WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1M อรมน ทรัพย์ทวีธรรม

กรมเจรจาฯ ลุยเปิดเอฟทีเอใหม่ 5 กรอบ 'อียู-เอฟตา-ยูเค-ยูเรเซีย-แคนาดา'

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกางแผนทำงานปี 64 เดินหน้าเปิดเจรจาทำเอฟทีเอใหม่ 5 กรอบระหว่างไทยกับอียู-เอฟตา-ยูเค-ยูเรเซีย และอาเซียน-แคนาดา เร่งปิดดีลเอฟทีเอคงค้าง 4 ฉบับ และอัพเกรดเอฟทีเอเดิม 4 ฉบับ พร้อมเร่งกระบวนการให้สัตยาบันความตกลงอาร์เซ็ป หวังให้ไทยได้ประโยชน์โดยเร็ว เผยยังจะเดินหน้าผลักดันตั้งกองทุนเอฟทีเอ เดินสายชี้แจงประโยชน์ และช่วยรับมือผลกระทบจากเอฟทีเอ

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงแผนการทำงานในปี 2564 ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า กรมฯ จะเร่งเดินหน้าเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับ 5 กลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู) สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (เอฟตา) ซึ่งประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ สหราชอาณาจักร (ยูเค) สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (อีเออียู) ประกอบด้วยคาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย คีร์กิซสถาน และรัสเซีย และอาเซียน-แคนาดา

       ทั้งนี้ จะเร่งเจรจาเพื่อปรับปรุงความตกลงเอฟทีเอภายใต้กรอบอาเซียน 4 ฉบับ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมในรายการสินค้าที่ยังไม่ได้ลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างกัน และยกระดับข้อบทความตกลงให้ทันสมัย สอดรับกับสภาพแวดล้อมและรูปแบบทางการค้าในปัจจุบัน และผลักดันให้มีการปิดการเจรจาเอฟทีเอที่ค้างอยู่ 4 ฉบับโดยเร็ว ได้แก่ ไทย-ตุรกี ไทย-ปากีสถาน ไทย-ศรีลังกา และไทย-บิมส์เทค ที่ประกอบด้วยบังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย

     ขณะเดียวกัน จะเร่งรัดดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อเสนอรัฐสภาให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ภายในกลางปีนี้ เพื่อเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงให้กับผู้ประกอบการของไทย

     นางอรมน กล่าวว่า กรมฯ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยจะเร่งหารือกับกรมบัญชีกลางและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างพระราชบัญญัติการขอจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เสนอต่อคณะทำงานพิจารณาแนวทางกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อเสนอระดับนโยบายต่อไป

       นอกจากนี้ จะพัฒนาระบบจับตามองทางการค้า สำหรับเฝ้าระวังและติดตามสถิติการนำเข้า-ส่งออกของไทยกับประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในประเทศ หากจำเป็นต้องนำมาตรการปกป้อง (เซฟการ์ด) และตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) มาใช้เพื่อเยียวยาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการทะลักเข้ามาปริมาณมาก หรือทุ่มตลาดของสินค้านำเข้า

     สำหรับ การผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ และการเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น กรมฯ จะร่วมมือกับพันธมิตร เช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ กลุ่มสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน เดินหน้าสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งกลุ่มเกษตรกร SME ภาคเอกชน และภาคประชาชน ผ่านรูปแบบการจัดฝึกอบรม สัมมนา ทั้งแบบลงพื้นที่จริง และรูปแบบออนไลน์

     ปัจจุบันไทยมีเอฟทีเอ 14 ฉบับ (รวมอาร์เซ็ป) กับ 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เปรู ชิลี อินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับ 18 ประเทศ มีมูลค่า 302,991.6 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 62.8% ของมูลค่าการค้าไทยกับโลก และในช่วง 11 เดือน ปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) การค้าของไทยกับ 18 ประเทศ มีมูลค่า 250,721.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 62.8% ของมูลค่าการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกมูลค่า 128,221.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก เป็นต้น และไทยนำเข้ามูลค่า 122,500.6 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!