WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1Aกระเทียม

พาณิชย์ เร่งรัดติดตาม MOU การรับซื้อกระเทียม ช่วยเกษตรกรเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน ล่าสุดนำร่องไปแล้ว 500 ตัน และทยอยซื้อเรื่อยๆ

    จากการที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาช่วยเกษตรกรโดยประชุมวางแผนเชิงรุกรองรับการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะกระเทียม พืชชนิดหัวที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 ที่ผ่านมานั้น

     มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งรัดติดตามรายงานผลการรับซื้อกระเทียมปี 2563/2564 จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระเทียมนั้น กองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด กรมการค้าภายในได้ประสานงานผู้ประกอบการที่ลงนามตามสัญญาโดยจับคู่ 10 เอกชนผู้ซื้อกับ 8 กลุ่มเกษตรกรผู้ขาย ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบการรับซื้อกระเทียมสดและกระเทียมแห้ง

      ในส่วนกระเทียมสดนั้น ได้ทยอยรับซื้อไปแล้วตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อยมาประมาณ 500 ตัน ในราคาที่ 13.50-14 บาท และกำลังทยอยรับซื้อเรื่อยๆ ซึ่งพรุ่งนี้ (4 มีนาคม 2564) จะมีรับซื้อที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการ คือ บจก.มาตาเทรดดิ้ง นายทรงศักดิ์ สาระวรรณา บจก.นิธิฟู้ดส์ บจก.ยิ่งไพศาลการเกษตร เป็นต้น

     ในส่วนกระเทียมแห้งนั้นใช้มาตรการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 เพื่อให้เกษตรกรเก็บสต๊อกไว้ขายแบบแห้งให้กับผู้ประกอบการ เช่น บจก.บีวายที ฟู้ดซัพพลาย บจก.ตะวันพืชผล บจก.อโกรไทย ยูเนี่ยน ร้านทองคำทางบุญช่วยเครื่องต้มยำ บจก.อุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์ และตลาดแม่พยอม เป็นต้น ซึ่งกระเทียมแห้งนี้จะส่งว่าของกันในวันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

    “ซึ่งโครงการนี้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 นี้ทางเกษตรกรต้องการให้จังหวัดของตนเร่งดำเนินการด้านเอกสารให้แล้วเสร็จภายในมีนาคม ทั้งนี้เพื่อเกษตรกรจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และพาณิชย์จังหวัดได้ดำเนินการเข้าคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรระดับจังหวัดแล้ว มีมติยืนยันจะดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้วทั้งกระเทียมและหอมหัวใหญ่ซึ่งเป็นพืชหัว ทั้งนี้เป็นโครงการที่เกษตรกรเก็บผลผลิตสดเพื่อเก็บสต๊อกผลิตเป็นกระเทียมแห้ง เพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการจะรับซื้อในช่วงเดือนเมษายน” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

   นางมัลลิกา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามทั้งหมดเป็นมาตรการเชิงรุกซึ่งนายจุรินทร์ นำคณะกระทรวงพาณิชย์ลงพื้นที่รับเรื่องจากเกษตรกรแล้วนำประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเนื่องจากตอนต้นปีมีปัญหาเกี่ยวกับการตกเขียวที่กิโลกรัมละ 8 บาท ทำให้ต้องกำหนดมาตรการเสริมช่วงที่ผลผลิตกระเทียมออกสู่ตลาดมากคือเดือนมีนาคม รวมทั้งมาตรการชะลอการขายนั้นด้วยการใช้มาตรการของกระทรวงพาณิชย์นั้นให้ผู้ประกอบการรับซื้อในจำนวนไม่ต่ำกว่า 7,000 ตัน ที่กระเทียมสด กก.ละ 13.50 บาท เพื่อนำร่องยกระดับด้านราคา

     ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในแต่ละปีไทยมีผลผลิตกระเทียมสดได้ 230,000 ตัน หรือคิดเป็นกระเทียมแห้ง 80,000 ตัน แต่การบริโภคกระเทียมแห้งภายในประเทศ 170,000 ตัน จึงต้องนำเข้ากระเทียมแห้งอีกประมาณ 60,000 ตัน โดยการนำเข้ายึดเงื่อนไขตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) และเสียภาษีนำเข้า 57% เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ขณะเดียวกันรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้กำชับฝ่ายความมั่นคงให้ตรวจตราสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายเพื่อไม่ให้กระทบกับเกษตรกรด้วย

