WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์

RCEP ผู้ส่งออกใช้สิทธิ์รับรองถิ่นกำเนิดด้วยตนเองปี 64 มูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญ โต 38%

     กรมการค้าต่างประเทศเผยการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออกในปี 64 มีมูลค่า 1,901.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.19% เป็นการส่งออกไปอาเซียนมากสุด ตามด้วยการส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ส่วน RCEP ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ ผู้ส่งออกสามารถสมัครใช้ได้ ล่าสุดมีผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนแล้ว 783 ราย

     นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการส่งออกเพื่อขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ผู้ส่งออกจำเป็นต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อรับรองว่าสินค้านั้นมีสัญชาติไทย โดยปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถเลือกรูปแบบการรับรองสัญชาติสินค้าได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้กรมการค้าต่างประเทศรับรอง และการรับรองตัวเอง (Self-Certification) ซึ่งรูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 ยอดส่งออกผ่านการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,901.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.19%

QIC 720x100

     โดยการส่งออกด้วยการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง เป็นการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Wide Self-Certification หรือ ระบบ AWSC) มูลค่า 1,592.41 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ภายใต้การใช้สิทธิ GSP (Registered Exporter หรือระบบ REX) มูลค่า 308.66 ล้านเหรียญสหรัฐ

      สำหรับ การส่งออกไปอาเซียนภายใต้ระบบ AWSC พบว่า มาเลเซีย เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญและมีศักยภาพ มีมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 933.01 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 58.59% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดภายใต้ระบบ AWSC และเวียดนาม ก็เป็นตลาดที่น่าจับตามอง มีการขยายตัวสูงถึง 143.73% โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปั่นแห้ง ตู้เย็น ตู้แช่ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

      ส่วนการส่งออกภายใต้ระบบ REX ตลาดหลัก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วน 89.00% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด สินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ได้แก่ สารปรุงแต่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม กระเป๋าหนัง เนื้อปลาปรุงแต่ง นาฬิกาและส่วนประกอบ และข้าว

     นายพิทักษ์ กล่าวว่า กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนม.ค.2565 ผู้ส่งออกไทยสามารถเลือกใช้รูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองสำหรับการส่งออกไปอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้เช่นกัน

sme 720x100

      ทั้งนี้ วิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองภายใต้ 3 ระบบดังกล่าว ผู้ส่งออกสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิดังกล่าวกับกรมฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีขั้นตอนที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่าย และ ณ สิ้นเดือนม.ค.2565 มีผู้ส่งออกได้รับการขึ้นทะเบียนที่สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้แล้ว จำนวน 783 ราย โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ http://self-cert.dft.go.th/self-cert/home/login2.aspx หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือกองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 02-5474808 และ 02-5475132

 

ผู้ส่งออกแห่ใช้สิทธิ RCEP ส่งออก 2 เดือน 1,165 ล้านบาท

    กรมการค้าต่างประเทศเผยมูลค่าการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง RCEP 2 เดือน หลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ มีมูลค่าสูงถึง 1,165.52 ล้านบาท โดยในเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่าการขอใช้สิทธิ RCEP เติบโตก้าวกระโดดเป็น 3 เท่าจากเดือนแรก ตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นเป้าหมายหลักในการส่งออกภายใต้ RCEP

TU720x100

      นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ส่งออกไทยได้มีการมาขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลง RCEP (Form RCEP) เป็นมูลค่าสูงถึง 1,165.52 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุดเป็นอันดับแรก คิดเป็นมูลค่า 540.36 ล้านบาท

     ส่วนใหญ่เป็นสินค้าปลาปรุงแต่งประเภทปลาเฮอร์ริง ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ค ผักปรุงแต่ง และสิ่งทอ ลำดับรองลงมาคือจีน อยู่ที่ 453.95 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าพืช ผัก ผลไม้สด เช่น มันสำปะหลัง ลำไย ทุเรียน และมะพร้าว เป็นต้น และอันดับที่ 3 คือ เกาหลีใต้ มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 171.21 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าถุงลมนิรภัยพร้อมระบบพองลม รถจักรยานยนต์ ไขมันและน้ำมันชนิดระเหย แชมพู เชิ้ตของบุรุษหรือเด็กชายทำด้วยฝ้าย

GC 720x100

      เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กับเดือนมกราคม 2565 ซึ่งเป็นเดือนแรกของการเริ่มบังคับใช้ความตกลง RCEP จะเห็นได้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่าการขอใช้สิทธิฯ สูงถึง 887.67 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 219.49 % โดยในเดือนมกราคม 2565 มีการขอใช้สิทธิฯ ภายใต้ RCEP อยู่ที่ 277.84 ล้านบาท เป็นการส่งออกไปยัง 2 ตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่นและจีน และตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้กับเกาหลีใต้ จึงได้เริ่มมีการส่งออกไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมา

     โดยการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ยังมีมูลค่าไม่สูงมากนัก คือ ประมาณ 171.21 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีการขอหนังสือรับรอง Form RCEP ส่วนใหญ่เป็นสินค้าได้รับสิทธิในการลดภาษีจากเกาหลีใต้เพิ่มเติมภายใต้กรอบ RCEP รวมถึงเกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าที่ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (AKFTA)

