WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1MFTA10

จุรินทร์ ร่วมฉลองครบรอบ 10 ปี ทำ FTA อาเซียน-จีน ย้ำเพิ่มความร่วมมือ-เปิดเสรีให้มากขึ้น

      จุรินทร์ แถลงผ่านการประชุมทางไกล ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 การทำ FTA ระหว่างกัน ย้ำอาเซียนและจีนต้องเดินหน้ายกระดับความร่วมมือ และเร่งเปิดเสรีการค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม 

               นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 28 พ.ย.2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงการหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและจีน ในการประชุมเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA 10th Anniversary Forum) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งเป็นกิจกรรมคู่ขนานของการจัดงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo : CAEXPO) ครั้งที่ 17 ณ นครหนานนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยรัฐบาลจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

               ทั้งนี้ ไทยในฐานะผู้ประสานงานของอาเซียนในกรอบความตกลง FTA อาเซียน-จีน ได้ใช้โอกาสนี้ แสดงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นพัฒนาความร่วมมือเชิงลึกระหว่างอาเซียนและจีน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และให้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการค้าระหว่างอาเซียนและจีน โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใสของกฎระเบียบ มาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก รวมทั้งร่วมกันพิจารณาความร่วมมือสาขาใหม่ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับความตกลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าในปัจจุบัน

         “การพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการขยายการค้าและการลงทุน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมทั้งช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-จีน และอาเซียน-จีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แม้เผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการแพร่ระบาดของโควิด-19”

         นางอรมน กล่าวว่า ไทยยังได้แสดงบทบาทนำในการผลักดันให้อาเซียนและจีนเร่งหารือ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติม ที่จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนและจีน โดยปัจจุบันอาเซียนและจีนมีการลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง ACFTA เป็นศูนย์แล้วกว่า 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยที่ผ่านมา มีสินค้าที่ไทยใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด เช่น ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด รถยนต์และยานยนต์ขนส่งบุคคล และมันสำปะหลัง เป็นต้น

        จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน โดยในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับจีนมีมูลค่า 79,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 16.46% ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปจีนมูลค่า 29,200 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนไทยนำเข้าจากจีนมูลค่า 50,300 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

       สำหรับในช่วง 9 เดือนปี 2563 (ม.ค.-ก.ย.) การค้าระหว่างไทยกับจีนมีมูลค่า 58,456 ล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้น 0.84% โดยไทยส่งออกไปจีนมูลค่า 22,140 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากจีนมูลค่า 36,316 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกของไทย ในปี 2562 กับปี 2547 ก่อนจัดทำความตกลง ACFTA การส่งออกจากไทยไปจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 310% หรือเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า

 

ผลศึกษาทำเอฟทีเอไทย-อียู ดันจีดีพี-ส่งออกเพิ่ม คนจนลด เตรียมชงกนศ.-ครม.อนุมัติเจรจา

       กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยแพร่ผลศึกษาประโยชน์และผลกระทบการทำเอฟทีเอไทย-อียู เผยหากมีการยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกันหมด จะช่วยดันจีดีพีเพิ่ม 1.28% มูลค่า 2.05 แสนล้านบาทต่อปี ส่งออกไปอียูเพิ่ม 2.83% หรือ 2.16 แสนล้าน ทำคนจนลด 2.7 แสนคน รายได้เกษตรกรเพิ่ม 1.1% แต่มีประเด็นท้าทาย ทั้งการคุ้มครองสิทธิบัตร ยา พันธุ์พืช เตรียมสรุปเสนอ ‘จุรินทร์’ ก่อนนำเข้า กนศ. และครม. อนุมัติไทยเข้าร่วมเจรจา

        นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ที่ทำการศึกษาโดยสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว และได้นำขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ www.dtn.go.th แล้ว เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปดูรายละเอียด และในส่วนของกรมฯ จะนำผลการศึกษา ผลการรับฟังความคิดเห็น และกรอบการเจรจา เพื่อนำเสนอให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณา ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติให้ไทยไปเจรจากับอียูต่อไป คาดว่าน่าจะเป็นช่วงต้นปี 2564 

