WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A6

ดัชนี เชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น คาดเปิดประเทศหนุนฟื้นตัวอีก

     สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จับมือ ศอ.บต. ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ พบไตรมาส 3 ฟื้นตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.87 อยู่ในช่วงมีความเชื่อมั่น คาดหลังเปิดประเทศ ความเชื่อมั่นฟื้นตัวต่อเนื่อง เหตุเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวฟื้นตัว 

      นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประมาณ 34,000 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นไตรมาสที่ 3 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้โดยรวมไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ในช่วงเชื่อมั่นที่ระดับ 51.87 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 50.90 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นของความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ส่วนด้านความมั่นคง ดัชนีปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย

      ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามิติของความเชื่อมั่นในปัจจุบันและในอนาคต พบว่า ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ระดับ 54.88 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นมาโดยตลอดทั้ง 3 ไตรมาส ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น ระดับ 48.14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ยังมีมุมมองเชิงบวกและมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการเปิดประเทศ ที่จะส่งผลให้การค้า ธุรกิจ การท่องเที่ยว กลับมาดำเนินการได้ และส่งผลให้เกิดรายได้ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้นต่อไป

      สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า ในไตรมาสนี้ทุกจังหวัดมีความเชื่อมั่นโดยรวมสูงขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่ดัชนีปรับตัวกลับมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่น

      นายรณรงค์ กล่าวว่า จากการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนในพื้นที่ พบว่า เรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ร้อยละ 67.05 รองลงมา ได้แก่ เรื่องรายได้ตกต่ำ ร้อยละ 57.98 เรื่องค่าครองชีพ ราคาสินค้าและบริการสูง ร้อยละ 55.59 การว่างงาน ร้อยละ 48.90 และปัญหายาเสพติด ร้อยละ 44.73 ส่วนความต้องการที่ประชาชนต้องการให้ช่วยเหลือ แก้ไขมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เรื่องลดภาระค่าครองชีพและราคาสินค้า การมีงานทำและรายได้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ราคาสินค้าเกษตร และความไม่สงบในพื้นที่

      พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและนักธุรกิจในพื้นที่เริ่มกลับมาดีขึ้น โดยเชื่อว่าการเปิดประเทศ จะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อสินค้าของประชาชน และยังมีแผนจะเร่งเปิดด่าน เพื่อให้เกิดกิจการต่างๆ สามารถดำเนินการได้ ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้ามาท่องเที่ยว ซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจมีความคึกคักและเกิดการหมุนเวียนในภาคธุรกิจ ภาคการผลิต ทั้งนี้ ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐช่วยในเรื่องของการเสริมสภาพคล่อง เงินกู้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการในการทำธุรกิจต่อไป

1AA1A3A4

สนค. และ ศอ.บต. เผยดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ ไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น

      พล.ร.ต. สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกันแถลงผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้ โดย สนค. และ ศอ.บต. ได้ร่วมกันดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประมาณ 34,000 คน ในพื้นที่ 5 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นไตรมาสที่ 3 โดยการสำรวจดังกล่าวเป็นการสอบถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อีกทั้งยังมีการสำรวจประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในพื้นที่อีกด้วย

      ผอ. สนค. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้โดยรวมไตรมาสที่ 3 ปี 2564 อยู่ในช่วงเชื่อมั่น ที่ระดับ 51.87 ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 50.90 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการสูงขึ้นของความเชื่อมั่น ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม สำหรับด้านความมั่นคงดัชนีปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย และเมื่อพิจารณามิติของความเชื่อมั่นในปัจจุบันและในอนาคต พบว่า ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2

     โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในอนาคตอยู่ที่ระดับ 54.88 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นมาโดยตลอดทั้งสามไตรมาส ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น (ระดับ 48.14) ชี้ว่าแม้ประชาชนจะยังมีความกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ยังมีมุมมองเชิงบวกและมีความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นมาโดยตลอด สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นจังหวัดชายแดนใต้จำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า ในไตรมาสนี้ทุกจังหวัดมีความเชื่อมั่นโดยรวมสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาที่ดัชนีปรับตัวกลับมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่น

     ผอ.สนค. กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนในพื้นที่ พบว่า เรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ร้อยละ 67.05) รองลงมาได้แก่ เรื่องรายได้ตกต่ำ (ร้อยละ 57.98) เรื่องค่าครองชีพ/ราคาสินค้าและบริการสูง (ร้อยละ 55.59) การว่างงาน (ร้อยละ 48.90) และปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 44.73) สำหรับความต้องการที่ประชาชนต้องการให้ช่วยเหลือ/แก้ไขมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เรื่องลดภาระค่าครองชีพ/ราคาสินค้า การมีงานทำและรายได้ การแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ราคาสินค้าเกษตร และความไม่สงบในพื้นที่

      เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเพิ่มเติมว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นสิ่งที่ภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ส่วนหน้า เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับดูแล ประสานงาน บูรณาการและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและคล่องตัว เพื่อลดการแพร่ระบาดในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

     และ ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์จะเร่งดำเนินการตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก จะดำเนินการตามมาตการ 17+1 โดยมาตรการ 17 ด้าน เป็นมาตรการที่ใช้ดำเนินการมาแล้วในภาคตะวันออก ส่วน +1 เป็นมาตรการเร่งรัดการเปิดด่านชายแดนใต้ เพื่อให้การระบายสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่านโยบายดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนใต้ได้อีกทางหนึ่ง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!