WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1

พาณิชย์ เผย ธ.ก.ส. เตรียมจ่ายเงินส่วนต่างข้าวงวดแรกให้ชาวนา 9 พ.ย.นี้

     จุรินทร์ ตามติดการจ่ายเงินส่วนต่างโครงการประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้ชาวนา หลัง ครม.รับทราบเรื่องงบ เผย ธ.ก.ส.เตรียมจ่ายงวดแรกในวันที่ 9 พ.ย.นี้

     นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาราคาข้าวอย่างใกล้ชิด และหลังจากการรายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2564 ไปแล้ว นายจุรินทร์ได้ติดตามกระบวนการทำงานของระบบราชการเกี่ยวกับการจ่ายเงินงวดแรกของโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 2564/65 ในสถานการณ์ราคาข้าวปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นงานในหน้าที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการจ่ายเงินส่วนต่าง

      ทั้งนี้ ตามกฎหมายต้องจ่ายภายใน 3 วัน หลังคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ประกาศราคาอ้างอิง ซึ่งถือว่าประกาศเป็นทางการวันที่ 4 พ.ย.2564 เพราะมีข้อทางเทคนิคที่ต้องรายงาน ครม. ได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับอัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2564 ซึ่งกรมการค้าภายในได้จัดให้ทำการหารือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2564 และได้นำเสนอในการประชุม ครม. เพื่อรับทราบแล้ว”นางมัลลิกากล่าว

     “เมื่อประกาศลงวันที่ 4 พ.ย.2564 ต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ธนาคาร ธ.ก.ส. ดำเนินการระบบการโอนเงิน วันนี้ (5 พ.ย.) เป็นวันศุกร์ แล้วติดเสาร์-อาทิตย์ จึงตรวจสอบเบื้องต้นจาก ธ.ก.ส. เพื่อให้พี่น้องประชาชนชาวนาได้สบายใจ ทางธนาคารแจ้งว่าจะสามารถโอนเงินได้วันที่ 9 พ.ย.2564 ซึ่งไม่เกินจากวันที่ประกาศกำหนดไว้ จึงแจ้งมาด้วยความห่วงใยจากรัฐบาลและรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์”นางมัลลิกากล่าว

      สำหรับ การประกาศราคาอ้างอิง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2564 เห็นชอบการกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 หรืองวดที่ 1 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ที่ระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ต.ค.2564 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

      ข้าวเปลือกหอมมะลิ 10,864.23 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 4,135.77 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 10,407.75 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 3,595.25 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 9,947.87 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 1,052.13 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 8,065.38 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 1,934.62 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 7,662.53 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 4,337.47 บาท

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรจะได้รับเงินส่วนต่างสำหรับงวดที่ 1 สูงสุด ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 57,900.78 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 57,524 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 26,303.25 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 58,038.6 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 69,399.52 บาท

1aaaวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม


พาณิชย์ เร่งดึงราคาข้าว ไฟเขียวโรงสีนอกพื้นที่ซื้อข้าวเหนียว เปิดตลาดนัดข้าวเปลือก

      กรมการค้าภายในเร่งแก้ไขปัญหาข้าวราคาตก ไฟเขียวผู้ประกอบการนอกพื้นที่เข้าไปช่วยรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือ 13 จุด ใน 7 จังหวัด และเปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ให้ผู้รับซื้อเข้าไปซื้อในพื้นที่ๆ มีผู้ซื้อไม่เพียงพออีก 30 จุด ใน 19 จังหวัด คาดแนวโน้มราคาดีขึ้นต่อเนื่อง หลังส่งออกดีขึ้น การบริโภคข้าวในประเทศเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ และน้ำท่วมคลี่คลาย ย้ำแม้ราคาข้าวต่ำลง แต่มีประกันรายได้คอยชดเชยส่วนต่าง

      นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาข้าวที่กำลังออกสู่ตลาดและชะลอตัวในขณะนี้ โดยกรมฯ ได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการนอกพื้นที่เข้าไปช่วยรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 13 จุด ใน 7 จังหวัด ตั้งแต่เดือนต.ค.2564 และอนุมัติโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกให้มีผู้รับซื้อเข้าไปแข่งขันรับซื้อในพื้นที่ ๆ มีผู้รับซื้อไม่เพียงพอต่อผลผลิต เพื่อให้เกิดการแข่งขันและราคา จำนวน 30 จุด ใน 19 จังหวัด

      ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ข้าวมีแนวโน้มดีขึ้น จากการส่งออกข้าวในขณะนี้ที่มีทิศทางที่ดีจากคำสั่งซื้อต่างประเทศที่มีมากขึ้น ค่าเงินปัจจุบันที่อ่อนตัวลง ทำให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าหมาย 6 ล้านตันที่ตั้งไว้ ขณะที่การบริโภคข้าวในประเทศ ก็มีสัญญาณดีขึ้นเช่นกัน จากการผ่อนคลายเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ ทำให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมก็เริ่มคลี่คลายลง รวมทั้งมีมาตรการคู่ขนานและมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปแก้ไขปัญหา จะส่งผลให้สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกในตลาดดีขึ้นเป็นลำดับ

