WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a1Sยุคดิจิทัล

กรมพัฒน์ฯ แนะผู้ประกอบการปรับแนวทางการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล เข้าใจเทรนด์โลก ดันธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

      กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แนะผู้ประกอบการปรับแนวทางการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล ศึกษาแนวโน้มการประกอบธุรกิจตามเทรนด์โลก จัดอบรม 2 หลักสูตร ‘นักธุรกิจมืออาชีพ (DBD-SPE) และนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (DBD-ACM)’ ภายใต้แนวคิด ‘Take Your Business a Step Up’ ติวเข้มผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมืออาชีพ พร้อมติดอาวุธทางตลาดขับเคลื่อนธุรกิจให้รอดและเติบโตได้ทุกสภาวะ

       นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการ ไม่ได้แข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องแข่งกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่กดดันให้ธุรกิจ ต้องปรับมุมมอง และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ธุรกิจที่เรียนรู้เร็ว และปรับตัวได้ไว จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในสายธุรกิจได้ไม่ยาก

      เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบธุรกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ DBD-SPE รุ่นที่ 11 และ DBD-ACM รุ่นที่ 9 เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการธุรกิจในทุกมิติ รวมถึงยกระดับความสามารถด้านการตลาดดิจิทัล พร้อมผลักดันให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี นวัตกรรม มาสร้างโอกาสทางการค้า ควบคู่กับการส่งเสริมการตลาดเชิงรุกภายใต้เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับการบ่มเพาะเชิงลึก 5 ด้าน ได้แก่ การตลาด การเงิน การบริหารองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ในลักษณะเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนธุรกิจโดยใช้แผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Plan) ที่สามารถแข่งขันได้ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาร่วมถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษารายกลุ่ม (Group Coaching) และจัดให้มีที่ปรึกษาลงให้คำปรึกษาเป็นรายธุรกิจ (One-on-One Coaching) ระยะเวลากว่า 70 ชั่วโมง ทั้ง 2 กิจกรรม ประกอบด้วย

      1) กิจกรรมนักธุรกิจมืออาชีพ (Smart Professional Entrepreneurs : DBD-SPE) หัวข้อ อาทิ SMEs to Startup (SMEs Think Like Startup) โดย คุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด, Digital Business and Digital Disruption โดย คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด, Service and Customer Centric toward Digital Business โดย ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลีเกิล ไดรฟ์ จำกัด, Digital Business Planning โดย คุณสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิปป๊อป จำกัด, SMEs Survival โดย คุณธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ผู้ก่อตั้ง Penguin Eat Shabu, Metaverse Marketing โดย ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ที่ปรึกษาสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี

       2) นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (DBD-ACM) หัวข้อ อาทิ Inbound Marketing and E-Commerce Strategies โดย คุณธนกฤต กิติรัชพล CEO & Founder บริษัท ไซเฟอร์ จำกัด, Photo Shooting for PR and Marketing โดย อาจารย์อาคม จงไพศาล คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, Content Creator โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤดล จิตสกูล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, Brand Building โดย คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจแบรนด์ไทย บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Digital Marketing Planning คุณจิตชญา ตู้จินดา Former, Chief Marketing Officer, Pizza Hut, and Digital Marketing Coach

     เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น การปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ของกลุ่มลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญต่อพฤติกรรม และกิจกรรมของผู้บริโภค ตลอดจนเลือกลงทุนกับเทคโนโลยีที่เป็น ‘สมองกล’ เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบปัจเจกบุคคลได้อย่างสูงสุด อธิบดีกล่าวสรุป

       ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมหลักสูตร DBD-SPE จำนวน 577 ราย และหลักสูตร DBD-ACM จำนวน 239 ราย โดยสามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจและมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 400 ล้านบาทต่อปี

        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนพัฒนาเครือข่ายธุรกิจบริการ กองธุรกิจบริการ โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 5985 สายด่วน 1570 หรือ www.dbd.go.th

 

กรมพัฒน์ หนุนสร้างมาตรฐานคุณภาพผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพ ขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดในทุกสภาวะ

     กรมพัฒน์ฯ จัดกิจกรรมยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ หนุนผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างมาตรฐานธุรกิจที่ดีและมีศักยภาพ พร้อมผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีการปรับตัวให้สอดคล้อง และตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

     นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดกว่า 3 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.9 ของ GDP ทั้งประเทศ มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี ในแต่ละปีมีธุรกิจรายใหม่ๆ ที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 20,000 ราย ซึ่งนับเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตมากขึ้น ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของธุรกิจ

     กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ มากว่า 10 ปี และมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน รวม 477 ราย โดยกรมฯ ได้มีการพัฒนาและทบทวนเกณฑ์มาตรฐานฯ ทุกๆ 2 ปี เพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการและกระบวนการตรวจประเมินมีมาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานสากล

     ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ในปีนี้ กรมฯ มุ่งเน้นการผลักดันให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีการปรับตัวและฟื้นตัวหลังวิกฤตการณ์ต่างๆ รวมทั้งวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SME และธุรกิจแฟรนไชส์ จึงเป็น ‘โจทย์สำคัญ’ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องเรียนรู้ และประยุกต์วิธีการในการทำธุรกิจให้สอดคล้องและตอบโจทย์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากธุรกิจแฟรนไชส์มีการบริหารจัดการที่ดี จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      เพื่อยกระดับธุรกิจของคนไทยโดยใช้แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์ ขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการลงทุน กรมฯ จึงจัดกิจกรรมยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเชิญกูรูในแวดวงแฟรนไชส์ อาทิ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอไอเอสซีบี จำกัด, คุณชัยรัตน์ ภัทรพิทักษ์ GM-Franchise TPC & CJ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), คุณวลัยลักษณ์ วณิชชาภิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาตันหยง จำกัดแบรนด์ : ชาตันหยง และคุณสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด แบรนด์ : ชิปป๊อบ มาร่วมเสวนาถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันประสบการณ์

      นอกจากนี้ ยังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพธุรกิจแฟรนไชส์ มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ และแนวทางการประเมินผลให้ผู้ประกอบธุรกิจกว่า 200 ราย ที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ก่อนเข้ารับการประเมินทั้ง 7 ด้าน คือ การนำองค์กร (leadership), กลยุทธ์ (Strategy), ลูกค้าและแฟรนไชส์ซี (Customer), การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis and Knowledge Management), บุคลากร (Workforce), การปฏิบัติงาน (Operations) และผลลัพธ์ (Result) ทั้งนี้ ในปี 2565 กรมฯ คาดว่าจะมีธุรกิจที่ผ่านเข้าตรวจประเมินจำนวนไม่น้อยกว่า 35 ราย

      อธิบดี กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์โมเดล) เนื่องจากเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นโมเดลการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถพัฒนาพร้อมขยายกิจการของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ลดข้อจำกัดด้านเงินทุน ทำให้เกิดผู้ประกอบธุรกิจหน้าใหม่สามารถบริหารจัดการธุรกิจของตนเองได้อย่างง่ายดาย

      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1570, โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 5953, e-Mail : [email protected]

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

วิริยะ 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!