WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a4ABอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

กรมเจรจาฯ ชี้เป้าใช้ประโยชน์ความตกลง RCEP กับเกาหลีใต้และมาเลเซีย

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้กับเกาหลีใต้และมาเลเซีย ในวันที่ 1 ก.พ.65 และ 18 มี.ค.65 หลังบังคับใช้กับ 10 ประเทศสมาชิกไปแล้วตั้งแต่ 1 ม.ค.65 ชี้เป้าไทยเตรียมใช้ประโยชน์ เกาหลีใต้จะลดภาษีทันที 7,843 รายการ แถมเปิดตลาดเพิ่มให้ไทยอีก 413 รายการ และยังมีโอกาสลงทุนสาขาบริการที่ไทยมีศักยภาพ ส่วนมาเลเซียลดทันที 6,590 รายการ

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลใช้บังคับกับสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา และประเทศสมาชิก RCEP ที่เหลืออีก 5 ประเทศ ได้เริ่มทยอยยื่นให้สัตยาบันความตกลง RCEP โดยเกาหลีใต้ได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2564 ส่งผลให้ความตกลง RCEP จะมีผลใช้บังคับกับเกาหลีใต้ ในวันที่ 1 ก.พ.2565 และล่าสุด มาเลเซียได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 17 ม.ค.2565 ความตกลง RCEP จะมีผลใช้บังคับกับมาเลเซียในวันที่ 18 มี.ค.2565 สำหรับประเทศที่เหลือคาดว่าจะยื่นให้สัตยาบันให้ความตกลงในเร็ว ๆ นี้ และจะมีผลใช้บังคับต่อไป  

QIC 720x100

    ทั้งนี้ ในส่วนของไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมการรองรับการมีผลบังคับใช้ของ RCEP อย่างเต็มที่ โดยได้เร่งรัดให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการกระบวนการภายใน ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP กับเกาหลีใต้และมาเลเซียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้

     สำหรับ เกาหลีใต้จะยกเว้นภาษีสินค้าให้ไทย 90.7% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยยกเว้นภาษีทันที 7,843 รายการ ในวันที่ 1 ก.พ.2565 และยังเปิดตลาดเพิ่มเติมให้กับสินค้าไทย 413 รายการ จากที่เคยให้ไทยภายใต้ FTA อาเซียน-เกาหลี เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งมันสำปะหลัง สินค้าประมง พลาสติก เครื่องแก้ว ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ด้ายทำด้วยยางวัลแคไนซ์ รถจักรยาน เครื่องยนต์เรือและส่วนประกอบ กระเบื้อง ซีเมนต์ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มยกเว้นภาษีในวันที่ 1 ก.พ.2565 และที่ทยอยลดและยกเว้นภาษีภายใน 10-20 ปี    

     นอกจากการเปิดตลาดด้านการค้าสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP ในส่วนการเปิดตลาดการค้าบริการ จะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในเกาหลีใต้ในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และบันเทิง ประเภทเทคนิคตัดต่อภาพและเสียง และการผลิตแอนิเมชัน ตลอดจนธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว บริการด้านสิ่งแวดล้อม และเกมส์ออนไลน์

sme 720x100

    ส่วนมาเลเซีย จะยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าให้ไทย 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยในวันที่ 18 มี.ค.2565 จะยกเว้นภาษีทันทีถึง 6,590 รายการ เช่น ยางธรรมชาติและน้ำยางธรรมชาติ วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสก์ไดรว์ วงจรพิมพ์ อาหารสุนัขหรือแมว อาหารปรุงแต่งสำหรับทารก น้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม เครื่องยนต์ และเม็ดพลาสติก (โพลิคาร์บอเนต) เป็นต้น

      อย่างไรก็ตาม ในฐานะสมาชิกอาเซียน มาเลเซียได้เปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างกันมากกว่าที่เปิดให้ประเทศนอกกลุ่มภายใต้ความตกลงอาเซียนอยู่แล้ว ผู้ส่งออกของไทยจึงมีทางเลือกในการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงอาเซียน หรืออาเซียน+1 อื่น ที่มาเลเซียลดภาษีให้ไทยมากกว่า หรือภายใต้ความตกลง RCEP เพื่อใช้ประโยชน์จากการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า

