WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1 AEV

สนค.ชี้นโยบายรถ EV ช่วยปั๊มเศรษฐกิจ เหตุเพิ่มส่งออก หนุนสร้างงาน สร้างรายได้

     สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยนโยบายรัฐบาลส่งเสริมการใช้รถ EV จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หลังมีแผนดันไทยเป็นฐานการผลิต และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้า คาดช่วยเพิ่มโอกาสส่งออก สร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

      นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งการขยายฐานการผลิตในประเทศ โดยเมื่อวันที่ 15 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแพ็กเกจมาตรการสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือแพ็กเกจรถ EV ครอบคลุมรถ 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถกระบะ มีมาตรการยกเว้น ลดอากรขาเข้า ลดภาษีสรรพสามิต และให้เงินอุดหนุน ตั้งแต่ปี 2565-2568 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถ EV มากขึ้น รวมทั้งมีเป้าหมายให้ไทยสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าได้เอง และสามารถแข่งขันได้ ตลอดจนรักษาการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก

QIC 720x100

     ทั้งนี้ นอกจากมาตรการสนับสนุนการใช้รถ EV แล้ว ยังมีมาตรการจูงใจและสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น การลดอากรชิ้นส่วนนำเข้าเพื่อการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ในช่วง ปี 2565–2568 ทั้งแบตเตอรี่ Traction Motor คอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) On-Board Charger PCU inverter DC/DC Converter และ Reduction Gear

      ขณะเดียวกัน ได้กำหนดเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน รถจักรยานยนต์ 675,000 คัน รถบัสและรถบรรทุก 34,000 คัน ภายในปี 2573 ทั้งนี้ ในปี 2564 ยอดการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 100% มีจำนวน 3,994 คัน

sme 720x100

     “จากนโยบายรัฐบาลที่มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนรถ EV ไม่เพียงแต่จะช่วยสนับสนุนการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV ในไทย ยังจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทย ทั้งลงทุนผลิตรถยนต์ ผลิตแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าของไทยในอนาคต และยังจะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากการสร้างงาน สร้างรายได้จากการส่งออกที่จะมีเพิ่มขึ้น”นายรณรงค์กล่าว

    ปัจจุบันการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560-2564 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 39.49% และในปี 2564 มีมูลค่าการส่งออก 89,561 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.40% โดยประเทศ 5 อันดับแรกที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ เบลเยี่ยม สัดส่วน 13.38% สหราชอาณาจักร สัดส่วน 12.73% เยอรมนี สัดส่วน 9.55% สหรัฐฯ สัดส่วน 9.49% และนอร์เวย์ สัดส่วน 8.78% ส่วนไทย มีสัดส่วน 0.32% ส่งออกอันดับที่ 31 ของโลก และอันดับที่ 5 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 288 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 271.27% และในปี 2560-2564 การส่งออกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 218.64%

     ทั้งนี้ การส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย ปี 2564 มีมูลค่า 38,290 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือ 1,203,265 ล้านบาท มีสัดส่วน 7.44% ของ GDP ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นเครื่องยนต์สันดาป

 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100

BANPU 720x100

ais 720x100

วิริยะ 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!