พาณิชย์ ตามผลช่วยเหลือผู้ปลูกกระเทียม ยันเอกชนเริ่มซื้อแล้ว ทั้งแบบสดแบบแห้ง

     พาณิชย์ ติดตามผลการซื้อขายกระเทียมภาคเหนือ หลัง 'จุรินทร์'ขึ้นไปวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า เผยเอกชนเริ่มซื้อแล้ว 500 ตัน ในราคานำตลาดกิโลละ 13.50-14.00 บาท และจะซื้อต่อเนื่อง ทั้งแบบสดและแห้ง ระบุหากเกษตรกรเก็บกระเทียมสดไว้รอขายแห้ง จะได้รับชดเชยดอกเบี้ย 3% และมีเอกชนรอซื้อแน่นอน

     นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามรายงานผลการรับซื้อกระเทียมปี 2563/2564 จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน โดยพบว่า ในส่วนกระเทียมสด ได้ทยอยรับซื้อไปแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.2564 ซื้อเรื่อยมาประมาณ 500 ตัน ในราคากิโลกรัม (กก.) ละ 13.50-14 บาท และกำลังทยอยรับซื้อต่อเนื่อง และในวันที่ 4 มี.ค.2564 จะมีรับซื้อที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการ คือ บจก.มาตาเทรดดิ้ง นายทรงศักดิ์ สาระวรรณา บจก.นิธิฟู้ดส์ และ บจก.ยิ่งไพศาลการเกษตร เป็นต้น

    ทั้งนี้ ยังมีกำหนดที่จะซื้อกระเทียมแห้ง โดยจะส่งของกันในวันที่ 1 เม.ย.2564 เป็นต้นไป โดยเกษตรกรจะเก็บกระเทียมสดไว้ขายแบบแห้งให้กับผู้ประกอบการ โดยเกษตรกรจะได้รับชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อเก็บสต๊อกไว้ขาย มีผู้ประกอบการที่รอซื้อ เช่น บจก.บีวายที ฟู้ดซัพพลาย บจก.ตะวันพืชผล บจก.อโกรไทย ยูเนี่ยน ร้านทองคำ บุญช่วยเครื่องต้มยำ บจก.อุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์ และตลาดแม่พยอม เป็นต้น 

     “โครงการชดเชยดอกเบี้ย 3% เกษตรกรต้องการให้จังหวัดเร่งดำเนินการด้านเอกสารให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2564 เพื่อเกษตรกรจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยพาณิชย์จังหวัดได้ดำเนินการเข้าคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรระดับจังหวัดแล้ว มีมติยืนยันจะดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้ว ทั้งกระเทียมและหอมหัวใหญ่”นางมัลลิกากล่าว

    สำหรับ การดำเนินโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นจากมาตรการเชิงรุกที่นายจุรินทร์ ได้นำคณะผู้บริหารจากกระทรวงพาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2564 เพื่อหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ประกอบการ และเกษตรกร โดยมีมาตรการแก้ปัญหากระเทียมในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก คือ ดึงผู้ประกอบการรับซื้อกระเทียมจากเกษตรกรในราคาที่ชี้นำตลาดกก.ละ 13.50 บาท ปริมาณไม่ต่ำกว่า 7,000 ตัน มีผู้ประกอบการตกลงร่วมกับกลุ่มเกษตรกร 8 กลุ่ม

     ในแต่ละปี ไทยมีผลผลิตกระเทียมสดได้ 230,000 ตัน หรือคิดเป็นกระเทียมแห้ง 80,000 ตัน แต่การบริโภคกระเทียมแห้งภายในประเทศ 170,000 ตัน จึงต้องนำเข้ากระเทียมแห้งอีกประมาณ 60,000 ตัน โดยการนำเข้ายึดเงื่อนไขตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) และเสียภาษีนำเข้า 57% เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค แต่เพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบนำเข้า นายจุรินทร์ได้กำชับฝ่ายความมั่นคงให้ตรวจตราสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อไม่ให้กระทบกับเกษตรกรด้วย

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!