WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3Aภูสิต รัตนกุล

DITP ชี้เป้านักธุรกิจไทยลงทุน Cloud Kitchen ในอินเดีย

    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ชี้เป้าไทยลงทุนพื้นที่ครัวให้เช่าสำหรับร้านอาหาร (Cloud Kitchen) ในอินเดีย หลังพบมีโอกาสเติบโตสูง รองรับความต้องการสั่งซื้อไปรับประทานที่บ้าน ชี้ยังเป็นโอกาสในการเปิดให้เช่าทำอาหารไทย เหตุอาหารไทยกำลังเติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง

      นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ค้นหาโอกาสในการลงทุนทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการของไทย ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยล่าสุดได้รับรายงานผลการสำรวจตลาดพื้นที่ครัวให้เช่าสำหรับร้านอาหาร หรือ Cloud Kitchen ในตลาดอินเดีย จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี พบว่า กำลังอยู่ในช่วงการเติบโต ตามการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารในอินเดีย จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ที่จะพิจารณาเข้าไปลงทุน Cloud Kitchen ในอินเดีย

QIC 580x400

      ทั้งนี้ มีข้อมูลยืนยันจาก RedSeer Management Consulting ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ คาดการณ์ว่าธุรกิจ cloud kitchen ในอินเดียจะเติบโตอย่างรวดเร็วจาก 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 เป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2567 อันเป็นผลจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากที่นิยมออกไปรับประทานอาหารที่ร้านเพื่อลดความจำเจจากการรับประทานอาหารที่บ้านไปเป็นการสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มขึ้น

      โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ทำให้การนั่งรับประทานอาหารในร้านต้องหยุดชะงัก และการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าขณะนี้จะมีการผ่อนคลายมาตรการให้ผู้คนสามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้แล้ว แต่การสั่งอาหารยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

      ขณะเดียวกัน ชาวอินเดียยังนิยมสั่งอาหารโดยเฉลี่ยประมาณ 6-7 ครั้งต่อเดือน แม้จะยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ครั้งแต่เดือน แต่กลับหมายถึงโอกาสที่ธุรกิจจัดส่งอาหารในอินเดียจะเติบโตได้อีกมาก และอีกธุรกิจที่จะเติบโตตาม คือ cloud kitchen จะกลายเป็นโมเดลร้านอาหารในรูปแบบที่ไม่มีหน้าร้านสำหรับส่งอาหารตามบ้าน ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในอินเดีย

       สำหรับ โมเดลธุรกิจของ cloud kitchen หรือบางครั้งเรียก ghost kitchen หรือ dark kitchen แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบหุ้นส่วนที่เป็นธุรกิจเทคโนโลยีด้านอาหาร อย่างเช่น Swiggy จัดสรรพื้นที่ครัวให้แก่เชฟและร้านอาหารบนแพลตฟอร์มของตน ส่วนใหญ่ครัวหนึ่งจะมีร้านอาหาร 6-8 ร้านใช้ร่วมกัน โดยเก็บค่าสมาชิกจากร้านอาหารที่มาใช้พื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมค่าเช่าสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่เก็บของค่าล้างจาน เป็นต้น เชฟและร้านอาหารมีหน้าที่บริหารธุรกิจของตน

ais 580x400

       ส่วนหุ้นส่วนทำหน้าที่โปรโมตร้านอาหารในเครือบน แพลตฟอร์ม ส่วนแบบที่สอง คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารตั้งครัวกลางขึ้นมาเองสำหรับแบรนด์ในเครือของตนที่นำเสนออาหารต่างประเภทกัน และทำหน้าที่จัดการทั้งการโปรโมตและการดำเนินธุรกิจ

       ด้านนางสาวสายทอง สร้อยเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัท RedSeer ประเมินว่าอินเดียมีร้านอาหารอยู่ประมาณ 2.8 ล้านแห่ง แต่มีอยู่เพียงประมาณ 7 แสนแห่ง ที่เป็นระบบ ส่วนที่เหลืออาจเป็นร้านขนาดเล็กหรือไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งหมายถึงมีช่องว่างสำหรับอาหารคุณภาพอีกมาก ซึ่ง cloud kitchen ได้ช่วยเข้ามาเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว

       สำหรับ โอกาสในการลงทุน cloud kitchen ของผู้ประกอบการไทย ยังมีช่องว่างอีกมาก โดยเฉพาะการเปิดให้เช่าพื้นที่ครัวกลาง เพื่อทำอาหารไทย เพราะอาหารไทยเองเริ่มเป็นที่นิยมในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันมี cloud kitchen ที่เริ่มทำอาหารไทยแล้ว เช่น ครัว Kin Thai , Thai Naam , Azuma Kara Asian Kitchen เป็นต้น โดยบริการขายอาหารไทยที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคอินเดีย เช่น ส้มตำ ต้มยำกุ้ง ยำวุ้นเส้น หมูสะเต๊ะ ผัดไทย ข้าวซอย ผัดผัก แกงเขียวหวาน และแกงพะแนง เป็นต้น

       หากมีการเข้าไปลงทุน มั่นใจว่าจะมีผู้สนใจไปเช่าและใช้บริการทำอาหารไทย เพื่อจำหน่ายในอินเดียตามแนวโน้มความนิยมการสั่งอาหารเดลิเวอรี ซึ่งจะทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จัก และขยายตัวในตลาดอินเดียเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

      สำหรับ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

 

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J

SAM720x100px bgGC 790x90

 

 

 

 

QIC 720x100

sme 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!