WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a Bวีรศักดิ์

วีรศักดิ์ ลงพื้นที่อุบลราชธานี-ศรีสะเกษ หารือแผนช่วยเหลือประชาชน-ภาคธุรกิจ

     วีรศักดิ์ ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ 4-5 ก.พ.นี้ ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ติดตามปัญหา รับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่ ทั้งการดูแลสินค้าเกษตร การรับมือภัยแล้ง การค้าชายแดน

       นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้กำหนดลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 4-5 ก.พ.2564 และจะเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อติดตามปัญหาความเดือดร้อน รับฟังข้อเสนอแนะ และหาแนวทางในการแก้ปัญหา ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้ดูแลปัญหา แก้ปัญหา ให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

       โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้ จะเป็นการไปติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษว่าเป็นอย่างไร และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในด้านไหน ทั้งการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น โครงการคนละครึ่ง สถานการณ์พืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์  การบริหารจัดการภัยแล้งปี 2564 และปัญหาการค้าชายแดน เป็นต้น รวมถึงจะมีการติดตามปัญหาและแนวทางการป้องกันการลักลอบข้ามพรมแดน และประเด็นอื่นๆ ที่ต้องการให้ช่วยเหลือและผลักดัน

   นอกจากนี้ จะติดตามประเด็นปัญหาเดิมที่เคยได้มีการหยิบยกขึ้นมาหารือว่ามีการแก้ไขปัญหาคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านสินค้าเกษตร แรงงาน ค่าครองชีพ การทำธุรกิจ การขนส่งและโลจิสติสก์ รวมถึงปัญหาด้านภัยแล้ง และอื่นๆ

   “หลังจากที่ผมได้รับการมอบหมายให้ดูแลพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ ได้มาประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด กับคณะทำงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน กระทรวงพาณิชย์ มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยได้มีการนำเสนอประเด็นปัญหาต่างๆ หลายเรื่อง ทั้งปัญหาด้านเกษตร แรงงานถูกเลิกจ้าง ปัญหาการค้าขาย เส้นทางคมนาคมและขนส่งที่คับแคบ ปัญหาภัยแล้ง ความมั่งคงตามแนวชายแดน ซึ่งได้นำทุกเรื่องเสนอ ให้ครม. รับทราบ และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการแล้ว”นายวีรศักดิ์กล่าว

     ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ และยังได้แต่งตั้งรัฐมนตรีให้กับกำกับดูแลในแต่ละจังหวัด โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบจังหวัดอุบลราชธานีกับศรีสะเกษ

      ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงพาณิชย์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน กระทรวงพาณิชย์ 1 คณะ มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน มีรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีทุกกรม และมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ เป็นคณะทำงาน เพื่อติดตามปัญหา ให้ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ

วีรศักดิ์ ช่วยแก้ปัญหาค้าชายแดนอุบลฯ ไปสปป.ลาว ดันศรีสะเกษลดต้นทุนผลิตโคเนื้อ

     วีรศักดิ์”เผยผลประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เดินหน้าช่วยผู้ประกอบการจังหวัดอุบลราชธานีแก้ปัญหาการค้าชายแดน เพื่อให้ขายสินค้าเกษตรและประมงไปสปป.ลาวได้ ส่วนศรีสะเกษให้เหาทางลดต้นทุนการผลิตโคเนื้อ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ หวั่นกระทบภาคเกษตร พร้อมช่วยสร้างอัตลักษณ์สินค้า พัฒนานวัตกรรม เพิ่มรายได้ให้ชุมชน

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 4-5 ก.พ.2564 ว่า ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อติดตามปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา​การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี​ พบว่า มีการ​ปิดทำการด่านชายแดน จุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่อนปรนการค้าทุกจุดเป็นการชั่วคราว ยกเว้นจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็กเพียงจุดเดียว ที่ยังคงสามารถ​เปิดทำการเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าได้ ซึ่งก็มีปัญหา​ผู้ประกอบการ​ไม่สามารถส่งออกสินค้า​เกษตรและประมง​ออกไปจำหน่ายได้ ทำให้ได้รับผลกระทบ