     ในปี 2564 เกาหลีใต้เป็นคู่ค้าอันดับ 10 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวม 15,801.79 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 2.93% ของการค้ารวมของไทยกับโลก เป็นการส่งออก 5,882.98 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 9,918.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวม 24,076.37 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 4.47% ของการค้ารวมของไทยกับโลก เป็นการส่งออก 12,058.24 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 12,018.14 ล้านเหรียญสหรัฐ

    ผู้ประกอบการที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามอัตราภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง RCEP ได้ที่ศูนย์ RCEP Center กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และยังได้จัดทำ E-Book ความตกลง RCEP ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้ได้อย่างสะดวก โดยสามารถเข้าไปสืบค้นได้ที่เว็บไซต์ www.dtn.go.th

TU720x100

กรมเจรจาฯ เผยปี 64 ไทยค้าขายกับคู่เจรจา FTA 18 ประเทศกว่า 10 ล้านล้านบาท

      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยการค้าไทยกับคู่เจรจา FTA ปี 64 มีมูลค่า 342,050 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 10 ล้านล้านบาท เพิ่ม 24% เป็นการส่งออกถึง 166,960 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 5.2 ล้านล้านบาท เพิ่ม 19% โดยขยายตัวได้ดีทุกตลาด ส่วนสินค้าเกษตรเพิ่มถึง 29% เกษตรแปรรูป เพิ่ม 9% และสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 16% ย้ำในการส่งออก อย่าลืมใช้สิทธิ์ FTA สร้างแต้มต่อ รวมทั้งใช้ RCEP ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถิติมูลค่าการค้าและการส่งออกของไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง พบว่า ในปี 2564 การค้ารวมมีมูลค่า 342,050 ล้านเหรียญสหรัฐ (10,850,467 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 24% แยกเป็นการส่งออก มูลค่า 166,960 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,258,642 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 19% และนำเข้า มูลค่า 175,090 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,514,908 ล้านบาท)

GC 720x100

       สำหรับ การส่งออกของไทยไปตลาด FTA ขยายตัวดีทุกตลาด โดยชิลี เพิ่ม 70% อินเดีย เพิ่ม 55% นิวซีแลนด์ เพิ่ม 51% เกาหลีใต้ เพิ่ม 38% เปรู เพิ่ม 33% จีน เพิ่ม 25% ออสเตรเลีย เพิ่ม 11% ญี่ปุ่น เพิ่ม 10% และฮ่องกง เพิ่ม 3% ส่วนอาเซียน เพิ่ม 17% เช่น ฟิลิปปินส์ เพิ่ม 40% มาเลเซีย เพิ่ม 38% สปป.ลาว เพิ่ม 19% กัมพูชา เพิ่ม 16% อินโดนีเซีย เพิ่ม 16% เมียนมา เพิ่ม 14% และเวียดนาม เพิ่ม 12%

      ทางด้านการส่งออกสินค้าไปยังคู่ FTA พบว่า ขยายตัวทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าเกษตรพื้นฐาน ปศุสัตว์ และประมง ที่เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสูง มีมูลค่า 19,174 ล้านเหรียญสหรัฐ (602,826 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 29% มีสัดส่วน 73.60% ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องเทศและสมุนไพร และผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป มีมูลค่า 12,071 ล้านเหรียญสหรัฐ (380,589 ล้านบาท) เพิ่ม 9% มีสัดส่วน 62.66% ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย

       สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร และไอศกรีม และสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 126,293 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,977,231 ล้านบาท) เพิ่ม 16% มีสัดส่วน 58.58% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

BANPU 720x100

    “ภาพรวมการส่งออกของไทยไปยังคู่เจรจา FTA ที่ขยายตัวได้ดี มีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า สินค้าไทยมีคุณภาพ มาตรฐาน และเป็นที่ต้องการ และมี FTA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าไทย และช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จาก FTA เพิ่มแต้มต่อทางการแข่งขัน โดยปัจจุบันไทยมี FTA 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ และมีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นความตกลงฉบับล่าสุดของไทย และเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคถึง 2,300 ล้านคน 30% ของประชากรโลก และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา”นางอรมนกล่าว

      ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2564 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ไทยจะมี FTA ฉบับแรก (ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน) มูลค่าการค้าและการส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยการค้ารวมของไทยกับประเทศคู่ FTA ขยายตัว 858% การส่งออกไปประเทศคู่ FTA ขยายตัวถึง 1,151% และสัดส่วนการค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA ยังเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 63.5% และสัดส่วนการส่งออกสูงขึ้น 61.6% ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการขอใช้สิทธิ์จาก FTA สำหรับ ส่งออกไปประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น

 EXIM One 720x90 C J

กรมเจรจาฯ’ ฟุ้ง FTA ดันส่งออกปี 64 โต 19% ทะลุ 5.2 ล้านล้านบาท

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยการค้าไทยกับคู่ค้า FTA ปี 64 มีมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านบาท โต 24% ส่งออก 5.2 ล้านล้านบาท สูงถึง 19% พบขยายตัวได้ดีทั้งตลาดอาเซียน อินเดีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และจีน ปลื้ม! สินค้าเกษตรโตแรงสุด 29% อุตสาหกรรม 16% และเกษตรแปรรูป 9% ชวนผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก FTA และ RCEP เพิ่มโอกาสส่งออกและสร้างแต้มต่อทางการค้า

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถิติมูลค่าการค้าและการส่งออกของไทยกับประเทศคู่ค้า FTA 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง พบว่า ในปี 2564 การค้ารวมของไทยกับประเทศคู่ค้า FTA มีมูลค่า 342,050 ล้านเหรียญสหรัฐ (10,850,467 ล้านบาท) ขยายตัวถึง 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการส่งออกมีมูลค่า 166,960 ล้านเหรียญสหรัฐ (5,258,642 ล้านบาท) ขยายตัว 19% ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปตลาด FTA ขยายตัวได้ดีทุกตลาด ได้แก่ ชิลี (+70%) อินเดีย (+55%) นิวซีแลนด์ (+51%) เกาหลีใต้ (+38%) เปรู (+33%) จีน (+25%) ออสเตรเลีย (+11%) ญี่ปุ่น (+10%) และฮ่องกง (+3%) ซึ่งไทยส่งออกไปอาเซียนขยายตัวสูงถึง 17% อาทิ ฟิลิปปินส์ (+40%) มาเลเซีย (+38%) สปป.ลาว (+19%) กัมพูชา (+16%) อินโดนีเซีย (+16%) เมียนมา (+14%) และเวียดนาม (+12%)

      นางอรมน กล่าวว่า การส่งออกไปตลาด FTA ยังขยายตัวทุกกลุ่มสินค้า โดยในปี 2564 สินค้าเกษตรพื้นฐาน ปศุสัตว์ และประมง เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสูง โดยการส่งออกไปตลาด FTA มีมูลค่า 19,174 ล้านเหรียญสหรัฐ (602,826 ล้านบาท) ขยายตัว 29% จากปีก่อนหน้า มีสัดส่วน 73.60% ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องเทศและสมุนไพร และผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง

     สำหรับ กลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป ไทยส่งออกไปตลาด FTA มูลค่า 12,071 ล้านเหรียญสหรัฐ (380,589 ล้านบาท) ขยายตัว 9% มีสัดส่วน 62.66% ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร และไอศกรีม ในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม ไทยส่งออกไปตลาด FTA มูลค่า 126,293 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,977,231 ล้านบาท) ขยายตัว 16% มีสัดส่วน 58.58% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

       “ภาพรวมการส่งออกของไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และมี FTA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าไทย และช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จาก FTA เพิ่มแต้มต่อทางการแข่งขัน โดยปัจจุบันไทยมี FTA 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ และมีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นความตกลงฉบับล่าสุดของไทย และเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคถึง 2,300 ล้านคน 30% ของประชากรโลก และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา” นางอรมนเสริม

      ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2564 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ไทยจะมี FTA ฉบับแรก (ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน) มูลค่าการค้าและการส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยการค้ารวมของไทยกับประเทศคู่ FTA ขยายตัว 858% การส่งออกไปประเทศคู่ FTA ขยายตัวถึง 1,151% นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าของไทยกับประเทศคู่ FTA ยังเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 63.5% และสัดส่วนการส่งออกสูงขึ้น 61.6% ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการขอใช้สิทธิ์จาก FTA สำหรับส่งออกไปประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 

 Click Donate Support Web

 

viriya 580x400

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!