WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3Aน้ำมันขึ้นแรง

น้ำมันขึ้นแรง ผักสดราคาขยับ ดันเงินเฟ้อต.ค.เพิ่ม 2.38% ขยายตัว 2 เดือนติด

    เงินเฟ้อต.ค.64 เพิ่มขึ้น 2.38% ขยายตัว 2 เดือนติดต่อกัน หลังราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นแรง บวกกับผักสดที่ราคาสูงขึ้น ส่วนยอดรวม 10 เดือน เพิ่ม 0.99% คาดแนวโน้มยังเป็นขาขึ้น แต่ไม่น่าจะขึ้นมาก เหตุรัฐบาลเข้ามาดูแลราคาน้ำมัน ผักสดราคามีทิศทางขยับลง คาดทั้งปียังอยู่ในกรอบ 0.8-1.2%

      นายรณรงค์ พูนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนต.ค.2564 เท่ากับ 101.96 เทียบกับเดือนก.ย.2564 เพิ่มขึ้น 0.74% เทียบกับต.ค.2563 เพิ่มขึ้น 2.38% เป็นการกลับมาขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้น 0.99% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 100.59 ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2564 และเพิ่มขึ้น 0.21% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2563 และเฉลี่ย 10 เดือน เพิ่มขึ้น 0.23%

     สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนต.ค.2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้น มีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มสูงขึ้นราคาราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้น 37.09% ตามราคาตลาดโลก และสินค้ากลุ่มอาหารสดบางชนิดปรับตัวสูงขึ้น เช่น ผักสด ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพิ่ม 7.08% และราคาไข่ไก่ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งกลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน นอกบ้าน และเครื่องประกอบอาหาร ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน และค่าบริการแต่งผมชาย เป็นต้น

       ส่วนกลุ่มที่ฉุดเงินเฟ้อ มาจากการลดลงของสินค้ากลุ่มอาหารสดอื่น ๆ เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผลไม้สด และค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา ที่ลดลงจากมาตรการภาครัฐ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับความต้องการและปริมาณผลผลิต

hino2021 

      สำหรับ เดือนต.ค.2564 มีสินค้าที่ปรับขึ้นราคา 226 รายการ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ผักกาดขาว ผักคะน้า แตงกวา ผักบุ้ง ไข่ไก่ ไก่ย่าง อาหารกลางวัน เป็นต้น สินค้าลดลง 133 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร เงาะ มะม่วง หัวหอมแดง มะนาว ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียมอุดมศึกษาภาครัฐบาล เป็นต้น และสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงราคา 71 รายการ

      นายรณรงค์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในช่วงที่เหลืออีก 2 เดือนของปีนี้ จะยังคงเป็นขาขึ้น คงไม่สูงเท่าเดือนต.ค.2564 แต่ยังคงสูงอยู่ โดยมีปัจจัยจากราคาน้ำมัน ที่แม้จะมีทิศทางเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงการขนส่ง แต่รัฐบาลได้เข้ามาดูแล ทำให้ราคาไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากไปกว่านี้

      และยังมีปัจจัยกระตุ้นการบริโภคจากการเปิดประเทศ การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาคธุรกิจดำเนินการได้ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น แต่ผักสด ที่ราคาเคยสูง แนวโน้มราคาน่าจะปรับตัวลดลง เพราะผลผลิตจะเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และสินค้าอาหารสดอื่น ๆ เช่น ข้าว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

      ทั้งนี้ สนค.ประเมินว่า เงินเฟ้อทั้งปี 2564 จะอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ที่เฉลี่ยระหว่าง 0.8–1.2% ค่ากลางอยู่ที่ 1.0% ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง แต่หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ก็จะมีการทบทวนอีกครั้ง

1AA1A3A1FDI5

สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนตุลาคม 2564 ????

? ภาพรวม

          ดัชนี ราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนตุลาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.38 (YoY) จากร้อยละ 1.68 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก ประกอบกับสินค้าในกลุ่มอาหารสดบางชนิด โดยเฉพาะผักสดได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ และไข่ไก่ราคายังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

        นอกจากนี้ อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และเครื่องประกอบอาหาร ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดอื่น ๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด สำหรับสินค้าอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับความต้องการและปริมาณผลผลิต ยกเว้น สินค้ากลุ่มอาหารสดราคาค่อนข้างผันผวนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

          เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนนี้ ปัจจัยสำคัญนอกจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์โลกแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและประชาชนมีกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ด้านอุปสงค์สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า และมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

     รวมถึงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้นร้อยละ 10.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.4 จากระดับ 42.1 ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะยังไม่อยู่ในระดับความเชื่อมั่น แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นในทุกภาคและทุกอาชีพ สำหรับด้านอุปทานสะท้อนได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าปีก่อน สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่สูงขึ้นร้อยละ 6.9

     อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรที่ราคาปรับลดลง และได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ได้ส่งผลให้รายได้เกษตรกรปรับตัวลดลงในรอบ 15 เดือน ซึ่งอาจจะกระทบอุปสงค์ภายในประเทศและเงินเฟ้อของไทยได้ในระยะต่อไป เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิด

      เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.21 (YoY) จากร้อยละ 0.19 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สำหรับเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.74 (MoM) และเฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค.- ต.ค.) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.99 (AoA)

? แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายน 2564

      มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายในหลายพื้นที่จากการกระจายวัคซีนและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จะส่งผลดีต่อกำลังซื้อและการจับจ่าย ใช้สอยภายในประเทศ 2) น้ำมันเชื้อเพลิง ราคายังมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และบริการ รวมถึงการขนส่ง

     3) อุทกภัยในหลายพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดน้อยลง และส่งผลต่อระดับราคาต่อไป สำหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิตและความต้องการ

     อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดอาหารสดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะข้าว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ

    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.8 – 1.2 (ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.0) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

          ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติม ได้ที่

?? http://www.tpso.moc.go.th/th/node/8939

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!