WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a4ABFTAไทย EFTA

กรมเจรจาฯ เดินหน้าฟื้น FTA ไทย-EFTA ยันเพิ่มโอกาสไทยสู่คู่แข่งในอาเซียนได้ดีขึ้น

         กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเดินหน้าศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นเจรจา FTA ไทย-EFTA คาดแล้วเสร็จปลายปีนี้ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนเสนอระดับนโยบายตัดสินใจ เผยการทำ FTA จะสร้างโอกาสในการแข่งขันของไทยกับคู่แข่งในอาเซียนและประเทศอื่นที่มีการทำเอฟทีเอกับ EFTA แล้ว และยังช่วยแก้ปัญหาความไม่แน่นอนของการได้รับสิทธิ GSP จากสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ 

         นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการจัดสัมมนา “EFTA New Market in New Normal : การขยายตลาดใหม่รับชีวิตวิถีใหม่กับกลุ่มสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป” ว่า ขณะนี้กรมฯ ได้มอบให้สถาบันสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และยังได้จัดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อประกอบการนำเสนอฝ่ายนโยบาย พิจารณามีมติเกี่ยวกับการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EFTA ต่อไป

         โดยการทำ FTA กับ EFTA จะช่วยรักษาโอกาสทางการแข่งขันของสินค้าและบริการของไทยในตลาด EFTA ไม่ให้สูญเสียแก่ประเทศหลักๆ รวมทั้งประเทศอาเซียนที่มี FTA กับ EFTA แล้ว ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศอาเซียนที่อยู่ระหว่างการเจรจา ได้แก่ เวียดนามและมาเลเซีย ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ EFTA มี FTA ด้วย เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ชิลี เม็กซิโก และตุรกี เป็นต้น

           นอกจากนี้ จะช่วยขจัดความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ของ EFTA (สวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์) ที่ไทยได้รับอยู่ในสินค้าต่างๆ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มและสินค้าเกษตรและอาหารบางรายการ รวมถึงจะช่วยขยายโอกาสทางการตลาดเพิ่มเติมในการส่งออกสินค้าและบริการของไทย และโอกาสในการลงทุนดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยใน EFTA รวมทั้งจะช่วยดึงดูดการลงทุนของ EFTA ในไทย โดยเฉพาะในสาขาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ EFTA มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาขีดความสามารถของไทย

         สำหรับ การค้ารวมระหว่างไทยกับ EFTA ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 9,892 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.6% ต่อปี โดยในปี 2562 การค้ารวมไทย-EFTA มีมูลค่า 9,770.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.22% โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,570.18 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการค้า 2.02% และในช่วง 6 เดือนของปี 2563 (ม.ค.–มิ.ย) การค้ารวมมีมูลค่า 5,322.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.11% โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 3,239.22 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ นาฬิกาและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เป็นต้น

         ปัจจุบัน EFTA) ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ โดย EFTA เป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็ก แต่มีขนาดเศรษฐกิจในระดับชั้นนำของโลก ในปี 2562 มี GDP ต่อหัว (GDP per capita) เป็นอันดับ 2 ของโลกประมาณ 81,000 เหรียญสหรัฐ มีศักยภาพสูงด้านการผลิตสินค้าและบริการมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของโลก มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด โดยมีภาคบริการเป็นส่วนสำคัญ เช่น สาขาการเงิน สาขาประกันภัย และสาขาโทรคมนาคม เป็นต้น

         ทั้งนี้ ไทยและ EFTA ได้เคยเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างกันมาแล้ว 2 รอบ ในปี 2548–2549 โดยการเจรจาครอบคลุมในทุกเรื่อง เช่น การเปิดตลาดสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา แต่หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนก.ย.2559 ทำให้การเจรจาหยุดชะงักลง และภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลของไทยในปี 2562 EFTA ได้แสดงความพร้อมในการฟื้นการเจรจา แต่ไทยก็ต้องปรับตัวรับมือการเปิดตลาดและกฎระเบียบต่างๆ เพราะ EFTA เป็นกลุ่มประเทศที่มีมาตรฐานสูง ใกล้เคียงกับสหภาพยุโรป

