- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 22 December 2021 08:15
- Hits: 9262
กรมพัฒน์ฯ เตือนประชาชนที่มองหาสินเชื่อต้องรอบคอบ รู้ทันกลโกงก่อน 'กู้เงินออนไลน์' วอน ‘ธุรกิจสินเชื่อมืด’ อย่าซ้ำเติมคนเดือดร้อน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนประชาชนที่ประสงค์จะกู้เงินออนไลน์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ภายหลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนให้ตรวจสอบการกระทำของกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายมิจฉาชีพหลอกลวงให้บริการกู้เงิน ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และปลอมระบบให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคลของกรมฯ
อีกทั้ง ยังแอบอ้างความน่าเชื่อถือในการจดทะเบียนนิติบุคคล หลอกให้ไว้ใจและสมัครใช้บริการ ย้ำ! หากต้องการทำธุรกรรมที่ละเอียดอ่อน ต้องตรวจสอบข้อมูลให้ลึก โดยเฉพาะสถาบันการเงินจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้ดำเนินการตรวจสอบการกระทำของกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายมิจฉาชีพหลอกลวง โดยอ้างว่าเป็นธุรกิจให้บริการสินเชื่อ (เงินกู้) และมีการปลอมแปลงเว็บไซต์ของกรมฯ ในส่วนให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล หรือ DBD Datawarehouse+ โดยโฆษณาเชิญชวนประชาชนให้สมัครใช้บริการกู้เงินผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่น และการส่งต่อลิ้งค์ของเว็บไซต์ต่างๆ
ประกอบกับอ้างถึงความมีตัวตนในการจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมฯ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกลวงให้หลงเชื่อ แต่ในที่สุดประชาชนกลับไม่ได้รับบริการกู้เงินจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว และยังต้องชำระเงินที่อ้างว่าเป็นค่าดำเนินการไปก่อนจึงจะโอนเงินกู้กลับไปให้ได้หรือต้องรอรับรหัสในการขอกู้เงิน ซึ่งการกระทำนี้เข้าข่ายการหลอกลวงและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
อธิบดี กล่าวต่อว่า "ที่ผ่านมากรมฯ ได้เปิดให้บริการระบบให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล หรือ DBD Datawarehouse+ เพื่อใช้เป็นตัวช่วยให้ภาคธุรกิจและประชาชนใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการลงทุนและตรวจสอบสถานะความมีตัวตนของนิติบุคคล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นส่วนประกอบเพียงส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการมีอยู่ของนิติบุคคลว่ามีการจดทะเบียนกับกรมฯ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น"
"หากภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องการทำธุรกรรมที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ด้านการเงินหรือการขอสินเชื่อ จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมก่อน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ประชาชนส่วนหนึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อนด้านการเงินและต้องการใช้เงินเร่งด่วน มิจฉาชีพจึงอาศัยช่องว่างจากความเดือดร้อนนี้เข้ามาซ้ำเติม ดังนั้น การจะขอสินเชื่อจากแหล่งใด ประชาชนต้องเพิ่มความรอบคอบยิ่งขึ้น
โดยนอกจากจะตรวจสอบการมีตัวตนของนิติบุคคลแล้ว ยังต้องตรวจสอบเชื่อมโยงไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บริการด้านการเงินด้วย เช่น ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อ สามารถค้นหาได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตรวจสอบได้ที่ www.bot.or.th, ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อฟิโกไฟแนนซ์ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น"
"ทั้งนี้ กรมฯ ฝากความห่วงใยไปยังผู้ที่จะใช้บริการเงินกู้ โดยเฉพาะผ่านทางออนไลน์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้วอาจทำให้สูญเสียเวลา เงิน หรือทรัพย์สินที่หามาอย่างยากลำบาก นอกจากนั้น ยังอาจถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไปใช้โจรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะสร้างความเสียหายตามมา รวมถึงการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายอาจมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง และอาจเสี่ยงจากการติดตามหนี้สินที่อยู่นอกกฎหมายอีกด้วย ดังนั้น หากมีความรอบคอบตั้งแต่ต้นและไม่หลงเชื่อคำโฆษณาที่หลอกลวง จะเป็นการปิดประตูความเสี่ยงต่างๆ และปลอดภัยจากการสูญเสียที่อาจประเมินค่าไม่ได้" อธิบดี กล่าวทิ้งท้าย
กรมพัฒน์ฯ เตือนภัยกู้เงินออนไลน์ ระวังโดนหลอก แนะเช็กกับหน่วยงานให้ชัวร์ก่อน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตือนธุรกิจและประชาชน ที่ต้องการกู้เงินออนไลน์ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หลังได้รับการร้องเรียนให้ช่วยตรวจสอบกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้บริการกู้เงินผ่านโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน การส่งลิ้งก์ แถมปลอมระบบตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคลอีก ย้ำหากต้องการใช้บริการด้านการเงิน ต้องตรวจข้อมูลเชิงลึก ทั้งกับธปท. กระทรวงการคลัง และก.ล.ต.
