WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 1aaa1Mกีรติ รัชโน

คต. เผยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA และ GSP 7 เดือนแรกโต 36.23%

     นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 มีมูลค่า 46,394.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 77.30 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 44,178.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 2,216.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ โดยภาพรวม การใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.23

      การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) 7 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่า 44,178.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.30 มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 78.17 โดยตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาเซียน (มูลค่า 15,409.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2) จีน (มูลค่า 14,773.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 3) ออสเตรเลีย (มูลค่า 4,893.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 4) ญี่ปุ่น (มูลค่า 4,072.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 5) อินเดีย (มูลค่า 2,645.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ไทย-เปรู (ร้อยละ 100) 2) อาเซียน-จีน (ร้อยละ 93.84) 3) ไทย-ญี่ปุ่น (ร้อยละ 79.12) 4) อาเซียน-เกาหลี (ร้อยละ 72.51) และ 5) ไทย-ชิลี (ร้อยละ 70.67)

      การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ 7 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,216.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.98 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 63.30 ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 1,973.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 66.30 อันดับสองคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 153.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.56

      และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 38.78 อันดับสามคือ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 79.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.68 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 70.88 และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 9.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.40 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 59.97 สำหรับสินค้าส่งออกที่มีการใช้สิทธิฯ สูง อาทิ มะพร้าวปรุงแต่ง ซอสปรุงรส น้ำ/เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารปรุงแต่ง สับปะรดกระป๋อง กระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ เนื้อปลาแบบฟิลเล สด แช่เย็น แช่แข็ง ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม

hino2021

      ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 ไทยมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเพื่อส่งออกภายใต้กรอบ FTA ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทิศทางการส่งออก อาทิ ไทย-เปรู (เพิ่มขึ้นร้อยละ 132.51) อาเซียน-อินเดีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.72) อาเซียน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.70) อาเซียน-จีน (เพิ่มขึ้น 32.47) เป็นต้น และหลายตลาดเริ่มกลับมาฟื้นตัวหลังจากหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ไทย-อินเดีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91) และ อาเซียน-ญี่ปุ่น (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.89) สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง

    ประกอบไปด้วยสินค้าหลากหลาย ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องดื่ม และเกษตร อาทิ แผ่นและแถบทำด้วยอะลูมิเนียม (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ ทำหรือชุบด้วยเงิน (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) เครื่องปรับอากาศ (อาเซียน) ทุเรียนสด (อาเซียน-จีน) ผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วง มังคุด (อาเซียน-จีน) โพลิไวนิลคลอไรด์ (อาเซียน-อินเดีย) ปลาซาร์ดีนปรุงแต่ง (อาเซียน-ญี่ปุ่น) เครื่องซักผ้าเกิน 10 ก.ก. (อาเซียน-เกาหลี) ถุงมือยาง (ไทย-ชิลี) เครื่องแต่งกายและของที่ใช้ประกอบกับเครื่องแต่งกาย (ไทย-เปรู) เป็นต้น

     หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทร สายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี ‘@gsp_helper’

คต. เผยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA และ GSP 8 เดือนแรก โตต่อเนื่อง 36.46%

       นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 7,341.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.29 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 6,206.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มีมูลค่า 53,804.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 79.13 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 51,277.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 2,526.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ โดยภาพรวม การใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.46

      การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 7,030.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.07 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 5,904.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่า 51,277.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.50 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 80.09 โดยตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก

      ได้แก่ 1) จีน (มูลค่า 17,771.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2) อาเซียน (มูลค่า 17,384.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 3) ออสเตรเลีย (มูลค่า 5,609.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 4) ญี่ปุ่น (มูลค่า 4,662.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 5) อินเดีย (มูลค่า 3,029.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาเซียน – จีน (ร้อยละ  97.33) 2) ไทย – เปรู (ร้อยละ 93.24) 3) ไทย – ชิลี (ร้อยละ 92.57) 4) ไทย – ญี่ปุ่น (ร้อยละ 79.75) และ 5) อาเซียน – เกาหลี (ร้อยละ  69.05)

      การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 310.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 301.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการใช้สิทธิฯ ภายใต้ GSP ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,526.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.59 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 63.69 ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,255.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.94

    และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 67.10 อันดับสองคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 169.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.33 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 36.74 อันดับสามคือ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 90.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.86 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 71.44 และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 11.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.91 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 64.33

      สำหรับ สินค้าส่งออกที่มีการใช้สิทธิฯ สูง อาทิ ข้าวโพดหวาน อาหารปรุงแต่ง เนื้อสัตว์แปรรูป ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง เนื้อปลาแบบฟิลเล สด แช่เย็น แช่แข็ง ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส มะพร้าวปรุงแต่ง น้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

      ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 ไทยมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเพื่อส่งออกภายใต้กรอบ FTA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าที่มากขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวม และการคลายมาตรการล็อคดาวน์ของประเทศต่างๆ อาทิ อินเดีย นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้ผลักดันมาตรการสนับสนุนการส่งออก และการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างต่อเนื่องของกรมฯ ทำให้การใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.50 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นสูง (ร้อยละ 80.09)

    สำหรับ สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง ประกอบไปด้วยสินค้าหลากหลาย ทั้งสินค้าอุตสาหกรรม อาหาร/เครื่องดื่ม และเกษตร อาทิ รถยนต์เพื่อขนส่งของ/รถยนต์เพื่อขนส่งบุคคล (อาเซียน, อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, ไทย-ชิลี, อาเซียน-จีน) เครื่องปรับอากาศ (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, ไทย-อินเดีย) ตู้เย็น (ไทย-อินเดีย) เนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง (ไทย-ญี่ปุ่น) กุ้งปรุงแต่ง (อาเซียน-ญี่ปุ่น) ปลาซาร์ดีนปรุงแต่ง (อาเซียน-ญี่ปุ่น) ทุเรียนสด (อาเซียน-จีน) ผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วง มังคุด (อาเซียน-จีน) ยางธรรมชาติ (อาเซียน-เกาหลี) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโตชนิดซาร์ดา (กระป๋อง) (ไทย-ชิลี) ด้ายทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์เป็นต้น

     หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทร สายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี ‘@gsp_helperง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!