WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1GIT Standard

สินิตย์ สั่งลุยดึงห้องปฏิบัติการเข้าร่วมใช้ GIT Standard เร่งยกระดับอุตฯ อัญมณี

     สินิตย์ สั่งการ GIT เร่งดึงห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในไทย เข้าร่วมใช้ GIT Standard เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า และสร้างภาพลักษณ์ไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก “สุเมธ”รับนโยบาย เตรียมลุยเพิ่มห้องปฏิบัติการเข้าร่วม เผยล่าสุดมีการประกาศมาตรฐานอีกหลายมาตรฐาน

      นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ว่า ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการสร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ หรือ GIT Standard เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

     โดยได้สั่งการให้ GIT เร่งผลักดันให้ห้องปฏิบัติการทุกแห่งในประเทศไทยเข้าร่วมใช้ GIT Standard ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค แต่ยังช่วยให้ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า มีความมั่นใจในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกได้

    “ไทยมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า เปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมา ยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการใด ๆ ที่จะนำมาปรับใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่าสากล เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติได้ ซึ่ง GIT ได้เข้ามาแก้ปัญหาตรงจุดนี้ และผลักดันให้มีมาตรฐานการตรวจสอบขึ้นมา ถือเป็นการทำงานเชิงรุก ก็ขอให้เร่งเดินหน้าผลักดันให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบนำไปใช้ให้มีจำนวนมากขึ้นโดยเร็ว”นายสินิตย์กล่าว

     นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ GIT กล่าวว่า GIT รับนโยบายของนายสินิตย์ และจะเร่งรัดผลักดันให้ห้องปฏิบัติการเข้าร่วมใช้ GIT Standard ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการในประเทศไทยให้เทียบเท่าระดับสากล เพราะจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้ห้องปฏิบัติการ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการเชื่อถือได้ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย สมกับการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลก

     ปัจจุบัน GIT ได้ประกาศใช้มาตรฐานหลักเกณฑ์ GIT Standard จำนวน 3 ขอบข่าย ได้แก่ 1.ข้อกำหนดทั่วไปในการขึ้นทะเบียน 2.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้เครื่องหมาย 3.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ และด้านมาตรฐานวิธีวิเคราะห์และทดสอบอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 9 ขอบข่าย ได้แก่ 1.เพชร วิธีการตรวจสอบประเภทของเพชร ด้วยเครื่อง FTIR spectrometer 2.เพชร การจัดระดับความสะอาด 3.เพชร การจัดระดับสี 4.เพชร การประเมินคุณภาพการเจียระไน 5.เพชร การจัดระดับการเรืองแสง 6.เพชร การชั่งน้ำหนัก 7.วิธีการตรวจสอบหยก และเฝ่ยฉุ้ย (Fei Cui) 8.วิธีการตรวจสอบชนิดหยกและเฝ่ยฉุ้ย (Fei Cui) ด้วยเครื่องรามานสเปกโตรสโคป และ 9.วิธีการตรวจสอบชนิดหยกและเฝ่ยฉุ้ย (Fei Cui) ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์

       ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2563 GIT ได้ประกาศใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ในเฟสแรก จำนวน 5 ขอบข่าย ได้แก่ 1.วิธีมาตรฐานสำหรับการทดสอบอัญมณี 2.การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ ด้วยวิธี Cupellation (Fire Assay) 3.การวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์ทองคำ ในตัวอย่างโลหะมีค่าโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) 4.การวิเคราะห์หาความหนาทองคำ ในตัวอย่างเครื่องประดับชุบโลหะมีค่า โดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) และ 5.การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงิน โดยเทคนิค Potentiometric Titration ด้วยเครื่อง Auto Titrator

      อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางมาเยี่ยม GIT ครั้งนี้ นายสินิตย์ยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและโลหะมีค่า พร้อมฟังบรรยายกระบวนการ การตรวจสอบอัญมณีประเภทต่าง ๆ โดยนักอัญมณีศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งห้องปฏิบัติการของ GIT เป็นแห่งเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 : 2017 และได้เยี่ยมชม GIT TEMP Pop-Up Store จุดจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาค ซึ่งเป็นการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

QIC 580x400 

hino2021

sme 580x400

ais 580x400

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!