WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรมพัฒน์ฯ จับมือ พันธมิตร เร่งจัดระเบียบผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซเข้าสู่ระบบ พร้อมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการซื้อ-ขายออนไลน์ หวัง! ยุติปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

    กรมพัฒน์ฯ จับมือ พันธมิตร เร่งจัดระเบียบผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซเข้าสู่ระบบ พร้อมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการซื้อ-ขายออนไลน์  หวัง! ยุติปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เชื่อ! เศรษฐกิจดิจิตอลดันธุรกิจค้าปลีกออนไลน์เติบโตต่อเนื่องเพิ่มทางเลือก SMEs ไทยขยายตลาดสู่สากล

    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือ สมาคมอี-คอมเมิร์ซไทย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และตลาดกลางอี-คอมเมิร์ซเร่งจัดระเบียบผู้ค้าอี-คอมเมิร์ซเข้าสู่ระบบพร้อมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการซื้อ-ขายออนไลน์ หวัง!ยุติปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจเชื่อ! นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาลดันธุรกิจค้าปลีกออนไลน์เติบโตต่อเนื่องช่วยเพิ่มทางเลือกSMEsไทยขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ

     นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มาคมผู้ดูแลเว็บไทย และผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) เร่งจัดระเบียบผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบและแจ้งเตือนให้ดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ฯ ให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยกรมฯและหน่วยงานพันธมิตรมีมาตรการแจ้งเตือนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดร้านค้าออนไลน์และยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ฯให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ประกอบธุรกิจ ซึ่งหากพบว่าผู้ประกอบการยังคงเมินเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องกรมฯ พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมาคมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ต่ออายุการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและเว็บไซต์รายนั้นๆ ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายสำคัญในการส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ช่องทางอี-คอมเมิร์ซในการขยายตลาดและขยายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ของไทยที่จะมีช่องทางในการขยายตลาดทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมในระยะยาว

     “ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ฯ จะได้รับประโยชน์โดยตรง คือ 1) มีตัวตนตามกฎหมายทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือและสร้างโอกาสทางการตลาด 2) ใช้เป็นเอกสารหลักฐานแสดงตัวตนเพื่อทำธุรกรรมทางธุรกิจ เช่น สถาบันการเงิน ฯลฯ 3) ได้รับสิทธิสมัครขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered และ DBD Verified ของกรมฯ ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและ 4) ได้รับการส่งเสริมและได้รับสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมที่กรมฯ หรือหน่วยงานพันธมิตรของกรมฯ จัดขึ้น

    “นอกจากนี้ กรมฯ ได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการซื้อ-ขายออนไลน์ขึ้น ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำเพื่อยุติปัญหาจากการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ทั้งนี้ กรมฯ จะทำหน้าที่ติดต่อและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามข้อเท็จจริง และไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ได้เกิดขึ้น โดยธุรกิจออนไลน์สามารถยุติปัญหาลงได้ โดยไม่เผยแพร่สู่สาธารณะจนทำให้เกิดความเสียหายแก่เว็บไซต์และผู้ประกอบการจนยากจะแก้ไขสำหรับผู้บริโภคศูนย์ฯ ดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการเข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น”

   ทั้งนี้ นโยบาย“เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)”ของรัฐบาลจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ (B2C) ที่จะได้รับอานิสงค์จากจากขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลโดยตรง เนื่องจากความพร้อมทางโครงสร้างของเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ผู้บริโภคจึงสามารถเข้าถึงอี-คอมเมิร์ซได้สะดวก ราบรื่น และรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ค้าออนไลน์ก็สามารถแสดงภาพสินค้าในลักษณะ 3 มิติ หรือ ภาพเคลื่อนไหว โดยไม่สะดุด และเสมือนจริงมากยิ่งขึ้นทำให้กระบวนการทางธุรกิจของตลาดในสถานที่จริงถูกแทนที่ด้วยตลาดบนอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ในอนาคตคาดว่าธุรกิจค้าปลีกออนไลน์จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง'ความรวดเร็ว'และ'ความสะดวก'จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการช่วงชิงลูกค้า รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆจะสร้างความแตกต่างเพื่อตอบสนองลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา อันจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทยทั้งระบบในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!