WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

1aaa1Mอ่าวเป่ยปู้

จุรินทร์ ลุยร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ดันเชื่อมระบบขนส่งเปิดทางส่งออกสินค้าไทย

     จุรินทร์ ปาฐกถาพิเศษผ่านระบบประชุมทางไกล เปิดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ 11 เดินหน้าเพิ่มความร่วมมือเชิงลึกกับจีนเป็นรายมณฑล ผลักดันเชื่อมโยงระบบการขนส่ง เปิดทางสะดวกสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลไม้สดเข้าสู่ตลาดจีน แถมมีโอกาสส่งออกสินค้าเจาะยาวถึงเอเชียกลางและยุโรป พร้อมชวนนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนอีอีซี ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับอาเซียน

       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในช่วงพิธีเปิดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ครั้งที่ 11 (11th Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation Forum) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ว่า กรอบความร่วมมือรอบอ่าวเป่ยปู้ เป็นความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคที่มีความสําคัญ ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีน และเป็นจุดยุทธศาสตร์สําคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเล เป็น ยุทธศาสตร์สําคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับอาเซียน ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเงิน รวมถึงด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ทําให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโต อย่างรวดเร็ว และท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งที่สําคัญในการลําเลียงสินค้าในรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ทั้งทางระบบราง ทางน้ำ ทางถนน และทางอากาศ โดยมีภูมิภาคตะวันตกของจีนกับอาเซียนเป็นแกนหลัก และขยายความเชื่อมโยงต่อไปยังทวีปเอเชียกลาง และยุโรปได้

        ทั้งนี้ ในปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีความร่วมมือกับท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ผ่านการจัดทําข้อตกลงท่าเรือพี่น้องระหว่าง “ท่าเรือแหลมฉบัง ราชอาณาจักรไทย” กับ “ท่าเรือชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน” เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ท่าเรือร่วมกัน และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบัง ได้เปิดเส้นทางเดินเรือมุ่งตรงสู่ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรทางบกที่ติดขัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาการขนส่งสินค้าแบบควบคุม อุณหภูมิ และมีคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ ทําให้ผลไม้ไทยกว่า 200 ตันถูกขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบังของไทยไปขึ้นที่ท่าเรือฝางเฉิงก่าง ในเขตปกครอง ตนเองกว่างซีจ้วง โดยสินค้าที่ไปถึงท่าเรือแล้ว จะได้รับการกระจายสินค้าต่อทางรถบรรทุกหรือทางรถไฟไปยังมณฑลทางภาคกลางและภาคตะวันตกของจีน ทําให้การส่งออกผลไม้สดและสินค้าเกษตรของไทยไปจีนสะดวกรวดเร็วขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือระหว่างสองประเทศ ที่มีแนวโน้มการพัฒนาไปอย่างมั่นคงต่อเนื่อง

       นายจุรินทร์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายเร่งผลักดันความร่วมมือเชิงลึกกับมณฑลต่างๆ ของจีน ซึ่งรวมถึง “มณฑลไห่หนาน” ที่รัฐบาลจีนอยู่ระหว่างผลักดันให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือการค้าเสรีระดับโลก ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์กําลังอยู่ระหว่างการเจรจากับมณฑลไห่หนาน เพื่อทําข้อตกลงการค้าเป็นการเฉพาะระหว่างกัน ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ 1.การส่งเสริม SMEs 2.การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการสร้างสรรค์ อาทิ ดิจิทัลคอนเทนต์

       3.การอํานวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมทางการค้า และ 4.การส่งเสริมการค้าในรูปแบบ e-commerce จะเริ่มเห็นผลที่เป็นรูปธรรมภายในปีหน้า ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ร่วมกันเป็นอย่างมาก

      “ขณะนี้ รัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ผมขอเชิญชวนนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะในสาขาธุรกิจที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ไทยและอาเซียนยังอยู่ระหว่างการขับเคลื่อน “แผนแม่บทของ อาเซียนว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน” หรือเอ็มแพ็ค 2025  ผมจึงขอเชิญชวนจีนให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับอาเซียน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงภายใต้ข้อริเริ่ม BRI และระเบียงการค้าระหว่างประเทศ ทั้งทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ของจีน” ที่มีการผลักดันให้ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและเป็นประตูสู่ท่าเรือทั่วโลก ให้คืบหน้ามีผลเป็น รูปธรรมเพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศและภูมิภาคต่อไป”นายจุรินทร์กล่าว

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ไทยได้เข้าร่วมการประชุมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับอ่าวเป่ยปู้ (หรืออ่าวตังเกี๋ย) และทะเลจีนใต้ ได้แก่ จีน และสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย โดยกรอบความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้อ่าวเป่ยปู้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ขยายการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก และที่ผ่านมารัฐบาลจีนให้การสนับสนุนและผลักดันกว่างซีให้เป็น “ประตูสู่อาเซียน” และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลในทศวรรษที่ 21 และข้อริเริ่ม BRI ของจีน

        ในปี 2562 จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้า 79,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 16.46% ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปจีนมูลค่า 29,200 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าสำคัญ เช่น เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนไทยนำเข้าจากจีนมูลค่า 50,300 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็ก ส่วนมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนในช่วง 8 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 51,723.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.26% เป็นการส่งออกจากไทยไปจีน 19,625.27 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากจีนมาไทย 32,098.63 ล้านเหรียญสหรัฐ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!