       “ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด​อุบลราชธานี​เร่งประสานงานไปยังฝ่าย สปป.ลาว เพื่อพูดคุยแก้ปัญหา​ในระดับพื้นที่ก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับจังหวัด และต้องการการสนับสนุนในระดับกระทรวงหรือระดับรัฐบาล ก็ขอให้เสนอเข้ามาเพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา​แก้ไขปัญหา​ในที่ประชุม​คณะรัฐมนตรี (ครม.) ​ต่อไป”

       ทั้งนี้ ยังสั่งการให้ทำแผนจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ​ภาครัฐให้เร็วขึ้น หลังพบว่าจังหวัด​อุบล​ราชธานี​ยังเบิกจ่ายงบประมาณ​ไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่​ล่าช้า

       นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดศรีสะเกษ​ ​ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์​ให้จังหวัดศรีสะเกษ​เป็นจังหวัดต้นแบบในการนำร่องลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตร​ โดยเฉพาะ​การเลี้ยงโคเนื้อ​ลงให้ได้ 40% หลังพบว่าเกษตรกร​ยังมีปัญหา​ต้นทุนสูง ขาดความรู้ในการปรับปรุง​พันธุ์​ การเลี้ยง การจัดการ การป้องกันโรค และที่สำ​คัญ คือ ​ขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิต​ที่ได้จากการเลี้ยงโคลดลง และยังพบว่า มีปัญหา​การขาดแคลนน้ำอุปโภค​บริโภค​ ซึ่งทางจังหวัดได้เสนอแผนการแก้ไขปัญหาไปยังกระทรวงทรัพยา​กรธรรมชาติ​และสิ่งแวดล้อม​เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว

      “ได้รับปากจะเร่งผลักดันการแก้ปัญหา​เรื่องขาดแคลนน้ำของจังหวัดศรีสะเกษ​ในระดับนโยบาย​ เพราะน้ำเป็นต้นทุนของทุกชีวิต โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง หากไม่มีน้ำเพียงพอหล่อเลี้ยงต้นทุเรียน หอมแดง และพืชเกษตร​อื่นๆ จะกระทบกับรายได้เกษตร และภาคอุตสาหกรรม​ จึงต้องเร่งรัดผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา​อย่างเป็นรูปธรรม”นายวีร​ศักดิ์​กล่าว

      นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า ยังได้กำชับที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยระดับจังหวัด​ ทั้งจ.อุบล​ราชธานี​และศรีสะเกษว่าจะต้องดำเนินการตามมาตร​การทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดในทุกๆ มิติ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหา​โควิด-19 ระบาดระลอก 2 พร้อมต้องทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่อย่างเป็น​รูปธรรม​ เพื่อให้เศรษฐกิจ​ของจังหวัดฟื้นตัวอย่างชัดเจน เช่น การลดต้นทุน​การผลิต การสร้างอัตลักษณ์​สินค้าชุมชน และการสร้างนวัตกรรม​ในผลิตภัณฑ์​ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และยังสอดรับกับพฤติกรรม​ของผู้บริโภค​ในยุค New Normal และ Next Normal​ ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ​อนามัยมากขึ้น

      ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ และยังได้แต่งตั้งรัฐมนตรีให้กับกำกับดูแลในแต่ละจังหวัด โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบจังหวัดอุบลราชธานีกับศรีสะเกษ

วีรศักดิ์ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ ย้ำที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยต้องป้องกันไม่ให้มีปัญหา​โควิดระบาดระลอก 2  พร้อมสั่งเร่งรัดเจรจาแก้ปัญหาการค้าชายแดนเพื่อให้เกษตรกร​จำหน่ายผลผลิตได้ดีขึ้น และต้องทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่อย่างชัดเจน เน้นสร้างอัตลักษณ์​สินค้าชุมชน

