WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1aกีรติ รัชโน

คต. เผยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA และ GSP ครึ่งปี 63 (มกราคม-มิถุนายน) ดันใช้สิทธิฯ ส่งออกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปยังประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงฯ

       นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 โดยมูลค่าการใช้สิทธิฯ รวมเท่ากับ 30,848.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 78.61 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 28,534.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 2,314.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 14.26 โดยได้รับผลกระทบหลักจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังดำเนินไปในหลายประเทศ ซึ่งกดดันการส่งออกทั่วโลก อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากการใช้สิทธิฯ ส่งออกสินค้าเครื่องดื่ม อาหาร เกษตรแปรรูปที่พุ่งต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 แล้ว ไทยยังมีศักยภาพในการส่งออกสินค้าเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์อีกด้วย

      การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรีในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่า 28,534.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 15.47 มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 78.25 ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาเซียน (มูลค่า 9,490.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2) จีน (มูลค่า 9,567.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 3) ญี่ปุ่น (มูลค่า 3,402.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 4) ออสเตรเลีย (มูลค่า 2,937.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 5) อินเดีย (มูลค่า 1,573.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิ-ประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ไทย-ชิลี (ร้อยละ 100) 2) อาเซียน-จีน (ร้อยละ 91.67) 3) ไทย-เปรู (ร้อยละ 88.25) 4) ไทย-ญี่ปุ่น (ร้อยละ 84.18) และ 5) อาเซียน-เกาหลี (ร้อยละ 71.71)

        การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ในช่วง มกราคม-มิถุนายน 2563 มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,314.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.07 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 83.26 ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,043.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ* ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.39

      และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 85.24 อันดับสอง คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 177.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.65 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 64.10 อันดับสามคือ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 76.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.29 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 85.26 และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 16.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 59.30 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 100

      ภาพรวมในช่วงครึ่งปี 2563 การใช้สิทธิประโยชน์ฯ ยังคงลดลง สอดคล้องกับทิศทางการส่งออกของไทย โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า ไทยมีศักยภาพในการส่งออกสินค้าที่มีความต้องการสูงในช่วงการแพร่ระบาด โดยเฉพาะสินค้าเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีการใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้นในหลายความตกลงฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และยังมีโอกาสส่งออกไปได้จากความต้องการในหลายประเทศที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว สำหรับ อาเซียน-จีน สินค้าในกลุ่มดังกล่าวที่มีการใช้สิทธิฯ เพิ่มขึ้น เช่น ถุงมือยาง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 46.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 75.19) เทอร์โมมิเตอร์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 13.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 100) อาเซียน-เกาหลี

       เช่น เครื่องแต่งกายทำด้วยยางวัลแคไนซ์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 2.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 67) ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์หรือสารทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 100) อาเซียน-ญี่ปุ่น เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้แปลงสภาพ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 4.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.73) เสื้อผ้าอื่นๆ เช่น เสื้อผ้าใช้ป้องกัน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.09 ขยายตัวร้อยละ 54.15) ไทย-ออสเตรเลีย เช่น เครื่องกรองอากาศ/เครื่องสร้างและลำเลียงออกซิเจน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 11.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 100) สบู่ที่มีลักษณะเป็นของเหลวหรือครีม (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 3.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 36.22) สหรัฐอเมริกา เช่น แว่นตาใช้ในการป้องกัน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 54.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 100) ถุงมือถักที่หุ้มด้วยพลาสติกหรือยาง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 4.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 72) เป็นต้น

      ในขณะที่ การใช้สิทธิฯ ส่งออกสินค้าเครื่องดื่ม อาหาร เกษตรแปรรูปไปยังหลายประเทศคู่ค้าในภาพรวมยังพุ่งต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี อาทิ ผลไม้ ทุเรียนสด ชิ้นเนื้อและเครื่องในไก่แช่แข็ง อาหารปรุงแต่ง เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www. dft.go.th หรือโทร สายด่วน 1385

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

<p style="color: #333333; font-family: 'He

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!