วิริยะ 720x100

     “เป็นที่น่าสังเกตว่าภายใต้ RCEP การใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีของผู้ส่งออกไทยไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการที่ผู้ส่งออกจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีขาเข้าของประเทศปลายทางที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าไทยมีการส่งออกภายใต้ RCEP ไปยังญี่ปุ่นและจีนมากที่สุด โดยสินค้าที่มีการส่งออกไปญี่ปุ่น ได้แก่ สินค้าปลาปรุงแต่ง ทูน่ากระป๋อง ซึ่งไทยได้รับการลดภาษีเหลือ 0% อยู่แล้วภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)

       และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) แต่ความได้เปรียบภายใต้ความตกลง RCEP เกิดขึ้นเนื่องจากเกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ RCEP ที่มีข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ที่ง่ายขึ้น โดยความตกลง RCEP ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขในการได้มาซึ่งวัตถุดิบในการนำมาผลิต ต่างจากความตกลง JTEPA ที่มีข้อกำหนดว่าปลาที่นำมาแปรรูปนั้นจะต้องเป็นปลาที่ได้จากเรือประมงที่ได้รับอนุญาต และ AJCEP ที่กำหนดว่า ปลาที่นำมาแปรรูปจะต้องเป็นปลาที่ได้จากประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงฯ เท่านั้น

BANPU 720x100

      รวมถึงการส่งออกสินค้าพืช ผัก ผลไม้สด ไปจีน ที่แม้ว่าภายใต้ RCEP ส่วนใหญ่จะได้รับการลดภาษีในระดับที่เท่ากันกับกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) คือเป็น 0% แต่เนื่องจากความตกลง RCEP มีข้อกำหนดเรื่องการตรวจปล่อยสินค้าที่ชัดเจน คือ กรณีที่เป็นไปได้ ให้ตรวจปล่อยสินค้าเน่าเสียง่ายให้แล้วเสร็จภายใน 6 ชั่วโมง และสำหรับสินค้าทั่วไปให้มีการตรวจปล่อยสินค้าให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมง จึงคาดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการมาขอใช้สิทธิภายใต้ RCEP กันมาก เนื่องจากสามารถวางแผนการนำเข้าส่งออกสินค้าล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น”นายพิทักษ์ฯ กล่าว

      อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองโดยผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Self-declaration by Approved Exporter) ซึ่งเป็น 1 ใน 2 รูปแบบของการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ได้ตามความตกลง RCEP ในปัจจุบัน ผู้ส่งออกจะต้องมาขอขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศเพื่อเป็นผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะสามารถออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้ โดยในช่วงระยะเวลา 2 เดือนตั้งแต่ความตกลง RCEP มีผลใช้บังคับ มีผู้ส่งออกมาขอขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศแล้ว จำนวน 22 ราย

      ประกอบด้วย ผู้ส่งออกเครื่องประดับ อาหารสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผู้ส่งออกที่ขึ้นทะเบียนสำหรับการรับรองตนเองมีหน้าที่จะต้องรายงานรายละเอียดต่อกรมการค้าต่างประเทศว่า มีหรือไม่มีการส่งออกภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยในเดือนมกราคม 2565 ไทยยังไม่มีการส่งออกสินค้าที่ขอใช้สิทธิฯ ด้วยรูปแบบของการรับรองตนเอง คาดว่าสาเหตุเนื่องมาจากผู้ส่งออกยังไม่มีความมั่นใจที่จะรับรองตนเองสำหรับการส่งออก

     โดยยังมีข้อกังวลว่าหนังสือรับรองที่ออกด้วยตนเองอาจถูกตรวจสอบจากศุลกากรของประเทศปลายทางมากกว่าการใช้ Form RCEP ที่ออกให้โดยกรมการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ ผู้ส่งออกที่จะรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเป็นอย่างดีอีกด้วย อย่างไรก็ดี ทางกรมการค้าต่างประเทศ เห็นว่าการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออกจะเป็นประโยชน์ในการช่วยลดขั้นตอนในการออกเอกสารส่งออกและลดต้นทุนด้านเอกสารให้แก่ผู้ส่งออกได้ในระยะยาว จึงขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการใช้รูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองให้มากขึ้น

       นายพิทักษ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “กรมการค้าต่างประเทศยินดีที่จะให้คำปรึกษาในเรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้าและการขอใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ RCEP รวมถึงสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ทั้งหมด และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศมีกำหนดจัดงานสัมมนาเพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์จากตามความตกลง RCEP ตามจังหวัดเป้าหมายในทุกภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครพนม มุกดาหาร สงขลา จันทบุรี และระยอง ในระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2565 โดยขอให้ติดตามกำหนดการและการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาได้จากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th ต่อไป”

      สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง RCEP ได้ที่ สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ โทร. 1385 หรือไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี @gsp_helper’

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

ais 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!