WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3AMOC5

สิ้นสุดลดค่าไฟฟ้า-ประปา น้ำมันขยับขึ้น ดันเงินเฟ้อก.ย.กลับมาขยายตัว 1.68%

     เงินเฟ้อ ก.ย.กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.68% หลังมาตรการลดค่าไฟฟ้า น้ำประปาสิ้นสุด ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และอาหารสดบางรายการปรับตัวสูงขึ้น คาดไตรมาส 4 ยังพุ่งต่อ พร้อมปรับเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีใหม่ เป็น 1% บวกลบ 0.2% 

      นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.ย.2564 เท่ากับ 101.21 เทียบกับเดือนส.ค.2564 เพิ่มขึ้น 1.59% เทียบกับ ก.ย.2563 เพิ่มขึ้น 1.68% เป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากหดตัวในเดือนที่ผ่านมา ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ก.ย.) เพิ่มขึ้น 0.83% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก พบว่า ดัชนี อยู่ที่ 100.59 เพิ่มขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2564 และเพิ่มขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.2563 และเฉลี่ย 9 เดือน เพิ่มขึ้น 0.23%

     สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนก.ย.2564 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล ทั้งการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ที่สิ้นสุดตั้งแต่เดือนส.ค.2564 และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงถึง 32.44% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเงินเฟ้อในเดือนนี้

     ส่วนปัจจัยที่ทอนเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นมาก เป็นผลจากสินค้าเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัว แม้กลุ่มอาหารสดจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้นไข่ไก่ที่ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก รวมถึงเครื่องประกอบอาหาร 

      สำหรับ เดือนก.ย.2564 มีสินค้าที่ปรับขึ้นราคา 183 รายการ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เม็ดพลาสติก ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผลปาล์มสด น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง น้ำตาลทราย เหล็กแผ่น เหล็กเส้น และเหล็กฉาก เป็นต้น สินค้าลดลง 92 รายการ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุกร ไก่ ผัก ผลไม้ มะพร้าวผล ทองคำ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และไม่เปลี่ยนแปลง 226 รายการ

      นายวิชานัน กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ที่ลดค่าไฟฟ้า น้ำประปา แต่ยังอุดหนุนน้ำมันดีเซล แต่เบนซินไม่มีมาตรการ และมีการผ่อนคลายกิจกรรมจากโควิด-19 ที่จะทำให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจะกลับมา มีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเป็นระยะ ๆ บวกกับการอ่อนค่าของเงินบาท ที่กระทบต้นทุนนำเข้าน้ำมัน การผลิต และอาหารสดที่มีความผันผวน เช่น ข้าว ที่ยังต่ำกว่าปีที่แล้ว ผักและผลไม้ ที่มีความผันผวน รวมปัจจัยทั้งหมดนี้ จะทำให้เงินเฟ้อไตรมาส 4 ขยายตัวอยู่ในช่วง 1.4-1.8% ถือว่าค่อนข้างสูง ตลอดทั้ง 3 เดือนที่เหลือ

     ทั้งนี้ สนค.ได้ปรับประมาณการเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2564 ใหม่ จากเดิมคาดการณ์ 0.7-1.2% มีค่ากลางอยู่ที่ 1.2% ปรับเป็น 1% บวกลบ 0.2% หรืออยู่ระหว่าง 0.8-1.2% โดยมีสมมติฐานจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) 0.7-1.2% ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ย 65-70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.5-32.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แม้ว่าเงินบาทขณะนี้เริ่มอ่อนค่าลง แต่เฉลี่ย 9 เดือนที่ผ่านมา ยังแข็งค่ากว่าปีที่แล้ว

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ????

? ภาพรวม

            ดัชนี ราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 1.68 หลังจากที่หดตัว ร้อยละ 0.02 ในเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัว

       ยกเว้นสินค้ากลุ่มอาหารสดที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไข่ไก่ที่ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมากแต่แนวโน้มราคาเริ่มลดลงตามลำดับ

      เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน อาทิ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า มูลค่าการส่งออกสินค้า รายได้เกษตรกร ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งยังสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ชี้ว่าราคาสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในระยะต่อไปยังมีแรงส่งจากราคาสินค้าในภาคการผลิตบางชนิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป

            เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY) เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 0.07 ในเดือนก่อน

            เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.59 (MoM) ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เทียบกับ    ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.70 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (QoQ) และเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (AoA)

? แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564

       เงินเฟ้อในไตรมาสสุดท้ายของปี หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มเติม จะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญจาก 1) แนวโน้มราคาน้ำมันยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราเพิ่มที่น้อยกว่าช่วงที่ผ่านมา 2) แนวโน้มสถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามลำดับ และ 3) แนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดอาหารสดบางชนิด โดยเฉพาะ ข้าว ผักสดและผลไม้สด ยังคงมีแนวโน้มต่ำกว่า   ปีก่อน และมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ขณะที่สถานการณ์โควิดยังคงเป็นความเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ

     ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ระหว่าง ร้อยละ 1.0 ± 0.2 หรืออยู่ในช่วงร้อยละ 0.8 – 1.2

H download

 

 

 

เงินเฟ้อก.ย.กลับมาขยายตัว 1.68%

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!