WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3AMOC20

ส่งออกพ.ย.64 พุ่งต่อ บวก 24.7% รวม 11 เดือนโต 16.4% คาดทั้งปี 15-16%

     ส่งออกเดือนพ.ย.64 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.7% รวม 11 เดือน 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 16.4% เผยสินค้าส่งออกโตทุกหมวด ทั้งเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรม คาดทั้งปีโต 15-16% แน่ ส่วนเป้าปี 65 รอหารือในเวที กรอ.พาณิชย์ก่อน

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ย.2564 มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.7% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 นับตั้งแต่มี.ค.2564 คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 783,425 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 22,629.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.5% เกินดุลการค้ามูลค่า 1,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกในช่วง 11 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่ารวม 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.4% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 7,731,391 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่ารวม 242,315.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.4% เกินดุลการค้ารวม 3,927.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

QIC 720x100

       สำหรับ การส่งออกในเดือนพ.ย.2564 พบว่า หมวดสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น 14.2% เป็นบวก 13 เดือนติดต่อกัน โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ทุเรียนสด เพิ่ม 138.9% ขยายตัวดีมากในตลาดจีนและเกาหลีใต้ มะม่วงสด เพิ่ม 48.6% ขยายตัวดีในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ญี่ปุ่น และสปป.ลาว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 48.6% บวก 13 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย ลำไยสด เพิ่ม 24.7% เป็นบวก 6 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ และยางพารา เพิ่ม 23.5% เป็นบวก 14 เดือนต่อเนื่อง

          ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 21.2% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง สินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาลทราย เพิ่ม 74% ผลไม้แช่เย็นแช่แข็งกระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 34.5% บวกเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และอาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 25.9% บวกเป็นเดือนที่ 27 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 23.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกัน สินค้าสำคัญ เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น เพิ่ม 72.9% เป็นบวก 10 เดือนต่อเนื่อง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่ม 51.9% เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง

        อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่ม 24.9% เป็นบวกเดือนที่ 9 ติดต่อกัน แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่ม 26.7% บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 19.9% บวก 12 เดือนต่อเนื่อง รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 12% บวก 13 เดือนต่อเนื่อง

          ทางด้านตลาดส่งออก มีตลาดที่ส่งออกขยายตัวสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ เอเชียใต้ เพิ่ม 66% อาเซียน เพิ่ม 55.1% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 40.7% เกาหลีใต้ เพิ่ม 30.6% สภาพยุโรป เพิ่ม 30.2% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS เพิ่ม 27.3% จีน เพิ่ม 24.3% ไต้หวัน เพิ่ม 24.2% สหรัฐฯ เพิ่ม 20.5% และทวีปแอฟริกา เพิ่ม 18.4%

          ายจุรินทร์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนพ.ย.2564 ดีขึ้นถึง 24.7% มาจากการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ในทุกรูปแบบร่วมกับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ (คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์) การบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องในหลายประเทศ การขยายตัวของภาคการผลิตทั่วโลก ดัชนี PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ส่งผลให้ขายดีขึ้น ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าอยู่ ช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งสินค้าเกษตร น้ำมันดิบ โลหะ เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก ทำให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น

          ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออกทั้งปี 2564 คงไม่ต่ำกว่า 15-16% ต้องรอตัวเลขธ.ค.2564 อีก 1 เดือน แต่ตอนนี้ 11 เดือน บวก 16.4% แล้ว ส่วนเป้าหมายปี 2565 จะประชุม กรอ.พาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันก่อน ซึ่งขณะนี้ ได้ประเมินตัวเลขไว้แล้ว แต่ต้องรอประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนก่อน อาจจะเป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปีนี้ หรือไม่ก็สัปดาห์แรกต้นปี 2565

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

       การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (783,425 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 24.7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 18.9 การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ได้รับแรงหนุนจากการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

     และการฟื้นตัวของภาคการค้าโลกที่เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ การส่งออก 11 เดือนแรก (มกราคม–พฤศจิกายน) ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.4 สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง

       กระทรวงพาณิชย์ได้สนับสนุนการส่งออกในหลายบทบาท เช่น การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการส่งออกการเจรจาเพื่อเปิดตลาดใหม่ การจับคู่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในตลาดต่าง ๆ รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องทำให้การส่งออกฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ องค์กรการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) คาดว่า การค้าโลกในปี 2564 จะมีมูลค่าสูงถึง 28 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปี 2563 เป็นผลจากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกที่แข็งแกร่ง

     เนื่องจากหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และมีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาคการผลิตมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ยังอยู่เหนือระดับ 50 เป็นเดือนที่ 17 โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศคู่ค้าสำคัญในเดือนพฤศจิกายน 2564 ต่างเร่งตัวขึ้น ทั้งในสหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกเติบโตในระดับสูง 

      กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 1) สินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋อง และแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำตาลทราย และอาหารสัตว์เลี้ยง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์

        3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 4) สินค้าขั้นกลางหรือสินค้าวัตถุดิบ เช่น เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยางยานพาหนะ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ยังขยายตัวได้ดี

sme 720x100

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

      เดือนพฤศจิกายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,629.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.5 ดุลการค้าเกินดุล 1,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.4 การนำเข้า มีมูลค่า 242,315.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.4 ดุลการค้า 11 เดือนแรก เกินดุล 3,927.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

      เดือนพฤศจิกายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 783,424.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 33.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 759,679.4 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.9 ดุลการค้าเกินดุล 23,745.2 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 7,731,390.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.5 การนำเข้า มีมูลค่า 7,715,844.9 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ 30.8 ดุลการค้า 11 เดือนแรก เกินดุล 15,545.9 ล้านบาท

TU720x100

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

      มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.3 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 34.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 48.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 23.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินเดีย ตุรกี และเกาหลีใต้)

     น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 74.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ แทนซาเนีย และจีน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.3 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อียิปต์ ออสเตรเลีย ลิเบีย และแคนาดา) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 25.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 27 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และอินเดีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ข้าว หดตัวร้อยละ 8.7 กลับมาหดตัวอีกครั้ง (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน แอฟริกาใต้ และฮ่องกง แต่ขยายตัวดีในตลาดโมซัมบิก อังโกลา กานา อิรัก และเยเมน)

    ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 0.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และฮ่องกง) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 4.2 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา และจีน แต่ขยายตัวดีในตลาดเวียดนาม ลาว และสิงคโปร์) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 77.2 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดฮ่องกง ลาว และกัมพูชา แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา) 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 15.1

GC 720x100

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

       มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 23.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 72.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัว

      ในตลาดจีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินเดีย) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเม็กซิโก) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และญี่ปุ่น) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 26.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 8.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย

BANPU 720x100

      และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 24.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ และเบลเยี่ยม)

     เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 51.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย และ อินโดนีเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 2.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย)

     เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.6 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเกาหลีใต้ มาเลเซีย ชิลี และไต้หวัน) เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 6.4 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 15.2

NHA720x100

ตลาดส่งออกสำคัญ

       การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวในเกณฑ์สูงเกือบทุกตลาด ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจการค้าโลกที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัวอย่างชัดเจน

      ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 23.3 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 20.5 จีน ร้อยละ 24.3 อาเซียน (5) ร้อยละ 55.1 CLMV ร้อยละ 10.0 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 30.2 ขณะที่ ญี่ปุ่น หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 26.0 ขยายตัวในตลาด เอเชียใต้ ร้อยละ 66.0 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 9.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 40.7 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 18.4 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 33.8 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 27.3 และ 3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 125.1

       ตลาดสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 20.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 20.1

ตลาดจีน

      ขยายตัวร้อยละ 24.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก และทองแดง เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.9

ais 720x100

ตลาดญี่ปุ่น

      หดตัวร้อยละ 0.1 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 10.4

ตลาดอาเซียน (5)

      ขยายตัวร้อยละ 55.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อากาศยานและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องยนต์สันดาป และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 18.0

ตลาด CLMV

      ขยายตัวร้อยละ 10.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 14.8

ตลาดสหภาพยุโรป (27)

       ขยายตัวร้อยละ 30.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยางพารา และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 23.0

ตลาดเอเชียใต้

      ขยายตัวร้อยละ 66.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 56.5

ตลาดอินเดีย

       ขยายตัวร้อยละ 61.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์

เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ทองแดง และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 58.6

ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25)

      กลับมาขยายตัวร้อยละ 9.4 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 12.2

ตลาดตะวันออกกลาง (15)

       ขยายตัวร้อยละ 40.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เคมีภัณฑ์ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 20.5

ตลาดทวีปแอฟริกา (57)

      ขยายตัวร้อยละ 18.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องยนต์สันดาป น้ำตาลทราย และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.0

ตลาดลาตินอเมริกา (47)

       ขยายตัวร้อยละ 33.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาป เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 37.9

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS

     ขยายตัวร้อยละ 27.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 11 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 29.7

การส่งออกปี 2564 และแนวโน้มปี 2565

      การส่งออกทั้งปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 16.0 มีมูลค่าประมาณ 268,300 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากกว่า 8.5 ล้านล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก การเร่งกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง และการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ช่วยเพิ่มอุปสงค์ ส่งผลดีต่อการส่งออกตลอดทั้งปี สำหรับการส่งออกปี 2565 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2564 ที่ร้อยละ 3.5 – 4.5 มีมูลค่าประมาณ 277,690.5 - 280,373.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงกว่าปี 2564 ประมาณ 9,390.5 – 12,073.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

       โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจและการนำเข้าของประเทศคู่ค้า (2) ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง (3) ราคาน้ำมันดิบดูไบยังทรงตัวในระดับสูง (4) ราคาสินค้าวัตถุดิบที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว (5) จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ และเรือขนส่งจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 (6) การควบคุมไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และ (7) ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65

 โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!