WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ยันแก้พ.ร.บ.ต่างด้าว ไม่ปิดกั้นทุนเข้าไทย

   ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์ยันแก้ พ.ร.บ. ต่างด้าว ไม่ปิดกั้นการลงทุน เผยแค่ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม เน้นส่งเสริมลงทุน ลดอุปสรรคการค้า แต่ไม่กระทบธุรกิจคนไทย คาดสรุปผลประชาพิจารณ์ภายใน ธ.ค.นี้

   น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงกรณีที่ต่างชาติมีความกังวลเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542  จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนว่า กรมขอชี้แจงว่าขณะนี้การแก้ไขกฎหมายอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้ว ต้องสรุปผลว่าจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2557 จากนั้นจะนำเสนอให้ รมว.พาณิชย์พิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)

   ทั้งนี้ ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กรมได้ยึดเป้าหมายหลัก 4 ข้อตามนโยบายรัฐบาล ได้ แก่ 1.เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ 2.ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ 3.อำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน และ 4.ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจรายเดิม

   "ตอนนี้แค่กำลังศึกษาว่าจะปรับปรุงกฎหมายอย่างไร  ยังไม่ได้มีการแก้ไขตามที่นักลงทุนต่างชาติกังวล และจะทำหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อทำการชี้แจงต่อนักลงทุนประเทศต่างๆ อีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง"น.ส. ผ่องพรรณกล่าว

   ทั้งนี้ กรมได้เปิดรับฟัง ความคิดเห็นไปแล้ว 3 ครั้ง ช่วง เดือน ต.ค.-พ.ย.2557 ซึ่งได้กำ หนดประเด็นที่เห็นควรจะให้มีการปรับปรุง เช่น การปรับปรุงนิยาม'คนต่างด้าว' ให้สอด คล้องกับนานาประเทศและสากล โดยที่ผ่านมามีการกำหนดนิยามไว้แค่การดูสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งได้มีการเสนอให้มีการดูถึงการมีสิทธิ์ในการออกเสียง และอำนาจในการบริหารจัดการ ซึ่งมีทั้งเห็นด้วยกับคำนิยามเดิม และให้เพิ่มคำนิยามใหม่ เพื่อให้ดูแลการประกอบธุรกิจได้ดีขึ้น

   นอกจากนี้ ได้มีการทบ ทวนประเภทธุรกิจตามบัญชีแนบ ท้ายกฎหมาย โดยส่วนใหญ่เห็น ด้วยที่จะให้มีการปรับปรุง ซึ่งล่า สุดคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้พิจารณาให้ถอดธุรกิจบริการ 4 ธุรกิจ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานผู้แทน ธนาคาร ประกันชีวิต และประกันวินาศภัย ออกจากบัญชีแนบท้าย 3 (21) เนื่องจากมีกฎหมายเฉพาะดูแลอยู่ และเพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ใน อนาคตจะมีการพิจารณาถอดธุรกิจอื่นๆ ออกอีกตามความเหมาะสม.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!