WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์

ไทยใช้สิทธิ GSP 11 เดือนปี 64 เพิ่มสูง ชี้ส่งออกสหรัฐฯ โตต่อเนื่อง 35%

      กรมการค้าต่างประเทศเผยตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) และนอร์เวย์ ช่วง 11 เดือนของปี 2564 มูลค่ารวม 3,437.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.16 โดยสหรัฐฯ ครองอันดับ 1 ใช้สิทธิ GSP 3,071.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มสูงถึง 35.03%

     นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถิติการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม – พฤศจิกายน) มีมูลค่า 3,437.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 62.76 โดยไทยยังคงใช้สิทธิฯ ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.03 ในขณะที่การใช้สิทธิฯ ส่งออกไปยัง สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ลดลงร้อยละ 10.78 และ 11.42 ตามลำดับ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ดังนี้

QIC 720x100

     อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 3,071.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวดีตลอด 11 เดือนในปี 64 อาทิ ถุงมือยาง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 488.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 62.12) ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 286.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 73.26) กรดซิทริก (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 108 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 65.62) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 84.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.12) ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ของพืช ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 55.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 52.86) เป็นต้น

     อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ (มูลค่า 241.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องดื่ม (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 24.60 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 25.67) ของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้า รวมทั้งจุก ฝาและที่ปิดครอบอื่นๆ ทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.69) หน้าปัดของนาฬิกาชนิดคล็อกหรือชนิดวอตช์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 7.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.24) เป็นต้น

sme 720x100

     อันดับ 3 กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (มูลค่า 109.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร อาทิ สับปะรดกระป๋อง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 31.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.65) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา) (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 9.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 70.01) ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 8.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 39.16) เป็นต้น

      อันดับ 4 นอร์เวย์ (มูลค่า 14.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ข้าวโพดหวาน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 3.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 42.93) อาหารปรุงแต่งอื่นๆ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 2.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.36) เครื่องแต่งกายของสตรีหรือเด็กหญิงทำด้วยขนแกะหรือขนละเอียดของสัตว์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 1.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 132.46) พาสต้ายัดไส้จะทำให้สุกหรือปรุงแต่งโดยวิธีอื่นหรือไม่ก็ตาม (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 197.94) พืชผักอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 35.17) เป็นต้น

      อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯ ยังคงครองแชมป์การใช้สิทธิ GSP สูงสุดต่อเนื่องแม้ว่าการต่ออายุโครงการ GSP ที่สิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายจากรัฐสภาสหรัฐฯ ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้สิทธิ GSP สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยังคงทำได้ตามปกติ เพียงแต่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องจ่ายภาษีหรือวางหลักประกันการนำเข้าสินค้าไปก่อน โดยคาดว่าจะได้รับภาษีคืนเมื่อสหรัฐฯ ต่ออายุโครงการ GSP แล้วเสร็จ

TU720x100

    และสำหรับการส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะใช้สิทธิ GSP สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศที่เว็บไซต์ http://self-cert.dft.go.th/self-cert/home/ManualRex.aspx ซึ่งการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์จะช่วยสร้างแต้มต่อและโอกาสในการส่งออกสินค้าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้

    หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทร สายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี @gsp_helper’

 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C JGC 720x100

BANPU 720x100

ais 720x100

วิริยะ 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!