียเปรียบคู่กรณี ช่วยลดความซับซ้อนและทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในการดำเนินตามกระบวนการต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ ความต้องการใช้บริการธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย ยังได้แรงหนุนจากการที่ธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติ 907 ฉบับ พระราชกำหนด 36 ฉบับ ประมวลกฎหมาย 8 ฉบับ พระราชกฤษฎีกา 7,165 ฉบับ และกฎกระทรวง 7,088 ฉบับ ซึ่งการประกอบธุรกิจทุกประเภท กฎหมายมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การเริ่มจัดตั้งธุรกิจไปจนถึงเลิกกิจการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีความรู้และเข้าใจในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งนิติบุคคล การชำระภาษี
รวมถึง กฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่เอสเอ็มอีควรรู้ เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายสิทธิบัตร เป็นต้น ทำให้ธุรกิจกิจกรรมทางด้านกฎหมายเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
“จากความต้องการดังกล่าว ทำให้ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ธุรกิจนี้ ต้องมีความสามารถเฉพาะตัวสูง หากลูกค้ามีความพึงพอใจในผลงาน และเกิดการบอกต่อ จะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนา ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมายจะต้องมีการปรับตัว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขยายกลุ่มลูกค้า เช่น การให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนา”นายสินิตย์กล่าว
สำหรับ การจดตั้งธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมาย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีดังนี้ ปี 2562 ตั้งใหม่ 482 ราย ทุนจดทะเบียน 618.48 ล้านบาท ปี 2563 จัดตั้ง 475 ราย ลดลง 1.45% ทุน 590.68 ล้านบาท และปี 2564 จัดตั้ง 435 ราย ลดลง 8.42% ทุน 572.91 ล้านบาท และมีผลกำไรต่อเนื่อง โดยปี 2561 รายได้ธุรกิจรวม 30,300.08 ล้านบาท กำไร 3,681.01 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 31,757.03 ล้านบาท กำไร 2,950.06 ล้านบาท และปี 2563 รายได้ 29,830.46 ล้านบาท กำไร 2,636.04 ล้านบาท
โดยนักธุรกิจชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ ได้แก่ อันดับ 1 อังกฤษ เงินลงทุน 118.96 ล้านบาท อันดับ 2 ญี่ปุ่น เงินลงทุน 106.23 ล้านบาท อันดับ 3 สิงคโปร์ เงินลงทุน 71.40 ล้านบาท และอื่น ๆ 337.02 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการไทย ลงทุนในธุรกิจสูงสุดด้วยเงินลงทุนรวม 12,174.78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 95.05% ของการลงทุนทั้งหมด
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ.2565) ธุรกิจกิจกรรมทางกฎหมายดำเนินธุรกิจอยู่จำนวนทั้งสิ้น 5,478 ราย คิดเป็น 0.67% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ และมีมูลค่าทุนรวม 12,808.39 ล้านบาท คิดเป็น 0.06% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ เช่น ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นธุรกิจขนาดเล็กดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท