- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Monday, 31 January 2022 22:54
- Hits: 10458
กรมพัฒน์ฯ ตั้งเป้าจดธุรกิจใหม่ในพื้นที่อีอีซีปี 65 จำนวน 6,500–6,800 ราย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าคาดจดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่อีอีซีปี 65 มีจำนวน 6,500–6,800 ราย หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การส่งออกยังเติบโตได้ดี แผนลงทุนในอีอีซียังเดินหน้าต่อ และโควิด-19 น่าจะเบาบางลง ส่วนปี 64 มีธุรกิจตั้งใหม่ 6,698 ราย เพิ่ม 9.73% ชลบุรีครองแชมป์ตั้งใหม่มากสุด โดยญี่ปุ่นเป็นต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากสุด ตามด้วยจีนและสิงคโปร์
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ ได้คาดการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ใน 3 จังหวัด คือ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ปี 2565 อยู่ที่ 6,500–6,800 ราย โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก การขับเคลื่อนแผนการลงทุนระยะที่ 2 ของอีอีซี เช่น รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง ระยะที่ 3
ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การแพร่ระบาดของโควิด–19 ในประเทศ ที่ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ แต่มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจนภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ภายในปีนี้
สำหรับ การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในอีอีซี ปี 2564 มีจำนวน 6,698 ราย เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีจำนวน 6,104 ราย เพิ่มขึ้น 9.73% มีทุนจดทะเบียน 19,153.08 ล้านบาท เทียบกับปี 2563 ที่มีมูลค่า 17,533.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.24% โดยจังหวัดชลบุรี มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่มากที่สุด จำนวนจำนวน 4,659 ราย คิดเป็น 69.55%
โดยธุรกิจตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 891 ราย เพิ่ม 13.30% ทุนจดทะเบียน 3,461 ล้านบาท เพิ่ม 18.07% ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 609 ราย เพิ่ม 9.09% ทุนจดทะเบียน 1,376 ล้านบาท เพิ่ม 7.19% ธุรกิจขนส่ง ขนถ่ายสินค้า รวมถึงผู้โดยสาร 279 ราย เพิ่ม 4.17% ทุนจดทะเบียน 378 ล้านบาท เพิ่ม 1.97%
ปัจจุบันพื้นที่ 3 จังหวัดในอีอีซี มีนิติบุคคลคงอยู่ ณ 31 ธ.ค.2564 จำนวน 76,142 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1.51 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น จ.ชลบุรี 55,140 ราย คิดเป็น 72.42% จ.ระยอง 14,653 ราย คิดเป็น 19.24% และ จ.ฉะเชิงเทรา 6,349 ราย คิดเป็น 8.34% ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการ คิดเป็น 60.38% รองลงมา คือ การขายส่งขายปลีก คิดเป็น 24.63% และการผลิตคิดเป็น 14.99%
ทั้งนี้ มีการลงทุนของคนต่างชาติในนิติบุคคลไทย มีมูลค่า 825,358 ล้านบาท คิดเป็น 54.32% ของทุนทั้งหมด โดยสัญชาติญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 46.60% มีมูลค่าทุน 384 ,642 ล้านบาท รองลงมา คือ จีน มีสัดส่วนคิดเป็น 12.75% มีมูลค่าทุน 105,195 ล้านบาท และสิงคโปร์ สัดส่วนคิดเป็น 5.59% มูลค่าทุน 46,104 ล้านบาท โดยมีการลงทุนใน จ.ระยอง สูงสุดคิดเป็น 51.97% มูลค่า 428,935 ล้านบาท รองลงมา คือ ชลบุรี 38.05% มูลค่า 314,042 ล้านบาท และฉะเชิงเทรา 9.98% มูลค่า 82,379 ล้านบาท
โดยนักลงทุนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ลงทุนในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 80,098 ล้านบาท ธุรกิจผลิตอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมมูลค่าการลงทุน 38,722 ล้านบาท และธุรกิจผลิตยางล้อและยางในมูลค่าการลงทุน 31,797 ล้านบาท
กรมพัฒน์ฯ ตั้งเป้าจดธุรกิจใหม่ในพื้นที่อีอีซีปี 65 จำนวน 6,500–6,800 ราย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าคาดจดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่อีอีซีปี 65 มีจำนวน 6,500–6,800 ราย หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การส่งออกยังเติบโตได้ดี แผนลงทุนในอีอีซียังเดินหน้าต่อ และโควิด-19 น่าจะเบาบางลง ส่วนปี 64 มีธุรกิจตั้งใหม่ 6,698 ราย เพิ่ม 9.73% ชลบุรีครองแชมป์ตั้งใหม่มากสุด โดยญี่ปุ่นเป็นต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากสุด ตามด้วยจีนและสิงคโปร์
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ ได้คาดการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ใน 3 จังหวัด คือ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ปี 2565 อยู่ที่ 6,500–6,800 ราย โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามทิศทางของเศรษฐกิจโลก การขับเคลื่อนแผนการลงทุนระยะที่ 2 ของอีอีซี เช่น รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง ระยะที่ 3
ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การแพร่ระบาดของโควิด–19 ในประเทศ ที่ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ แต่มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจนภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ภายในปีนี้
สำหรับ การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในอีอีซี ปี 2564 มีจำนวน 6,698 ราย เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีจำนวน 6,104 ราย เพิ่มขึ้น 9.73% มีทุนจดทะเบียน 19,153.08 ล้านบาท เทียบกับปี 2563 ที่มีมูลค่า 17,533.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.24% โดยจังหวัดชลบุรี มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่มากที่สุด จำนวนจำนวน 4,659 ราย คิดเป็น 69.55%
โดยธุรกิจตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 891 ราย เพิ่ม 13.30% ทุนจดทะเบียน 3,461 ล้านบาท เพิ่ม 18.07% ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 609 ราย เพิ่ม 9.09% ทุนจดทะเบียน 1,376 ล้านบาท เพิ่ม 7.19% ธุรกิจขนส่ง ขนถ่ายสินค้า รวมถึงผู้โดยสาร 279 ราย เพิ่ม 4.17% ทุนจดทะเบียน 378 ล้านบาท เพิ่ม 1.97%
ปัจจุบันพื้นที่ 3 จังหวัดในอีอีซี มีนิติบุคคลคงอยู่ ณ 31 ธ.ค.2564 จำนวน 76,142 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1.51 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น จ.ชลบุรี 55,140 ราย คิดเป็น 72.42% จ.ระยอง 14,653 ราย คิดเป็น 19.24% และ จ.ฉะเชิงเทรา 6,349 ราย คิดเป็น 8.34% ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการ คิดเป็น 60.38% รองลงมา คือ การขายส่งขายปลีก คิดเป็น 24.63% และการผลิตคิดเป็น 14.99%
ทั้งนี้ มีการลงทุนของคนต่างชาติในนิติบุคคลไทย มีมูลค่า 825,358 ล้านบาท คิดเป็น 54.32% ของทุนทั้งหมด โดยสัญชาติญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 46.60% มีมูลค่าทุน 384 ,642 ล้านบาท รองลงมา คือ จีน มีสัดส่วนคิดเป็น 12.75% มีมูลค่าทุน 105,195 ล้านบาท และสิงคโปร์ สัดส่วนคิดเป็น 5.59% มูลค่าทุน 46,104 ล้านบาท โดยมีการลงทุนใน จ.ระยอง สูงสุดคิดเป็น 51.97% มูลค่า 428,935 ล้านบาท รองลงมา คือ ชลบุรี 38.05% มูลค่า 314,042 ล้านบาท และฉะเชิงเทรา 9.98% มูลค่า 82,379 ล้านบาท
โดยนักลงทุนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ลงทุนในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 80,098 ล้านบาท ธุรกิจผลิตอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมมูลค่าการลงทุน 38,722 ล้านบาท และธุรกิจผลิตยางล้อและยางในมูลค่าการลงทุน 31,797 ล้านบาท