พาณิชย์  เปิดเวทีรับฟังความเห็น เล็งขยายตลาดใหม่กับ EFTA รับยุค New Normal

         กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นำทัพกูรูจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ให้ข้อมูลเรื่องกลุ่มประเทศ EFTA และรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ชี้เป็นโอกาสจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า พร้อมมองประโยชน์และผลกระทบจากการจัดทำ FTA รับมือกับการแข่งขันในอนาคต

         นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยหลังการสัมมนาระดมความเห็น เรื่อง “EFTA New Market in New Normal หรือ การขยายตลาดใหม่รับชีวิตวิถีใหม่กับกลุ่มสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป” เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลเรื่องกลุ่มประเทศ EFTA และรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเชิญวิทยากรจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม มาร่วมเสวนา อาทิ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา คุณชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณกรรณิการ์ กิตติเวชกุล รองประธานกลุ่ม FTA Watch ดร. ฑิฏิวุฒิ ศรีมานพ กรรมการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และ รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

          นางอรมน เพิ่มเติมว่า การสัมมนาดังกล่าว สืบเนื่องจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มอบนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรักษาตลาดปัจจุบันและหาตลาดใหม่ ขยายช่องทางการค้าให้กับสินค้าและบริการของไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยจากสถานการณ์โควิด-19 กรมฯ จึงได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ศึกษาวิจัยเรื่องผลประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับ EFTA ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จในปลายปีนี้ สำหรับกลุ่มประเทศ EFTA (European Free Trade Association) หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและแสดงความสนใจจะฟื้นการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับไทย ที่หยุดชะงักไป เมื่อปี 2549

          นางอรมน เสริมว่า ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย เพราะช่วยสร้างแต้มต่อทางการค้าและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่ไทยมี FTA ด้วย ขณะเดียวกันไทยก็จะต้องปรับตัวรับมือการผูกพันด้านการเปิดตลาด และกฎระเบียบต่างๆ ซึ่ง EFTA ถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ ถึงแม้จะเป็นกลุ่มประเทศขนาดเล็ก แต่มีขนาดเศรษฐกิจในลำดับชั้นนำของโลก และมีศักยภาพด้านการผลิตสินค้าและบริการที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง รวมถึงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของโลก

         ปัจจุบัน EFTA จัดทำ FTA กับประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ ในปี 2546 ฟิลิปปินส์ ในปี 2561 และอินโดนีเซีย ได้สรุปการจัดทำ FTA แล้วเมื่อปี 2561 ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการให้สัตยาบัน นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับมาเลเซีย และเวียดนาม สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ EFTA มี FTA ด้วย เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ชิลี เม็กซิโก และตุรกี เป็นต้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับประเทศ EFTA แต่อาจต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่ไทยจะได้รับและผลกระทบจากการจัดทำ FTA เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางให้ผู้ประกอบการ SME เข้ามามีส่วนร่วมในผลประโยชน์และห่วงโซ่อุปทานโลก โดยเฉพาะการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตสินค้าไทย ให้ทัดเทียมกับสินค้าในตลาด EFTA ที่มีมาตรฐานใกล้เคียงกับสหภาพยุโรป

         ทั้งนี้ EFTA เป็นคู่ค้าลำดับที่ 16 ของไทย โดยในปี 2562 ไทยกับ EFTA มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 9,770.20 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนการค้าร้อยละ 2.02 ของการค้าไทยกับโลก ซึ่งไทยส่งออกไป EFTA 5,670.19 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไทยนำเข้าจาก EFTA 4,100.01 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ นาฬิกาและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่าการค้ารวม 8,393.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออก 7,050.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 1,343.4 ล้านเหรียญสหัรฐ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!