WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a4A3ชาไทย

กรมเจรจาฯ หนุน 'ชาไทย' ใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ เพิ่มโอกาสทำตลาดต่างประเทศ

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศหนุน 'ชาไทย'ใช้จุดแข็งสินค้าอินทรีย์ ดื่มเพื่อสุขภาพ ควบคู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสในการทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ แนะอย่าลืมใช้เอฟทีเอสร้างโอกาสในการขยายตลาด หลังคู่เจรจาส่วนใหญ่ไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทยแล้ว ทั้งชาเขียว ชาดำ และผลิตภัณฑ์ชา

         นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยหลังลงพื้นที่สำรวจศักยภาพเกษตรกรและผู้ประกอบการชาเชียงราย การดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน และการสัมมนา “โอกาสของชาไทยในยุคการค้าเสรี” ระหว่างวันที่ 12-14 ก.ย.2563 ที่ผ่านมา ว่า ปัจจุบันชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก แต่สำหรับไทย มีอัตราการบริโภคชาไม่สูงมากนัก เฉลี่ย 0.93 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่ชาวอังกฤษบริโภคเฉลี่ย 2.74 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ชาวฮ่องกงบริโภคเฉลี่ย 1.42 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ไทยจึงควรส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาดื่มชาเพิ่มขึ้น โดยใช้จุดขายเรื่องสินค้าอินทรีย์และสรรพคุณเพื่อสุขภาพ ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตามรสนิยมผู้บริโภคในลักษณะ DIY รวมถึงเพิ่มช่องทางการขาย เพื่อให้ตลาดชาในไทยมีโอกาสการเติบโต รวมถึงการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ  

        “ไทยสามารถปลูกชาในระดับอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากไร่ชาภาคเหนือมีจำนวนมาก และที่ผ่านมา มีการผลิตเพื่อส่งขายจีนเป็นวัตถุดิบ รวมถึงชาสำเร็จรูปส่งออกไปไต้หวัน และชาราคาเกรดทั่วไปส่งขายให้กับร้านชาในประเทศ ดังนั้น อุตสาหกรรมชาไทยจึงเป็นลักษณะรับจ้างผลิต หรือโออีเอ็มเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการสร้างแบรนด์สินค้าชาของคนไทยขึ้นมาและมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น จึงมีโอกาสในการขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น”

       ทั้งนี้ ในการทำตลาดต่างประเทศ สินค้าชาไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ไทยทำกับประเทศคู่ค้าได้ โดยสินค้าชาเขียว ไทยสามารถส่งออกโดยไม่เสียภาษีนำเข้าในอาเซียน 8 ประเทศ ยกเว้นเมียนมา จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี สินค้าชาดำ สามารถส่งออกโดยไม่เสียภาษีนำเข้าในอาเซียน 9 ประเทศ จีน เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี และผลิตภัณฑ์ชา สามารถส่งออกโดยไม่เสียภาษีนำเข้าในอาเซียน 9 ประเทศ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี

        ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) ไทยส่งออกชาเขียว เฉลี่ย 979.6 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ย 6.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ชาดำ เฉลี่ย 1,401.7 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ย 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และชาสำเร็จรูป เฉลี่ย 9.1 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ย 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือ กัมพูชา สัดส่วน 31% เมียนมา 20% และสหรัฐฯ 18%

        สำหรับ ปี 2562 ไทยส่งออกชาเขียว 1,057.7 ตัน มูลค่า 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย สัดส่วน 38% เนเธอร์แลนด์ 12% และมาเลเซีย 9% ส่งออกชาดำ 2,256 ตัน มูลค่า 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีตลาดหลักคือ อินโดนีเซีย สัดส่วน 40% สหรัฐฯ 18% และกัมพูชา 14% และส่งออกชาสำเร็จรูป 7,032.3 ตัน มูลค่า 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มีตลาดหลัก คือ กัมพูชา สัดส่วน 31% เมียนมา 20% และสหรัฐฯ 18%

     ในช่วง 7 เดือนของปี 2563 (ม.ค.–ก.ค.) ไทยส่งออกชาเขียว 492.9 ตัน มูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 17.92% ส่งออกชาดำ 601.8 ตัน มูลค่า 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 45.54%) และส่งออกชาสำเร็จรูป 4,971.1 ตัน  มูลค่า 19.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 47.77%

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!