         สำหรับ ผลการศึกษา ประเมินว่า หากไทยและอียู 27 ประเทศ ไม่รวมสหราชอาณาจักร เพราะได้ออกจากอียูไปแล้ว ทำการยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกันหมด จะช่วยให้จีดีพีของไทยขยายตัวในระยะยาว 1.28% คิดเป็นมูลค่า 2.05 แสนล้านบาทต่อปี การส่งออกของไทยไปอียูเพิ่มขึ้น 2.83% หรือ 2.16 แสนล้านบาทต่อปี และการนำเข้าจากอียูเพิ่มขึ้น 2.81% หรือ 2.09 แสนล้านบาทต่อปี โดยสินค้าส่งออกของไทยที่มีโอกาสขยายตัวและเข้าถึงตลาดอียูได้ง่ายขึ้น เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นต้น

        ส่วนการเปิดเสรีภาคบริการในสาขาสำคัญ เช่น สิ่งแวดล้อม การจัดส่งสินค้า การเงินและประกันภัย และการขนส่งทางทะเล จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5% หรือ 8.01 แสนล้านบาท และการประเมินผลมิติด้านสังคมในภาพรวม พบว่า เศรษฐกิจที่ดีขึ้น จะทำให้จำนวนคนจนลดลง 2.7 แสนคน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 1.1% และช่องว่างความยากจนลดลง 0.07%

      ทางด้านการศึกษาในประเด็นท้าทายสำคัญของการทำเอฟทีเอ ที่อียูทำกับประเทศคู่ค้า เช่น เวียดนาม และสิงคโปร์ จะมีเรื่องการยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรจากความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนวางตลาดยา การผูกขาดข้อมูลเพื่อขออนุมัติวางตลาดยา การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามแนวทาง UPOV 1991 และการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามแนวทางของแรงงานโลก (ILO) ซึ่งจะส่งผลให้ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรค และเมล็ดพันธุ์พืชสูงขึ้น แต่ต้องนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปประเมินหักลบกับประโยชน์ที่จะเกิดกับรายได้ของเกษตรกร ปริมาณผลผลิตภาคเกษตร และทางเลือกในการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น

      นอกจากนี้ ในด้านการเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ จะทำให้ภาครัฐได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีตัวเลือกมากขึ้น ราคาถูกลง ถึงแม้ว่าธุรกิจภายในประเทศอาจต้องเผชิญการแข่งขันมากขึ้น แต่คาดว่าไม่กระทบต่อ SMEs มากนัก เนื่องจากโครงการที่ SMEs เข้าร่วมประมูลส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องเปิดให้มีการแข่งขันประมูล

     “ประโยชน์และผลกระทบจากการศึกษาดังกล่าว ตั้งอยู่บนสมมติฐานเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ กรมฯ ยังจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจัดทำท่าทีการเจรจาแต่ละประเด็นมีความรอบคอบ รัดกุม และเกิดประโยชน์ภาพรวมกับประเทศสูงสุด รวมทั้งการหาแนวทางรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น”นางอรมนกล่าว

        อย่างไรก็ตาม นอกจากผลการศึกษา ยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,036 ตัวอย่าง จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า การนำเข้าสินค้าจากอียูจะทำให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ผลักดันให้ธุรกิจไทยต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการแข่งขันให้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และเห็นว่าหากไม่เปิดเสรีการค้าจะทำให้เศรษฐกิจไทยล้าหลัง

      ในปี 2562 อียู (27 ประเทศ ไม่นับสหราชอาณาจักร) เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวม 38,227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอียูมูลค่า 19,735.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอียูมูลค่า 18,492.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป เป็นต้น และสินค้านำเข้าสำคัญจากอียู เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เวชกรรมและเภสัชกรรม และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

พาณิชย์ เผยผลการศึกษา FTA ไทย – อียู

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการจัดทำ FTA ไทย-อียู ชี้! จะช่วยส่งออกสินค้าไปอียูจะเพิ่มกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี รายได้เกษตรกรเพิ่ม 1.1 % คนจนลดลง 2.7 แสนคน แต่มีประเด็นต้องหารือทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด เจรจาอย่างรอบคอบ และต้องให้เวลาในการปรับตัว ผลสำรวจ ชี้! ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มอบนโยบายให้กรมฯ ศึกษาและเตรียมการเรื่องการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (EU) เพื่อเสนอระดับนโยบายพิจารณา โดยเมื่อช่วงกลางปี 2562 กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นเจรจาความตกลง FTA ไทย-อียู ซึ่งดำเนินการเสร็จแล้ว กรมฯ จึงได้นำผลการศึกษาเผยแพร่บนเว็บไซต์กรมฯ www.dtn.go.th เพื่อผู้ที่สนใจสามารถใช้ประโยชน์จากรายงานการศึกษาดังกล่าว

