WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1RCEP

จุรินทร์ เผยไทยยื่นให้สัตยาบัน RCEP แล้ว คาดต้นปี 65 FTA ใหญ่สุดของโลกบังคับใช้

    จุรินทร์ เผยไทยยื่นให้สัตยาบันความตกลง RCEP แล้ว คาดม.ค.65 มีผลบังคับใช้ ระบุจะเกิดเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย หลังสินค้า 29,891 รายการลดภาษี 0% ทันที และยังได้ประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเน่าเสีย ที่มีความรวดเร็วขึ้น การค้าออนไลน์ที่มีกฎ กติกา ชัดเจนขึ้น และยังดึงดูดการลงทุน ขยายการค้าบริการ

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2564 ที่ผ่านมา ไทยได้ยื่นให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ซึ่งการบังคับใช้ กำหนดเงื่อนไขไว้ คือ ต้องมีประเทศอาเซียนไม่น้อยกว่า 6 ประเทศจาก 10 ประเทศ ให้สัตยาบัน และประเทศนอกอาเซียนที่มี 5 ประเทศ อย่างน้อย 3 ประเทศ รวมเป็น 3+6 เป็น 9 ประเทศ

     และขณะนี้กลุ่มอาเซียนมีแนวโน้มว่าจะให้สัตยาบันครบ 6 ประเทศแล้ว ประกอบด้วย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา และเวียดนาม รวมทั้งไทย ที่เพิ่งยื่นให้สัตยาบัน ส่วนประเทศนอกอาเซียน มีจีนกับญี่ปุ่นยื่นไปแล้ว ถ้ามีอีกหนึ่งประเทศ ก็ถือว่าครบตามเงื่อนไข โดยคาดว่าต้นปีหรือเดือนม.ค.2565 จะมีผลบังคับใช้

    สำหรับ ความตกลง RCEP หลังบังคับใช้ จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรรวมกันถึง 2,300 ล้านคน คิดเป็น 30% ของประชากรโลก และทำให้กลุ่มประเทศ RCEP มีจีดีพี 33.6% ของจีดีพีโลก หรือ 1 ใน 3 ของจีดีพีโลก มูลค่าการค้าประมาณ 30% ของมูลค่าการค้าโลก

     ทั้งนี้ RCEP จะเป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไทย โดยการส่งออกภาษีเป็น 0% อย่างน้อย 39,366 รายการ โดยลดเหลือ 0% จำนวน 29,891 รายการทันทีที่บังคับใช้ ตลาด RCEP จะเป็นการเพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าไทยหลายรายการ เช่น ผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น

    และไทยจะได้รับการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะในการส่งออก เมื่อสินค้าไปสู่ด่าน ถ้าเป็นสินค้าเน่าเสีย ผู้ค้าจะต้องปล่อยสินค้าภายในเวลา 6 ชั่วโมง จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกผลไม้ ผัก และสินค้าเน่าเสียหลายรายการของไทย

     นอกจากนี้ จะมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ หรือระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ประกอบการการค้าออนไลน์มีตลาดกว้างขึ้น มีกฎเกณฑ์กติกาชัดขึ้น และผู้บริโภคของไทย ก็จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากการนำเข้าสินค้าผ่านระบบออนไลน์ จากประเทศสมาชิก RCEP

     ขณะเดียวกัน ไทยจะได้รับประโยชน์ในการที่มีผู้มาลงทุน และยังสามารถส่งออกสินค้าบริการไปยังสมาชิกได้มากขึ้น โดยภาคบริการที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจการก่อสร้าง ในกลุ่มประเทศอาเซียน เรามีศักยภาพแข่งขันได้ดีมากประเทศหนึ่ง การค้าปลีก การไปเปิดห้างสรรพสินค้าต่างๆ

      รวมทั้งการให้บริการด้านสุขภาพ ภาพยนตร์ และผลิตภัณฑ์ด้านบันเทิงแอนิเมชัน เป็นต้น และไทยยังมีทางเลือกในการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนจากประเทศสมาชิกที่มีความหลากหลายขึ้น นี่ก็คือประโยชน์ที่ได้รับจาก RCEP ที่เป็นรูปธรรม

     รายงานข่าวจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แจ้งว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ RCEP ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้สนใจ สามารถศึกษาผ่านศูนย์บริการ RCEP Center ของกระทรวงพาณิชย์ได้ โดยสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์โทร 02-507-7555 หรือเว็บไซต์ www.dtn.go.th

          สำหรับ การค้าระหว่างไทย–RCEP มีมูลค่ารวม 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7.87 ล้านล้านบาท คิดเป็น 57.5% ของการค้ารวมของไทย โดยไทยส่งออกไป RCEP มูลค่า 1.23 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.83 ล้านล้านบาท คิดเป็น 53.3% ของการส่งออกไทยไปโลก ไทยนำเข้าจาก RCEP มูลค่า 1.29 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.04 ล้านล้านบาท คิดเป็น 62.1% ของการนำเข้าไทยจากโลก 

กรมเจรจาฯ’ รับลูก ‘จุรินทร์’ ดันผู้ประกอบการผลไม้ไทยใช้ FTA ขยายส่งออก

         กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รับนโยบาย ‘จุรินทร์’ เดินหน้าผลักดันผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกผลไม้ไทย หลัง 12 ประเทศคู่เอฟทีเอ ไม่เก็บภาษีนำเข้าผลไม้สดแช่แข็งและแห้งที่ส่งออกจากไทยแล้ว เผยยังได้สิทธิ์ลดภาษีภายใต้ RCEP เพิ่มขึ้น ชี้! ในช่วง 9 เดือน ไทยส่งออกผลไม้ไปประเทศคู่ FTA สัดส่วนสูงถึง 97% ทุเรียนนำโด่งส่งออกพุ่ง 67% ตามด้วยมะม่วง ลำไย เงาะ และมังคุด

          นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ที่ให้ทีมเซลล์แมนเร่งหาตลาดให้ผลไม้ไทยทั้งในและต่างประเทศ โดยกรมฯ ได้เร่งผลักดันให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออก ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อขยายตลาดส่งออกผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศคู่ FTA ของไทย ที่ไม่เก็บภาษีนำเข้ากับผลไม้ส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทยแล้ว

          นางอรมน กล่าวว่า ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ โดยคู่ FTA 12 ประเทศ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู บรูไนฯ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และฮ่องกง ไม่เก็บภาษีนำเข้ากับผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง ที่ส่งออกจากไทยทุกชนิดแล้ว ส่วนอีก 6 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ไม่เก็บภาษีนำเข้ากับผลไม้ส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทยเช่นกัน

      นอกจากนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น ได้เปิดตลาดให้ผลไม้และน้ำผลไม้จากไทยเพิ่มเติมด้วย เช่น เกาหลีใต้ ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ากับทุเรียนสดและมังคุดสดส่งออกจากไทย และจีน ยกเลิกการเก็บภาษีน้ำสัปปะรดและน้ำมะพร้าวส่งออกจากไทย เป็นต้น

     นางอรมน เพิ่มเติมว่า จากการติดตามสถิติในช่วง 9 เดือน (ม.ค. – ก.ย. 2564) พบว่า ไทยส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและผลไม้แห้งไปทั่วโลก มูลค่ารวม 5,164.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึง 52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่งออกไปประเทศที่ไทยมี FTA สัดส่วนสูงถึง 97% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด

      โดยประเทศที่ส่งออกผลไม้ไทยขยายตัว เช่น จีน (+81%) มาเลเซีย (+129%) อินโดนีเซีย (+106%) สิงคโปร์ (+60%) เกาหลีใต้ (+41%) และญี่ปุ่น (+9%) ผลไม้ไทยที่ส่งออกขยายตัวได้ดี เช่น ทุเรียนสด (+67%) มะม่วงสด (+53%) ลำไยสด (+54%) เงาะสด (+33%) และมังคุดสด (+15%)

      นอกจากนี้ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกผลไม้อันดับที่ 7 ของโลก โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อน ได้แก่ ทุเรียนสด มังคุดสด และลำไยสด ซึ่งเป็นผลไม้ยอดนิยมที่ไทยครองแชมป์ส่งออกสูงเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ขณะที่ไทยส่งออกมะม่วงสด อันดับที่ 2 ในอาเซียน (รองจากเวียดนาม) และเป็นอันดับที่ 7 ของโลก

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!