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้ดำเนินการตรวจสอบการกระทำของกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายมิจฉาชีพหลอกลวง โดยอ้างว่าเป็นธุรกิจให้บริการสินเชื่อ (เงินกู้) และมีการปลอมแปลงเว็บไซต์ของกรมฯ ในส่วนให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล หรือ DBD Datawarehouse+ โดยโฆษณาเชิญชวนประชาชนให้สมัครใช้บริการกู้เงินผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน
และการส่งต่อลิ้งก์ของเว็บไซต์ต่างๆ ประกอบกับอ้างถึงความมีตัวตนในการจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมฯ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกลวงให้หลงเชื่อ แต่ในที่สุดประชาชนกลับไม่ได้รับบริการกู้เงินจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว และยังต้องชำระเงินที่อ้างว่าเป็นค่าดำเนินการไปก่อนจึงจะโอนเงินกู้กลับไปให้ได้หรือต้องรอรับรหัสในการขอกู้เงิน ซึ่งการกระทำนี้เข้าข่ายการหลอกลวงและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ หากภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องการทำธุรกรรมที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ด้านการเงินหรือการขอสินเชื่อ จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมก่อน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ประชาชนส่วนหนึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อนด้านการเงินและต้องการใช้เงินเร่งด่วน มิจฉาชีพจึงอาศัยช่องว่างจากความเดือดร้อนนี้เข้ามาซ้ำเติม ดังนั้น การจะขอสินเชื่อจากแหล่งใด ประชาชนต้องเพิ่มความรอบคอบยิ่งขึ้น
โดยนอกจากจะตรวจสอบการมีตัวตนของนิติบุคคลแล้ว ยังต้องตรวจสอบเชื่อมโยงไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บริการด้านการเงินด้วย เช่น ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อ สามารถค้นหาได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตรวจสอบได้ที่ www.bot.or.th , ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อฟิโกไฟแนนซ์ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น
ส่วนการเปิดให้บริการระบบให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล หรือ DBD Datawarehouse+ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ภาคธุรกิจและประชาชนใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการลงทุนและตรวจสอบสถานะความมีตัวตนของนิติบุคคล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นส่วนประกอบเพียงส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการมีอยู่ของนิติบุคคลว่ามีการจดทะเบียนกับกรมฯ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
“กรมฯ ฝากความห่วงใยไปยังผู้ที่จะใช้บริการเงินกู้ โดยเฉพาะผ่านทางออนไลน์ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้วอาจทำให้สูญเสียเวลา เงิน หรือทรัพย์สินที่หามาอย่างยากลำบาก และยังอาจถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไปใช้โจรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะสร้างความเสียหายตามมา รวมถึงการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมาย อาจมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง และอาจเสี่ยงจากการติดตามหนี้สินที่อยู่นอกกฎหมายอีกด้วย หากมีความรอบคอบตั้งแต่ต้นและไม่หลงเชื่อคำโฆษณาที่หลอกลวง จะเป็นการปิดประตูความเสี่ยงต่างๆ และปลอดภัยจากการสูญเสียที่อาจประเมินค่าไม่ได้”นายทศพลกล่าว