      นางอรมน ให้ข้อมูลว่า ผลการศึกษาประเมินว่า หากไทยและอียู (27 ประเทศ) ไม่รวมสหราชอาณาจักร ยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกันหมดแล้ว จะช่วยให้ GDP ของไทยขยายตัวในระยะยาว 1.28% คิดเป็นมูลค่า 2.05 แสนล้านบาทต่อปี การส่งออกของไทยไปอียูเพิ่มขึ้น 2.83% (2.16 แสนล้านบาท) ต่อปี และการนำเข้าจากอียูเพิ่มขึ้น 2.81%  (2.09 แสนล้านบาท) ต่อปี โดยสินค้าส่งออกของไทยที่มีโอกาสขยายตัวและเข้าถึงตลาดอียูได้ง่ายขึ้น เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก เป็นต้น

        นอกจากนี้ การเปิดเสรีภาคบริการในสาขาสำคัญ เช่น สิ่งแวดล้อม การจัดส่งสินค้า การเงินและประกันภัย และการขนส่งทางทะเล จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5% (8.01 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ จากการประเมินผลมิติด้านสังคมในภาพรวม พบว่า เศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะทำให้จำนวนคนจนลดลง 2.7 แสนคน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 1.1% และช่องว่างความยากจนลดลง 0.07%

        ทั้งนี้ ผลการศึกษายังพบประเด็นท้าทายสำคัญของ FTA ที่อียูทำกับประเทศคู่ค้า เช่น เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยเฉพาะเรื่องการยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรจากความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนวางตลาดยา การผูกขาดข้อมูลเพื่อขออนุมัติวางตลาดยา การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามแนวทาง UPOV 1991 และการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามแนวทางของแรงงานโลก (ILO) ซึ่งจะส่งผลให้ไทยมีค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรค และเมล็ดพันธุ์พืชสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ต้องนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปประเมินหักลบกับประโยชน์ที่จะเกิดกับรายได้ของเกษตรกร ปริมาณผลผลิตภาคเกษตร และทางเลือกในการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น

        สำหรับ เรื่องการเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ จะทำให้ภาครัฐได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีตัวเลือกมากขึ้น ราคาถูกลง ถึงแม้ว่าธุรกิจภายในประเทศอาจต้องเผชิญการแข่งขันมากขึ้น แต่คาดว่าไม่กระทบต่อ SMEs มากนัก เนื่องจากโครงการที่ SMEs เข้าร่วมประมูลส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องเปิดให้มีการแข่งขันประมูล

       “ประโยชน์และผลกระทบจากการศึกษาดังกล่าว ตั้งอยู่บนสมมติฐานเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ กรมฯ ยังจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจัดทำท่าทีการเจรจาแต่ละประเด็นมีความรอบคอบ รัดกุม และเกิดประโยชน์ภาพรวมกับประเทศสูงสุด รวมทั้งการหาแนวทางรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น” นางอรมนเสริม

       นอกจากนี้ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 1,036 ตัวอย่าง จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า การนำเข้าสินค้าจากอียูจะทำให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ผลักดันให้ธุรกิจไทยต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการแข่งขันให้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และเห็นว่าหากไม่เปิดเสรีการค้าจะทำให้เศรษฐกิจไทยล้าหลัง

       ทั้งนี้ ในปี 2562 อียู (27 ประเทศ ไม่นับสหราชอาณาจักร) เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการค้ารวม 38,227.9 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอียูมูลค่า 19,735.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอียูมูลค่า 18,492.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป เป็นต้น และสินค้านำเข้าสำคัญจากอียู เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เวชกรรมและเภสัชกรรม และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลรายงานการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.dtn.go.th

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!