WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDอรมน ทรัพย์ทวีธรรม1

พาณิชย์ เตรียมเปิดเวทีเผยผลการศึกษาการจัดตั้งกองทุน FTA

       กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเปิดเวทีเผยแพร่ผลการศึกษา “การจัดตั้งกองทุน FTA” 22 ตุลาคมนี้ ระดมความเห็นภาคเกษตร ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐและเอกชน พร้อมเชิญชมถ่ายทอดสดผ่าน Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตลอดงาน

         นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมจัดเวทีสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้น เรื่อง การจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมแมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยการสัมมนาครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้น และรูปแบบการจัดตั้งกองทุน FTA เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมระดมความเห็น และได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอ็สเอ็มอีไทย เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน และนักวิชาการ ร่วมเสวนาและวิพากษ์ผลการศึกษา

        นางอรมน กล่าวว่า การสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการลงพื้นที่รับฟังความเห็น และการประชุมระดมความเห็นกลุ่มย่อย ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยงานวิจัย จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2563 ซึ่งจากการรับฟังความเห็นหลายภาคส่วนเห็นว่าการเจรจาจัดทำ FTA เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน และขยายตลาดให้กับสินค้าและบริการของไทยในต่างประเทศ จำเป็นที่รัฐจะต้องดูแลช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ในรูปแบบกองทุน FTA ที่ถาวร เนื่องจากกลไกช่วยเหลือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดในการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบ

          นางอรมน เสริมว่า จากการหารือกับกรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับคำแนะนำว่าการจัดตั้งกองทุนในปัจจุบันต้องมีการบริหารจัดการภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 รวมทั้งต้องมีการยกร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งกองทุน ซึ่งต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญ เช่น โครงสร้างการบริหารทุนหมุนเวียน แหล่งเงินทุนและแหล่งรายได้ การลดความซ้ำซ้อนกับกองทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ มีรายรับ และเป้าหมายและประโยชน์ที่ได้รับต้องชัดเจน เป็นต้น

        ทั้งนี้ หลังจากการสัมมนาฯ กรมฯ จะรวบรวมรายละเอียดการขอจัดตั้งกองทุน FTA เสนอต่อคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าต่อไป สำหรับผู้สนใจสามารถรับชมการสัมมนาย้อนหลัง และร่วมแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กรมเจรจาฯ ปลื้ม FTA หนุนส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 8 เดือนแรก ตลาดอาเซียนโตกว่า 41%

       กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผย 8 เดือนแรกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปส่งออกโตต่อเนื่อง โกยเงินเข้าประเทศกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปลื้ม FTA ทำตลาดอาเซียนโต 41% ดันไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกทูน่ากระป๋อง อันดับ 1 ของโลก หนุนใช้เอฟทีเอช่วยปลดล็อคข้อจำกัดทางการค้า

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปของไทยเติบโตได้แม้ในภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปของไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นานเพิ่มมากขึ้น และไทยยังมีแต้มต่อจากความตกลงการค้าเสรีช่วยปลดล็อคกำแพงภาษีศุลกากรที่ประเทศคู่เอฟทีเออีกด้วย

        ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ไทยทำเอฟทีเอด้วย 15 ประเทศจาก 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู และฮ่องกง ได้ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บจากไทยแล้วทุกรายการ ยกเว้น 3 ประเทศที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าบางรายการ เช่น ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าปลาแปรรูปต่างๆ เช่น ซาร์ดีน แฮริ่ง แอนโชวี่ รวมถึงปูแปรรูปที่ 5% ปูกระป๋องที่ 9.6% เกาหลีใต้เก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องหรือแปรรูปที่ 20% ปลาซาร์ดีนกระป๋องที่ 16% และ อินเดีย เก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งกระป๋องและแปรรูปที่ 30% เป็นต้น

         นางอรมน เพิ่มเติมว่า ปัจจัยดังกล่าวทำให้การส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าส่งออกสู่ตลาดโลก 2,583.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋องส่งออก 1,564 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11% ปลาแปรรูปส่งออก 253 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 23% กุ้งกระป๋องส่งออก 163 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10% ปลาซาร์ดีนกระป๋องส่งออก 105 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2% และหอยลายแปรรูปส่งออก 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 23.5% เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกาส่งออก 729 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 24% ออสเตรเลียส่งออก 170 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.4% และอาเซียนส่งออก 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 41%

         และจากสถิติข้างต้น พบว่า อาเซียน เป็นตลาดส่งออกที่น่าจับตามอง เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิกขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด เช่น กัมพูชา เพิ่มขึ้น 52% สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 61% มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 19% ฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 88% เป็นต้น สินค้าที่เติบโตได้ดี ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง และปลาแปรรูป ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปอันดับที่ 2 ของโลก รองจากจีน และครองแชมป์ผู้ส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องอันดับที่ 1 ของโลกอีกด้วย

       “นอกจากประโยชน์ในด้านการส่งออกแล้ว เอฟทีเอยังช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายขึ้น เนื่องจากภายใต้เอฟทีเอไทยได้ลดเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประมงกลุ่มวัตถุดิบที่ไทยขาดแคลนและจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน แล้ว เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีในการส่งออก”นางอรมน เสริม

        ทั้งนี้ นับตั้งแต่ความตกลงเอฟทีเอแต่ละฉบับมีผลใช้บังคับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอจนถึงปี 2562 พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด เช่น ญี่ปุ่น (59%) ออสเตรเลีย (114%) อาเซียน (614%) จีน (3,499%) เปรู 2,674% เกาหลีใต้ 246% นิวซีแลนด์ 98% อินเดีย 87% และชิลี 27% เป็นต้น สอดคล้องกับสถิติที่ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปด้วยเอฟทีเอสูงเป็นอันดับต้นๆ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!