WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1GIT

เปิดตัว GIT Standard ยกระดับแล็บตรวจอัญมณี-เครื่องประดับ-โลหะมีค่า

      สถาบันอัญมณีฯ เปิดตัว GIT Standard หวังสร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่าสากล และเรียกความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค เตรียมนำร่องเฟสแรก 5 ขอบข่ายการตรวจสอบ

       นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องคการมหาชน) หรือจีไอที เปิดเผยว่า จีไอทีได้ดำเนินโครงการ GIT Standard เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ โดยจะผลักดันให้ห้องปฏิบัติการภายในประเทศมีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และผลักดันให้ห้องปฏิบัติการที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันนำมาตรฐานไปใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

      “ปัจจุบันไทยมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า เปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการใดๆ ที่จะนำมาปรับใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่าสากล เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติได้ จีไอทีจึงได้ผลักดันให้มีมาตรฐานการตรวจสอบขึ้นมา และจะผลักดันให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบนำไปใช้”นางนันทวัลย์กล่าว

       นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการจีไอที กล่าวว่า GIT Standard จะครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านมาตรฐานการให้บริการของห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรฐานวิธีวิเคราะห์และทดสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า และด้านมาตรฐานบุคลากรของห้องปฏิบัติการ โดยในปี 2563 จีไอทีจะประกาศใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ในเฟสแรก จำนวน 5 ขอบข่ายก่อน

      สำหรับ 5 ขอบข่าย ได้แก่ วิธีมาตรฐานสำหรับการทดสอบอัญมณี , การวิเคราะห์หาปริมาณทองคำ (Au) ด้วยวิธี Cupellation (Fire Assay) , การวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์ทองคำ (Au) ในตัวอย่างโลหะมีค่าโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) , การวิเคราะห์หาความหนาทองคำ (Au) ในตัวอย่างเครื่องประดับชุบโลหะมีค่า โดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) และการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงิน โดยเทคนิค Potentiometric Titration ด้วยเครื่อง Auto Titrator

       “มั่นใจว่า GIT Standard จะช่วยพัฒนาและยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการในประเทศไทยให้เทียบเท่าระดับสากลได้ และยังจะเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้ห้องปฏิบัติการ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้นว่าสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการเชื่อถือได้”นายสุเมธกล่าว

        ก่อนหน้านี้ จีไอทีได้เชิญหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ สมาคมค้าทองคำ สมาคมช่างทองไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมการท่องเที่ยว ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการจัดทำมาตรฐาน และได้จัดทำประชาพิจารณ์เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนผ่านช่องทางเว็บไซต์ และเฟซบุ๊กของสถาบันฯ มีผู้เข้าร่วมฟังการแสดงข้อคิดเห็นผ่านทุกช่องทางเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นคณะกรรมการวิชาการฯ ได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนด GIT Standard

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!