      ส่วนราคาข้าวที่ตกต่ำในช่วงนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งด้านความต้องการส่งออกข้าวไปต่างประเทศและการบริโภคในประเทศที่ลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา พายุดีเปรสชั่นเข้าสู่ประเทศไทยส่งผลให้มีฝนตกชุก และหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลต่อคุณภาพข้าว โดยราคาข้าวจะขึ้นอยู่กับความชื้นและคุณภาพ หากเกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายให้กับโรงสีทันที ข้าวมีความชื้นสูงประมาณ 30% เรียกข้าวสด ไม่สามารถนำไปสีได้ทันที ต้องลดให้เหลือที่ความชื้นมาตรฐานไม่เกิน 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการซื้อขายข้าวตามโครงการของรัฐบาล

      ยกตัวอย่างกรณีที่เกษตรกรจำหน่ายข้าวเปลือกหอมมะลิที่ความชื้น 30% ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 8.10 บาท หรือตันละ 8,100 บาท เมื่อคำนวณเป็นข้าวแห้ง มีราคาตันละ 10,500 บาท หรือกรณีจำหน่ายข้าวเปลือกเหนียวที่ความชื้น 30% ในราคา กก. ละ 5.6 บาท หรือตันละ 5,600 บาท เมื่อคำนวณเป็นข้าวแห้ง มีราคาตันละ 7,300 บาท ทั้งนี้ ราคาที่เกษตรกรได้รับ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและสิ่งเจือปนด้วย 

      อย่างไรก็ตาม แม้ราคาข้าวจะลดต่ำลง แต่เกษตรกรยังได้รับการดูแลภายใต้โครงการประกันรายได้ ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนาน ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติวงเงิน 18,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2564 ที่ผ่านมา โดยราคาเป้าหมายประกันรายได้ ปี 2564/65 กำหนดราคาข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15%

    ดังนี้ 1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน 2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน 3.ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน 4.ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน 5.ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

      สำหรับ มาตรการคู่ขนาน ก็ยังคงหลักการเช่นเดียวกับปีก่อน โดยให้เกษตรกรรวบรวมจัดเก็บไว้ในยุ้งฉาง ได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท และเพิ่มสภาพคล่องในการรับซื้อข้าวเปลือกแก่สหกรณ์และโรงสีโดยชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลา 2-6 เดือน

สำหรับโรงสี และ 1 ปี สำหรับสหกรณ์

hino2021

เดินหน้าจ่ายเงินประกันรายได้ ปี 3

       นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการประกันรายได้ข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนาน วงเงิน 18,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปหารือร่วมกัน เกี่ยวกับต้นทุนเงิน ของ ธ.ก.ส. ในการดำเนินโครงการประกันรายได้ให้มีความชัดเจนและรายงานคณะมนตรีเพื่อทราบก่อนดำเนินการต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

      และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง ธ.ก.ส. จะสามารถจ่ายเงินงวดแรกได้ภายในวันอังคารหน้านี้ สำหรับราคาเป้าหมายประกันรายได้ข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้ 1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน 2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน 3) ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน 4) ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน 5) ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

      สำหรับ การจ่ายเงินชดเชยตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 งวดที่ 1 คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง มีมติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เห็นชอบราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงสำหรับเกษตรกรที่แจ้งเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลังระหว่างวันที่ 5-14 ตุลาคม 2564 และภายหลังคณะรัฐมนตรีได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับต้นทุนของ ธกส แล้ว เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 คณะอนุกรรมการฯ ได้ออกประกาศกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและชดเชยส่วนต่างข้าวแต่ละชนิด งวดที่ 1 ดังนี้

      ข้าวเปลือกหอมมะลิ 10,864.23 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 4,135.77 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 10,407.75 บาท/ตัน ชดเชยตันละ  3,592.25 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี  9,947.87 บาท/ตัน ชดเชยตันละ1,052.13 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 8,065.38 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 1,934.62 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 7,662.53 บาท/ตัน ชดเชยตันละ  4,337.47 บาท ซึ่ง ธ.ก.ส. จะได้ดำเนินการโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีให้แก่เกษตรกรภายใน 3 วันทำการ ต่อไป

      นอกเหนือจากการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายใต้โครงการประกันรายได้ ปี 2564/65 แล้ว ยังมีมาตรการคู่ขนาน ที่ให้เกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉางตนเองได้รับค่าฝากเก็บ ตันละ 1,500 บาท กรณีสถาบันเกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท สมาชิกได้รับตันละ 500 บาท เป้าหมาย 2 ล้านตันข้าวเปลือก (เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีเป้าหมาย 1.8 ล้านตัน) และเพิ่มสภาพคล่องในการรับซื้อแก่สถาบันเกษตรกร และโรงสีในการรับซื้อข้าวเปลือก

      โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% เป้าหมายสถาบันเกษตรกร 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก ผู้ประกอบการเป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้อนุมัติการเปิดจุดรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 7 จังหวัด และอนุมัติโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกใน 19 จังหวัด ในพื้นที่ที่มีโรงสีไม่เพียงพอ เพื่อโรงสีต่างพื้นที่เข้าไปแย่งรับซื้อข้าวในพื้นที่เพื่อให้เกิดการแข่งขันราคา

