WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A510

ส่งออกต.ค.64 โตต่อ เพิ่ม 17.4% คาดทั้งปีได้ลุ้นบวก 15-16% ทะลุเกินเป้า 4 เท่า

     ส่งออกต.ค.64 โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ทำได้มูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 17.4% ยอดรวม 10 เดือน มีมูลค่า 222,736.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 15.7% เปิดโพยสินค้าโตแรง ลำไย ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผลไม้ อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน เหล็ก อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ คาดทั้งปีจะโตสูงถึง 15-16% เกินกว่าเป้า 4 เท่าตัว 

       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนต.ค.2564 มีมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.4% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่มี.ค.2564 และคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 750,016 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 23,108.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.6% ขาดดุลการค้ามูลค่า 370.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดส่งออกรวม 10 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 222,736.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.7% คิดเป็นเงินบาท มีมูลค่า 6,952,186 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 221,089.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 31.3% เกินดุลการค้า 1,646.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

      สำหรับ การส่งออก พบว่า กลุ่มสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น 22.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ลำไยสด เพิ่ม 97.7% ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง หลังจากเคยกังวลเมื่อช่วงต้นปี ที่มีปัญหาการส่งออก ยางพารา เพิ่ม 51.7% ขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง ข้าว เพิ่ม 33.7% ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 29.5% ขยายตัว 12 เดือน มะม่วงสด เพิ่ม 27% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง

      กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้น 13.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน สินค้าสำคัญที่เพิ่ม เช่น น้ำตาลทราย เพิ่ม 111.6% ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 28.7% และอาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 14.4% ขยายตัวมา 25 เดือนต่อเนื่อง ถือเป็นสินค้าดาวรุ่งที่รุ่งมาต่อเนื่อง

      สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 13.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เพิ่ม 67.3% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง เหล็ก เพิ่ม 35.9% ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่ม 20.6% ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่ม 18.6% ขยายตัว 11 เดือน และรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 10.3% ขยายตัว 12 เดือนต่อเนื่อง

      ทางด้านตลาดส่งออกที่มีตลาดขยายตัวสูง 10 ตลาด ได้แก่ รัสเซียและ CIS ซึ่งเป็นตลาดใหม่ เพิ่ม 78.8% เอเชียใต้ เป็นตลาดใหม่ทั้งอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เพิ่ม 50.4% อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่ม 39.7% แอฟริกา เป็นตลาดใหม่เป้าหมายที่จะไปบุก เพิ่ม 38.8% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 33.2% เกาหลีใต้ เพิ่ม 30.6% CLMV เพิ่ม 19.8% สหรัฐฯ เพิ่ม 16.1% จีน เพิ่ม 14.1% และลาตินอเมริกา เพิ่ม 14.1%

      นายจุรินทร์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขเดือนต.ค.เป็นบวก มาจากการดำเนินการตามแผนการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง และผลักดันการส่งออกเป็นรายสินค้า เช่น มันสำปะหลัง การเดินหน้าตามแผนงานยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ คือ รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ฟื้นฟูตลาดเก่า เศรษฐกิจการค้าโลกมีการเติบโตต่อเนื่อง ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในเดือนต.ค. อ่อนสุดในรอบ 4 ปี และราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกี่ยวเนื่องส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้น

      ทั้งนี้ ปัจจุบันการส่งออกรวม 10 เดือน เพิ่มขึ้น 15.7% และทั้งปี ประเมินว่าจะขยายตัว 15-16% มีความเป็นไปได้ เกินไปจากเป้า 4 เท่าตัว โดยหากเพิ่มขึ้น 15% มูลค่าทั้งปีจะทำได้รวม 266,379 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่ม 16% จะทำได้มูลค่ารวม 268,696 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนเป้าหมายการส่งออกในปี 2565 จะมีการประชุม กรอ.พาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ และจากนั้นจะมีการประเมินเป้าหมายอีกครั้ง

 1AA1A3A10

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนตุลาคม 2564

      การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (750,016 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 17.4 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 12.2 การส่งออกของไทยยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าของไทยมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการเติบโตทั้งในสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.7 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.6 สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง

      กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปียังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง จากการดำเนินตามแผนผลักดันการส่งออก ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย และมีจำนวนประชากรได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภค และการส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

      นอกจากนี้ สถาบัน IHS Markit ได้เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) เดือนตุลาคม 2564 ที่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 จากการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าขั้นกลางเป็นหลัก และดัชนีย่อยคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ (New Export Order) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเช่นกันเป็นเดือนที่ 14 สะท้อนมุมมองบวกของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

     กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 1) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์

     3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 4) สินค้าขั้นกลางหรือสินค้าวัตถุดิบ เช่น เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยางยานพาหนะ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ยังขยายตัวได้ดี

 QIC 580x400

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

      เดือนตุลาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,108.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 34.6 ดุลการค้าขาดดุล 370.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 222,736.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.7 การนำเข้า มีมูลค่า 221,089.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 31.3 ดุลการค้า 10 เดือนแรก เกินดุล 1,646.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

      เดือนตุลาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 750,015.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 772,540.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 43.3 ดุลการค้า ขาดดุล 22,524.1 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 6,952,185.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.0 การนำเข้า มีมูลค่า 6,999,330.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.8 ดุลการค้า 10 เดือนแรกขาดดุล 47,114.8 ล้านบาท 

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

      มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 18.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 51.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดียและเกาหลีใต้) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 28.7 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 33.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดเบนิน โกตดิวัวร์ จีน อังโกลา และอิรัก)

      ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 29.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 111.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน และลาว) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 14.2 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย แต่ขยายตัวดีในตลาดออสเตรเลีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 18.9 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเยอรมนี แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และไอร์แลนด์)

     เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 10.7 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน สปป.ลาว และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดกัมพูชา และสหรัฐฯ) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.4 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร แต่ขยายตัวดีในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ หดตัวร้อยละ 47.7 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา ญี่ปุ่น และไต้หวัน แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา จีน อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.8

sme 580x400 

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

      มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 13.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 67.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย สิงคโปร์ และกัมพูชา) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐฯ เม็กซิโก อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 18.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย)

      อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 20.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเบลเยียม) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 35.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 4.6 กลับมาหดตัวในรอบ 17 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน และอินเดีย)

      อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 6.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และไต้หวัน แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และเกาหลีใต้)

     เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 29.3 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และมาเลเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอียิปต์) 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.5

 

ตลาดส่งออกสำคัญ

      การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกปรับดีขึ้น

     ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.4 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 16.1 จีน ร้อยละ 14.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 39.7 CLMV ร้อยละ 19.8 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 14.0 ขณะที่ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 2.0 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 17.8 ขยายตัวในตลาด เอเชียใต้ ร้อยละ 50.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 33.2 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 38.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 14.1 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 78.8 ขณที่ ทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 7.3 และ 3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 2.4

 hino2021

ตลาดสหรัฐฯ

      ขยายตัวร้อยละ 16.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 20.0

ตลาดจีน

     ขยายตัวร้อยละ 14.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน)สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ ผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และทองแดง เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 26.1

ตลาดญี่ปุ่น

       หดตัวร้อยละ 2.0 (หดตัวในรอบ 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบไก่แปรรูป และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 11.7

ตลาดอาเซียน (5)

      ขยายตัวร้อยละ 39.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย รถยนต์และส่วนประกอบ อากาศยานและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 14.9

ตลาด CLMV

      ขยายตัวร้อยละ 19.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.3

ตลาดสหภาพยุโรป (27)

      ขยายตัวร้อยละ 14.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 22.1

ตลาดเอเชียใต้

      ขยายตัวร้อยละ 50.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 55.4

ais 580x400

ตลาดอินเดีย

      ขยายตัวร้อยละ 58.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 58.4

ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25)

      หดตัวร้อยละ 7.3 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็กและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 12.5

ตลาดตะวันออกกลาง (15)

      ขยายตัวร้อยละ 33.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 19.0

ตลาดทวีปแอฟริกา (57)

       ขยายตัวร้อยละ 38.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว เครื่องยนต์สันดาป รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 25.7

ตลาดลาตินอเมริกา (47)

      ขยายตัวร้อยละ 14.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาป ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 38.3

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS

      ขยายตัวร้อยละ 78.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องยนต์สันดาป เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 30.1

 

แนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564

      การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดี สะท้อนจาก (1) ทิศทางการค้าโลกขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 (2) ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย (3) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และการเตรียมเปิดประเทศในหลายประเทศ ส่งผลดีต่อภาคการค้า (4) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ และ (5) มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การค้าชายแดนเริ่มคลี่คลาย โดยด่านการค้าสำคัญจะกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง

      สำหรับ แผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มอบหมายให้หน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ มาตรการส่งเสริมการส่งออกในระยะถัดไป ได้แก่ การผลักดันการส่งออกมันสำปะหลังไทยให้มีคุณภาพอันดับ 1 ของโลก ตามยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทยปี 2564 - 2567 การเร่งรัดความตกลง RCEP ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว

       หลังจากที่ไทยยื่นให้สัตยาบันแล้ว เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าไทย การเจรจาเปิดด่านการค้าสำคัญเพื่อลดอุปสรรคการส่งออกหลังวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย รวมไปถึงการเดินหน้าตามแผนรักษาตลาดเดิม สร้างตลาดใหม่ และฟื้นฟูตลาดเก่าที่เสียไป โดยมีกระทรวงพาณิชย์ ทีมเซลล์แมนประเทศ และกรอ.พาณิชย์ ที่จะร่วมกันเดินหน้าผลักดันการส่งออกของไทย ให้ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤติโควิด-19

 โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

SAM720x100px bgGC 790x90

 

 

 

 

QIC 720x100

sme 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!