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังได้ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 4-5 ก.พ.2564 ว่า จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อติดตามปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา​การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี​ พบว่า ขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานี​ได้ประกาศ​ปิดทำการด่านชายแดน จุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่อนปรนการค้าทุกจุดเป็นการชั่วคราว ยกเว้นจุดผ่านแดนถาวรช่องเม็กเพียงจุดเดียว ที่ยังคงสามารถ​เปิดทำการเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 ซึ่งก็มีปัญหา​ผู้ประกอบการ​ไม่สามารถส่งออกสินค้า​เกษตร​ออกไปจำหน่ายได้ โดยเฉพาะ​สินค้าประมง

         จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด​อุบลราชธานี​เร่งประสานงานไปยังฝ่าย สปป.ลาว เพื่อพูดคุยแก้ปัญหา​ในระดับพื้นที่ก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ในระดับจังหวัด และต้องการการสนับสนุนในระดับกระทรวงหรือระดับรัฐบาล ก็ขอให้เสนอเข้ามาเพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา​แก้ไขปัญหา​ในที่ประชุม​คณะรัฐมนตรี​ต่อไป นอกจากนี้ยังสั่งการให้ทำแผนจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ​ภาครัฐให้เร็วขึ้น หลังพบว่าจังหวัด​อุบล​ราชธานี​ยังเบิกจ่ายงบประมาณ​ไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่​ล่าช้า

       ในส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ​ รมช.พาณิชย์​ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดยุทธศาสตร์​ให้จังหวัดศรีสะเกษ​เป็นจังหวัดต้นแบบในการนำร่องลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตร​โดยเฉพาะ​การเลี้ยงโคเนื้อ​ลงให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์​ หลังพบว่าเกษตรกร​ยังมีปัญหา​ต้นทุนสูง ขาดความรู้ในการปรับปรุง​พันธุ์​ การเลี้ยงการจัดการ การป้องกันโรค และที่สำ​คัญคือ​ขสดแคลนพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิต​ที่ได้จากการเลี้ยงโคลดลง นอกจากนี้ จ.ศรีสะเกษ​ ยังมีปัญหา​การขาดแคลนน้ำอุปโภค​บริโภค​ ซึ่งทางจังหวัดได้เสนอแผนการแก้ไขปัญหาไปยังกระทรวงทรัพยา​กรธรรมชาติ​และสิ่งแวดล้อม​เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว

       "ผมรับปากจะเร่งผลักดันการแก้ปัญหา​เรื่องขาดแคลนน้ำของจังวัดศรีสะเกษ​ในระดับนโยบาย​ เพราะน้ำเป็นต้นทุนของทุกชีวิต โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง หากไม่มีน้ำเพียงพอหล่อเลี้ยงต้นทุเรียน หอมแดง และพืชเกษตร​อื่นๆ จะกระทบกับรายได้เกษตร และภาคอุตสาหกรรม​ จึงต้องเร่งรัดผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา​อย่างเป็นรูปธรรม" นายวีร​ศักดิ์​ กล่าว

       นอกจากนี้ รมช.พาณิชย์​ยังได้กำชับที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยระดับจังหวัด​ ทั้งจ.อุบล​ราชธานี​และศรีสะเกษ​ ว่าจะต้องดำเนินการตามมาตร​การทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดในทุกๆ มิติ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหา​โควิดระบาดระลอก 2 พร้อมทั้งต้องทำแผนช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่อย่างเป็น​รูปธรรม​ เพื่อให้เศรษฐกิจ​ของจ.อุบล​ราชธานี​และศรีสะเกษ​ ฟื้นตัวอย่างชัดเจน เช่น การลดต้นทุน​การผลิต และสร้างอัตลักษณ์​สินค้าชุมชนผ่านงานวิจัยพืชพันธุ์​ใหม่ และสร้างนวัตกรรม​ในผลิตภัณฑ์​ ให้สอดรับกับพฤติกรรม​ของผู้บริโภค​ในยุค New Normal และ Next Normal​ ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ​อนามัยมากขึ้น

      ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด เพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดยเริ่มจากปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนเร่งด่วน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วทันเหตุการณ์ และยังได้แต่งตั้งรัฐมนตรีให้กับกำกับดูแลในแต่ละจังหวัด โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบจังหวัดอุบลราชธานีกับศรีสะเกษ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!