      จากสถานการณ์การส่งออกข้าวมีทิศทางที่ดีจากคำสั่งซื้อต่างประเทศที่มีมากขึ้น ในช่วง 6 เดือนหลัง ค่าเงินปัจจุบันที่อ่อนตัวลง ราคาข้าวในประเทศที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งคาดว่าปริมาณการส่งออกทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าหมาย 6 ล้านตันที่ตั้งไว้ ประกอบกับได้สถานการณ์การข้าวทั้งในประเทศในขณะนี้มีสัญญานดีขึ้นเช่นกันจากการผ่อนคลายเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมที่เริ่มคลี่คลายลง รวมทั้งมาตรการคู่ขนานและมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปแก้ไขปัญหาจึงคาดว่าจะส่งผลให้สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกในตลาดดีขึ้นเป็นลำดับ

พาณิชย์ชี้สถานการณ์ข้าวมีแนวโน้มดีขึ้น

      นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า จาก สถานการณ์ราคาข้าวที่ลดต่ำลงในช่วงนี้เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการทั้งด้านความต้องการส่งออกข้าวไปต่างประเทศและการบริโภคในประเทศที่ลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาพายุดีเปรสชั่นเข้าสู่ประเทศไทยส่งผลให้มีฝนตกชุก และหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมส่งผลต่อคุณภาพข้าว โดยราคาข้าวจะขึ้นอยู่กับความชื้นและคุณภาพ ปัจจุบันเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวและจำหน่ายให้กับโรงสีทันที ซึ่งมีความชื้นสูงประมาณ 30% เรียกข้าวสดไม่สามารถนำไปสีได้ทันที ต้องลดให้เหลือที่ความชื้นมาตรฐานไม่เกิน 15%

      กรณีที่เกษตรกรจำหน่ายข้าวเปลือกหอมมะลิที่ความชื้น 30% ที่ กก.ละ 8.10 บาท หรือตันละ 8,100 บาท เมื่อคำนวณเป็นข้าวแห้ง มีราคาตันละ 10,500 บาท หรือกรณีจำหน่ายข้าวเปลือกเหนียวที่ความชื้น 30% ในราคา กก. ละ 5.6 บาท หรือตันละ 5,600 บาท เมื่อคำนวณเป็นข้าวแห้ง มีราคาตันละ 7,300 บาท  อย่างไรก็ตามราคาที่เกษตรกรได้รับขึ้นอยู่กับคุณภาพและสิ่งเจือปนด้วย ทั้งนี้ในการซื้อขายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับราคาข้าวตามโครงการของรัฐบาลที่ผ่านๆ มาจะใช้ราคา ณ ความชื้น 15% เป็นเกณฑ์มาตรฐาน

     อย่างไรก็ตามแม้ว่าราคาข้าวจะลดต่ำลงแต่เกษตรกรยังได้รับการดูแลภายใต้โครงการประกันรายได้ ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงิน 18,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว โดยราคาเป้าหมายประกันรายได้ ปี 2564/65 กำหนดราคาข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้ 1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน

     2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน 3) ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน 4) ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน 5) ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน สำหรับมาตรการคู่ขนานก็ยังคงหลักการเช่นเดียวกับปีก่อนโดยให้เกษตรกรรวบรวมจัดเก็บไว้ในยุ้งฉาง

       โดยได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท และเพิ่มสภาพคล่องในการรับซื้อข้าวเปลือกแก่สหกรณ์และโรงสีโดยชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลา 2-6 เดือน สำหรับโรงสี และ 1 ปี สำหรับสหกรณ์

     ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวที่กำลังออกสู่ตลาดและชะลอตัวในขณะนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งกรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการนอกพื้นที่เข้าไปช่วยรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 13 จุด ใน 7 จังหวัด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 และอนุมัติโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกให้มีผู้รับซื้อเข้าไปแข่งขันรับซื้อในพื้นที่ที่มีผู้รับซื้อไม่เพียงพอต่อผลผลิต เพื่อให้เกิดการแข่งขันและราคา จำนวน 30 จุด  ใน 19 จังหวัด

      จากสถานการณ์การส่งออกข้าวในขณะนี้มีทิศทางที่ดีจากคำสั่งซื้อต่างประเทศที่มีมากขึ้น ในช่วง 6 เดือนหลัง ค่าเงินปัจจุบันที่อ่อนตัวลง ราคาข้าวในประเทศที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งคาดว่าปริมาณการส่งออกทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าหมาย 6 ล้านตันที่ตั้งไว้ ประกอบกับได้สถานการณ์การข้าวในประเทศ

     ในขณะนี้มีสัญญานดีขึ้นเช่นกันจากการผ่อนคลายเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ ซึ่งจะทำให้ความต้องการบริโภค มีมากขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมที่เริ่มคลี่คลายลง รวมทั้งมาตรการคู่ขนานและมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปแก้ไขปัญหาจึงคาดว่าจะส่งผลให้สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกในตลาดดีขึ้นเป็นลำดับ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!