WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอาแน่!คุมรัฐวิสาหกิจมหาชน พาณิชย์แก้ไขพ.ร.บ.แข่งขันชงฉัตรชัย 15 ธ.ค.ส่งต่อครม.

    ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์เตรียมเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าเข้า ครม.กลางเดือน ธ.ค.นี้ คาดมีผลบังคับใช้แน่ใน 1 ปีตามนโยบายรัฐบาล เล็งดึงรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนเข้าควบคุม หลังพบทำธุรกิจจนเอกชนแข่งไม่ได้ พร้อมเสนอแยกสำนักงานฯ เป็นองค์กรอิสระ ทำงานคล่องตัว ให้อำนาจส่งฟ้องผู้กระทำผิดได้เอง ถ้าอัยการไม่ส่งฟ้อง

    นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ตามนโย บายเร่งด่วนของรัฐบาล ว่า ภาย ในเดือน พ.ย.นี้ กรมจะเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า ให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เห็นชอบ ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ หาก ครม.เห็นชอบแล้ว จะนำเข้าสู่ขั้นตอนของการออกกฎหมายต่อไป ซึ่งรัฐบาลเร่งรัดให้การแก้ไขแล้วเสร็จและบังคับใช้ได้ภายใน 1 ปี

     อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ กรมจะจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งสุดท้าย และจะนำผลจากการสัมมนามาปรับ ปรุงกฎหมายร่วมกับการแก้ไขใน 9 ประเด็นที่กรมได้กำหนดไว้แล้ว

     "รัฐบาลชุดนี้เน้นเรื่องการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการมากขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าการแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้า จะเสร็จทันภายใน 1 ปีตามกำหนด และไม่น่าจะมีใครคัดค้านแล้ว เพราะถือเป็นงานเร่งด่วนของรัฐบาล" นายสันติชัยกล่าว

     สำหรับ 9 ประเด็นที่กรมเห็นควรต้องแก้ไข ได้พิจารณาจากประเด็นที่เป็นจุดอ่อนของการบังคับใช้กฎหมายในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ 1.การกำหนดให้ การกระทำของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจเป็นปกติ ทางการค้าแข่งขันกับเอกชน ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแข่งขันทางการค้า จากปัจจุบันรัฐวิสาหกิจ สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับภาคเอกชนได้โดยเสรี และในบางธุรกิจทำให้ภาคเอกชนเสียเปรียบในการแข่งขัน

    2.กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการ ค้า เป็นองค์กรอิสระในการดำ เนินการ 3.ปรับแก้ไของค์ประ กอบของคณะกรรมการฯ โดย ลดจำนวนและมีการคัดสรร ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการแข่งขัน และต้องปฏิบัติ งานเต็มเวลา 4.กำหนดให้คณะ กรรมการฯ สามารถส่งฟ้องผู้กระ ทำผิดตามกฎหมายได้เอง หากอัยการไม่ส่งฟ้อง เพราะที่ผ่าน มา แม้คณะกรรมการฯ พิจารณา แล้วว่าผู้ถูกร้องเรียนคือ บริษัท เอ. พี.ฮอนด้า มีความผิดตามกฎหมายจริง แต่อัยการกลับไม่ส่งฟ้อง จนหมดอายุความ 5.ปรับปรุงคำ นิยามของ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ให้หมายความรวมถึงบริษัทในเครือด้วย จากปัจจุบันกำหนดให้เป็นคนละบริษัท ส่งผลให้สามารถทำธุรกิจเอาเปรียบคู่แข่งได้

    6.การเพิ่มอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการฯ ให้สามารถออกแนวทางปฏิบัติ (ไกด์ไลน์) ในเรื่องต่างๆ ได้ตามกฎหมาย เพื่อให้มีสภาพบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย เช่น ไกด์ไลน์ค้าปลีก ที่กำหนดข้อปฏิบัติ และข้อห้าม การทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีก เพื่อให้เกิดการแข่ง ขันอย่างเสรี และเป็นธรรม 7. แก้ไขมาตรา 26 วรรค 2 เกี่ยว กับการรวมธุรกิจ โดยเพิ่มปัจจัย การรวมธุรกิจในเรื่องมูลค่า ของการรวมธุรกิจ 8.กำหนดให้ มีมาตรการลดหย่อนโทษ และ 9.ปรับบทกำหนดโทษ กรณีฝ่าฝืนมาตรา 25, 26, 27 วรรค 5-10 เป็นโทษปรับทางอาญา ส่วนมาตรา 29 ให้เป็นโทษปรับทางปกครอง และกรณีผิดมาตรา 27 (1)-(4) ยังคงมีโทษจำคุกและโทษปรับทางอาญาเช่นเดิม.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!