WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1Mโสรดา เลิศอาภาจิ

บริษัทตั้งใหม่พ.ย. 4,479 ราย ลด 10% หลังคนชะลอทำธุรกิจ เหตุไม่อยากทำบัญชี-ส่งงบ

       กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยบริษัทตั้งใหม่เดือนพ.ย.63 มีจำนวน 4,479 ราย ลดลง 10% เป็นไปตามเทรนด์ของทุกปี หลังคนไม่นิยมลงทุนทำธุรกิจช่วงนี้ เหตุไม่อยากทำบัญชีและส่งงบการเงินของปี 63 ส่วนยอดตั้งใหม่รวม 11 เดือนทะลุ 6 หมื่นรายแล้ว คาดทั้งปี 6.3-6.4 หมื่นราย ส่วนปี 64 ตั้งเป้า 6.4-6.6 หมื่นราย

        นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจดทะเบียนธุรกิจในเดือนพ.ย.2563 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศจำนวน 4,479 ราย เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ลดลง 17% และเทียบเดือนพ.ย.2562 ลดลง 10% มีทุนจดทะเบียนมูลค่า 15,559 ล้านบาท เทียบกับต.ค.2563 ลดลง 64% เทียบกับพ.ย.2562 ลดลง 27% เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการจัดตั้งทำธุรกิจใหม่ เพราะเป็นช่วงปลายปี ไม่ต้องการที่จะทำบัญชีและจัดส่งงบการเงินของปีบัญชี 2563 ถือเป็นปกติของทุกปีที่การจดทะเบียนช่วงปลายปีจะเป็นแบบนี้ และคาดว่าการจดทะเบียนตั้งใหม่ในเดือนธ.ค.2563 ที่เหลืออีกเดือนเดียวของปีนี้ ก็จะลดลงเช่นเดียวกัน

        สำหรับ ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกของเดือนพ.ย.2563 ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคารและร้านอาหาร โดยธุรกิจบริการด้านอาหาร ถือว่ากำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาล โครงการคนละครึ่ง รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัวได้ดี พอมาเจอโควิด-19 ระบาดซ้ำ ก็เกิดการชะงัก

        ส่วนธุรกิจเลิกกิจการ มีจำนวน 2,457 ราย เทียบกับต.ค.2563 เพิ่มขึ้น 19% และเทียบกับพ.ย.2562 เพิ่มขึ้น 3% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 19,442 ล้านบาท เทียบกับต.ค.2563 เพิ่มขึ้น 150% และเทียบกับพ.ย.2562 เพิ่มขึ้น 162% โดยธุรกิจที่เลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรกสอดคล้องกับธุรกิจที่ตั้งใหม่ เพราะตั้งมากก็เลิกมาก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ ภัตตาคารและร้านอาหาร

        ขณะที่ยอดรวมการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วง 11 เดือนปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 60,053 ราย ลดลง 12% ทุนจดทะเบียนรวม 207,688 ล้านบาท ลดลง 32% และธุรกิจเลิกกิจการ มีจำนวน 14,907 ราย ลดลง 9% ทุนจดทะเบียน 75,133 ล้านบาท ลดลง 17% โดยคาดว่าทั้งปี 2563 จะมีการจดตั้งธุรกิจใหม่ประมาณ 63,000-64,000 ราย ลดลงจากปี 2562 ที่มีการจดตั้งใหม่รวม 71,485 ราย เพราะปี 2563 ประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการทำธุรกิจ

        ทั้งนี้ ในปี 2564 กรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายการตั้งธุรกิจใหม่อยู่ที่ 64,000-66,000 ราย ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่มีปัจจัยบวกและลบเพิ่มขึ้นไปกว่านี้ เพราะจริงๆ แล้ว แนวโน้มการจดทะเบียนตั้งใหม่ กำลังมีทิศทางดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่พอมาเจอโควิด-19 ระบาดรอบนี้ ก็ต้องรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะดูแลได้

        ล่าสุด มีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 พ.ย.2563) มีจำนวน 772,068 ราย มูลค่าทุน 18.67 ล้านล้านบาท แยกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 187,811 ราย คิดเป็น 24.33% บริษัทจำกัด จำนวน 582,979 ราย คิดเป็น 75.51% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,278 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

1aaa1MDBD25

การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

     นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผลการจดทะเบียนธุรกิจ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤศจิกายน 2563

        - จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวน 4,479 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 15,559 ล้านบาท

         - ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 458 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 244 ราย คิดเป็น 5% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 163 ราย คิดเป็น 4% ตามลำดับ

         - ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 3,295 ราย คิดเป็น 73.57% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,096 ราย คิดเป็น 24.47% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 74 ราย คิดเป็น 1.65% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14 ราย คิดเป็น 0.31% ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนพฤศจิกายน 2563

         - จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 มีจำนวน 2,457 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนจำนวน 19,442 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

         - ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 199 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 116 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 59 ราย คิดเป็น 2% ตามลำดับ

         - ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,706 ราย คิดเป็น 69.43% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 621 ราย คิดเป็น 25.27% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 122 ราย คิดเป็น 4.97% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็น 0.33% ตามลำดับ

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนพฤศจิกายน 2563

         - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 พ.ย. 63) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 772,068 ราย มูลค่าทุน 18.67 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 187,811 ราย คิดเป็น 24.33% บริษัทจำกัด จำนวน 582,979 ราย คิดเป็น 75.51% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,278 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

        - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 455,511 ราย คิดเป็น 59.00% รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.14% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 228,308 ราย คิดเป็น 29.57% รวมมูลค่าทุน 0.76 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.07% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 72,230 ราย คิดเป็น 9.36% รวมมูลค่าทุน 1.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.55% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,019 ราย คิดเป็น 2.07% รวมมูลค่าทุน 15.54 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.24% ตามลำดับ

การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว

เดือนพฤศจิกายน 2563

         - เดือนพฤศจิกายน 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 55 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 22 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 33 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 12,877 ล้านบาท ทั้งนี้ มีจำนวนการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจเท่ากันกับเดือนก่อน (ต.ค.63) และมีเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้น 51% (เพิ่มขึ้น 4,374 ล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน

        - นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 12 ราย เงินลงทุน 2,193 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 11 ราย เงินลงทุน 8,624 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 8 ล้านบาท

 **************

การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนพฤศจิกายน 2563

        กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนางานบริการทุกกระบวนการของกรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และประกาศกรมเรื่องการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

        การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

        กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอรับข้อมูลได้ผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) มีจำนวนการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 (ม.ค. - พ.ย.) มีจำนวน 511,498 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของการให้บริการผ่านระบบ e-Service และรองรับการให้บริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS

        การให้บริการขอหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลาง) และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 ให้ขอรับบริการได้เฉพาะทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Service) ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563

DBD e - Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

        การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดปี 2562 ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินแล้ว จำนวน 571,551 ราย คิดเป็น 79% ของนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงิน โดยนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) จำนวน 559,637 ราย คิดเป็น 98% และนำส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 11,914 ราย คิดเป็น 2% ทั้งนี้การนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามารถนำส่งได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถตรวจสอบข้อมูลงบการเงินผ่าน DBD Data Warehouse หรือ DBD e - Service ผ่าน Application ได้อย่างรวดเร็ว

        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการและประชาชนสามารถดำเนินเศรษฐกิจและเป็นชีวิตวิถีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงออกประกาศ เรื่อง การจัดประชุมนิติบุคคลภายใต้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป และให้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง มาตรการการรองรับการแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมของนิติบุคคล พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 4 มีนาคม 2563

        ดังนั้น นิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคมการค้า หอการค้า ที่มีรอบบัญชี ก่อนหรือในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ที่ยังไม่ได้จัดประชุมและยังไม่ได้ยื่นงบการเงิน ให้ดำเนินการดังนี้

         - จัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือสมาชิก (แล้วแต่กรณี) ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 พฤศจิกายน 2563

        - จัดทำหนังสือชี้แจงการจัดประชุมล่าช้า และยื่นหนังสือชี้แจงฯ ภายในวันที่ 4 มกราคม 2564

               กรมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคมการค้า หอการค้า ให้เร่งดำเนินการจัดประชุม เมื่องบการเงินได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่แล้วให้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด) และยื่นงบการเงินภายในระยะเวลาตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อนิติบุคคลจะได้เตรียมความพร้อมสำหรับจัดทำและยื่นงบการเงินรอบปีบัญชีถัดไปภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

e-Certificate บริการระบบหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร

        กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร (e-Certificate) ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2555 และผ่านการรับรองระบบพิมพ์ออกฯ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการ ณ สาขาธนาคารใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้รวมทั้งสิ้น 10 ธนาคาร จำนวน 3,833 สาขา

e-Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์

       กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (ios และ android) บนสมาร์ทโฟน

       โดยตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 566,593 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 8,890,188 ล้านบาท โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน

        สำหรับ เดือนพฤศจิกายน 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 8,405 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 139,772 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ มากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 79.02 (มูลค่า 110,443 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง คิดเป็นร้อยละ 20.97 (มูลค่า 29,313 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.01 (มูลค่า 16 ล้านบาท) และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 282 ราย

e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์

        การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2563 มีการยืนยันการใช้งาน (Activate) จำนวน 73,538 ราย รับจดทะเบียน 34,134 ราย ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน รวมถึงการเชื่อมโยงเพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์ รวมทั้งการให้บริการสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration

DBD Connect เชื่อมระบบบัญชีสู่การยื่นงบการเงินออนไลน์ (DBD e-Filing)

        กรมฯ ร่วมกับผู้ผลิตซอฟแวร์บัญชีชั้นนำของประเทศ จำนวน 16 ราย (20 โปรแกรม) พัฒนาการเชื่อมโยงซอฟต์แวร์บัญชีกับระบบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) แบบอัตโนมัติ ผ่านระบบ DBD Connect อำนวยความสะดวกการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับนักบัญชีให้สามารถนำส่งงบการเงินในรูปแบบ XBRL ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีพร้อมนำส่งงบการเงินผ่าน DBD e-Filing ได้โดยตรง และไม่ต้องคีย์ข้อมูลงบการเงินซ้ำ

การบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร (Total Solution for SMEs) และ e-Accounting for SMEs

      Total Solution for SMEs เป็นการขับเคลื่อน SMEs ด้วยนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการธุรกิจที่ครบวงจรได้โดยง่าย เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมด้านการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วนไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน (Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online (Cloud Accounting) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 โปรแกรม

     นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้แจกฟรี ‘โปรแกรม e-Accounting for SMEs’ ซึ่งเป็นโปรแกรมหน้าร้าน (POS) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าขาย เช่น มี Scanner เพื่อซื้อขายสินค้าในตัว , มีฐานข้อมูลของสินค้ามากกว่า 10,000 รายการ เป็นต้น โดยร้านค้าสามารถสมัครขอใช้งานโปรแกรม e-Accounting for SMEs ได้ผ่านทางโครงการ Total Solution for SMEs หรือดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store ในระบบ Android

DBD Data Warehouse

       กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 8,259,024 ครั้ง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!